วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดกาญจนบุรี

         
เมื่อกล่าวถึงจังหวัดกาญจนบุรี ใครๆ ย่อมรู้จักว่าเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทย ลุ่มน้ำไทรโยค (แควน้อย) และลุ่มน้ำศรีสวัสดิ์ (แควใหญ่) เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำใสสะอาด สัตว์ป่าที่จะใช้เป็นอาหาร ในน้ำเต็มไปด้วย หอย ปู ปลา มีที่ราบบริเวณเชิงเขา ถ้ำ ตามริมแม่น้ำมีพื้นที่ทำการเพาะปลูกเหลือเฟือ ได้มีการขุดค้นพบเครื่องมือมนุษย์สมัยหินเก่าเครื่องมือหิน โครงกระดูกมนุษย์สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่าจนถึงยุคโลหะตอนปลายที่บ้านดอนตาเพชร    การพบตะเกียงโรมัน    (อเล็กซานเดรีย)     ที่ตำบลพงตึการพบปราสาทเมืองสิงห์   เป็นต้น   สิ่งต่างๆ    เหล่านี้  เป็นหลักฐานที่แสดงว่าจังหวัดกาญจนบุรีเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมของมนุษย์ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ครั้งกรุงศรี-อยุธยาเป็นราชธานี กาญจนบุรีมีฐานะเป็นเมืองด่านที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของไทยอย่างมาก เหตุการณ์ที่ปรากฏ เช่น การเดินทัพผ่านด่านเจดีย์สามองค์ การรบที่ทุ่งลาดหญ้า ท่าดินแดง และสามสบ จวบจนการย้ายเมืองกาญจนบุรีมาตั้งที่ปากแพรกหรือลิ้นช้าง เหตุการณ์ครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ญี่ปุ่นได้ใช้เส้นทางยุทธศาสตร์สายนี้เกณฑ์เชลยศึกทำทางรถไฟไปพม่าซึ่งเรียกกันว่าทางรถไฟสายมรณะ ทำให้เชลยศึกต้องล้มตายเป็นจำนวนมากและฝังอยู่ที่สุสานทหารสหประชาชาติมาจนถึงสงครามอินโดจีน กาญจนบุรีเป็นดินแดนที่เป็นที่ฝึกซ้อมรบเพื่อเตรียมการรบในเวียดนาม ลาวและกัมพูชา ตลอดจนเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยที่น่าสนใจ   และปัญหาการสร้างเขื่อนตอนบนของแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ที่กำลังเป็นที่สนใจอยู่ไม่น้อย


สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ในขณะที่ความเชื่อว่าคนไทยเดิมอยู่ไหน กำลังเปลี่ยนแปลง จังหวัดกาญจนบุรีก็ได้รับการสนใจอย่างมาก เพราะจังหวัดกาญจนบุรีเป็นดินแดนที่พบร่องรอยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์มากที่สุดตั้งแต่ยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ และยุคโลหะ ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้   ภาชนะดินเผา
โครงกระดูก เครื่องประดับ ตลอดจนซากพืชซากสัตว์ที่ละทิ้งไว้ตามพื้นดิน ในถ้ำเพิงผา  แสดงว่าได้มีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นเวลานานไม่แพ้แหล่งก่อนประวัติศาสตร์แหล่งอื่นๆ ของโลก

ยุคหินเก่า (Paleolithic Period)
          ร่องรอยของมนุษย์ในสมัยหินเก่า จากการสำรวจในประเทศไทยพบเครื่องมือหินกรวดโดยศาตราจารย์ฟริตซ์ สารแซง (Fritz Saracen)  ได้เข้ามาสำรวจในปี  พ.๒๔๗๕      ที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดราชบุรี  และจังหวัดลพบุรี จากการศึกษาพบเครื่องมือที่แท้เพียง ๒ - ๓ ก้อนเท่านั้น เรียกเครื่องมือหินเก่าที่พบในประเทศไทยว่า “Siaminian Culture” แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
          หลักฐานของยุคหินเก่าได้ปรากฏชัดเจนเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น ญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกมาสร้างทางรถไฟจากหนองปลาดุกผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ถึงเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ในจำนวนเชลยศึกนี้มี ดร.แวน ฮีเกอเรน (Dr.Van Heekeren) ชาวฮอลันดาเขาได้พบเครื่องมือหินบริเวณใกล้สถานีบ้านเก่าหลายชิ้น หลังสงครามโลกได้นำไปให้ศาสตราจารย์โมเวียสแห่งสถาบันพีบอดี้มิว -เซียม (Peabody Museum) มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ปรากฏว่าเป็นเครื่องมือสมัยหินเก่าตอนต้น ๓ ก้อน เครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว  ๖  ก้อน  และขวานหินขัดสมัยหินใหม่  ๒  ก้อน   ให้ชื่อว่า  วัฒนธรรม
แฟงน้อย หรือเฟงน้อยเอียน” (Fingnoian Culture) บางท่านเรียกว่า วัฒนธรรมบ้านเก่า” (Ban-Khaoian Culture) ในปี พ.. ๒๔๙๙ ศาสตราจารย์โมเวียส ได้ส่งลูกศิษย์มาทำการสำรวจโดยร่วมมือกับกรมศิลปากรทำการสำรวจบริเวณหมู่บ้านเก่า จนถึงวังโพ ได้พบเครื่องมือหินกรวด ๑๐๔ ก้อน
          ต่อมาในปี พ.. ๒๕๐๓ คณะสำรวจไทยเดนมาร์ก ได้ทำการสำรวจพบเครื่องมือหินเก่าที่บริเวณทุ่งผักหวาน จันเด ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ และที่บ้านท่ามะนาว ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จากเครื่องมือนี้พอสรุปได้ว่า คนสมัยหินเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรี น่าจะเป็นพวกมนุษย์วานรหรือพวกออสตราลอยด์ แต่ก็มีปัญหาว่าพวกนี้อพยพมาจากที่ใด
          เครื่องมือหินที่พบในจังหวัดกาญจนบุรีนี้ เป็นหินกะเทาะหน้าเดียวประเภทเครื่องขุดและสับตัด (Chopper-chopping tools) ยังไม่ปรากฏว่าได้พบโครงกระดูกของมนุษย์สมัยนี้เลย ผู้ที่สนใจและทำการสำรวจเรื่องราวของยุคหินเก่าในปัจจุบัน ก็มีคณะของศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร พิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในปี พ.. ๒๕๒๔ ท่านได้พบเครื่องมือหินกรวดสมัย  หินเก่าตามริมแม่น้ำตามถ้ำของแม่น้ำแควน้อยใกล้ไทรโยคเป็นจำนวนมาก
          จากร่องรอยของมนุษย์สมัยหินเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรีนี้ ยังไม่มีการสำรวจอย่างจริงจัง ซึ่งต้องพบหลักฐานมากกว่านี้   แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ต้นแม่น้ำทั้งสองของจังหวัดกาญจนบุรี   คือ   แม่น้ำ
แควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ ได้ถูกน้ำท่วมเพราะการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนเขาแหลมในปัจจุบัน

ยุคหินกลาง (Mesolithic Period)
          จากหลักฐานที่พบว่า เครื่องมือที่พบหลายแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นแบบวัฒนธรรม โฮบิเนียน  (Haobinhian Culture) จากการสำรวจของคณะไทย-เดนมาร์กเมื่อปี  .. ๒๕๐๔ ที่ถ้ำเพิงผาหน้าถ้ำพระขอม ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค พบเครื่องมือหินกรวดจำนวนมาก และได้พบโครงกระดูกของผู้ใหญ่ โครง ในระดับลึกจากเพิงผา ๑๑๐๑๓๐ เซนติเมตร   โดยกระดูกนั้นอยู่ในลักษณะ
นอนหงายชันเข่าอยู่บนก้อนหินใหญ่แห่งหนึ่งในแนวเกือบขนานกับผนังเพิงผา นอนหันหน้าไปด้านขวามือ ศีรษะหันไปทางทิศเหนือฝ่ามือขวาอยู่ใต้คาง  แขนท่อนซ้ายวางพาดอก    ที่บริเวณส่วนบนของร่าง
และบริเวณทรวงอกมีหินควอทซ์ไซท์ก้อนใหญ่วางทับอยู่ตอนเหนือศีรษะและร่างมีดินสีแดงโรยอยู่ แสดงว่ามีพิธีกรรมเกี่ยวกับการฝังศพ พบกระดูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวางอยู่บนทรวงอก เปลือกหอยกาบวางอยู่บนร่างหรือใกล้กับร่าง ที่บนแขนขวามีเปลือกหอยทะเลอยู่ ๒ ชิ้น เป็นเรื่องน่าแปลกว่าเปลือกหอยทะเลคู่นี้มาได้อย่างไร  จัดว่าโครงกระดูกคนสมัยหินกลาง  โครงนี้เป็นโครงกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันโครงกระดูกนี้ถูกส่งกลับมาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติโคเปนเฮเกน มาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช
          นอกจากนี้ ยังพบเครื่องมือหินกะเทาะที่ประณีตขึ้น เป็นเครื่องมือหินอย่างหยาบ ชั้นบนทำเล็กลงและฝีมือดีขึ้น แต่ความก้าวหน้าในการทำเครื่องมือยังช้ามาก เครื่องมือหินนี้จัดอยู่ในวัฒน-ธรรมโฮบิเนียน เพราะพบครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสมัยนี้อาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผาใกล้ห้วยลำธาร ไม่ไกลจากแม่น้ำที่มีหินกรวด คนพวกนี้ล่าสัตว์ เก็บผลไม้หาปลา จากการพบกระดูกสัตว์ที่ปนอยู่กับเครื่องมือหินพบว่าคนสมัยนั้นกินหมู กวาง หมี ลิง หอย ปลา ปู เต่าเป็นอาหารและรู้จักการก่อไฟหุงอาหาร

          หลักฐานที่พบเกี่ยวกับมนุษย์สมัยหินกลางที่จังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้

          . บริเวณบ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมืองกาญจนบุรี
          . ที่ถ้ำใกล้สถานีวังโพ อำเภอไทรโยค
          . ที่ถ้ำจันเด ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ
          . ที่บริเวณบ้านท่ามะนาว อำเภอเมืองกาญจนบุรี
          . ถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์
          . บริเวณถ้ำเม่น ถ้ำเขาทะลุ ถ้ำเพชรคูหา ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมืองกาญจนบุรี
          . ที่ถ้ำพระขอม อำเภอไทรโยค
          จากหลักฐานที่พบโครงกระดูกและเครื่องมือหิน ซากพืชและสัตว์ จึงยืนยันได้ว่าจังหวัดกาญจนบุรี เป็นดินแดนที่มนุษย์ได้เคยอาศัยอยู่มาแล้วเป็นเวลานานกว่า ,๐๐๐ ปีขึ้นไป

ยุคหินใหม่ (Neolithic Period)
          นักโบราณคดีเชื่อว่ามนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มานานตั้งแต่ ๒,๐๐๐,๙๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญกว่าคนยุคหินเก่า หินกลาง คนพวกนี้รู้จักใช้เครื่องมือหินขัด
จนเรียบ แทนที่จะกะเทาะอย่างเดียว รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักรสาน เครื่องมือทำด้วยเปลือกหอยและหิน

          หลักฐานที่คนเหล่านี้ทิ้งไว้มี

          . โครงกระดูก
          . เครื่องมือหิน
          . เครื่องปั้นดินเผา
          . เครื่องจักสาน
          ในจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการขุดค้นพบโครงกระดูกสมัยหินใหม่มากมายหลายแห่งเกือบทั่วไปตามริมแม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ เช่น บริเวณที่ทำการผสมเทียมกรมการสัตว์ทหารบก อำเภอเมืองกาญจนบุรี บริเวณโกดังขององค์การเหมืองแร่ใกล้วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ถ้ำพระขอม ตำบลไทรโยค และแหล่งที่พบมากที่สุด คือบริเวณบ้านเก่าที่เรียกว่า แหล่งนายบางและ    นายลือ ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมืองกาญจนบุรี ซึ่งสำรวจพบโดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก           ปีพ.. ๒๕๐๔ ที่เนินดินในไร่ของนางแฉ่ง ประสมทรัพย์ ที่บ้านเก่านี้ ได้พบโครงกระดูกเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคหินใหม่อายุประมาณ  ๔,๐๐๐  ปี  เป็นครั้งแรกและมากที่สุดในประเทศไทย จากการรวบรวมวัตถุต่างๆ ได้ถึง ๑ ล้านชิ้น เช่น เครื่องปั้นดินเผา ขวานหิน เศษเครื่องมือหินขัด หินลับและหินใช้ขัดโครงกระดูกสัตว์และฟันสัตว์ เปลือกหอย โครงกระดูกจำนวน ๔๔ โครง โดยเฉพาะเครื่องปั้น    ดินเผามีสามขา (Trireds) ตรงกับวัฒนธรรมลุงชาน (Lungshanoid Culture) ของจีน และแบบต่างๆ ของเครื่องปั้นดินเผามี ๒๖ ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ๒ แบบ คือ ชนิดมีฐานและไม่มีฐาน
          ต่อมาคณะของศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้ทำการขุดค้นบริเวณถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์   และที่ถ้ำเขาสามเหลี่ยม   ตำบลช่องสะเดา    อำเภอเมืองกาญจนบุรี  พบโครงกระดูก
เครื่องมือหินภาชนะดินเผาอีกเป็นจำนวนมาก
ในเดือนพฤษภาคม พ.. ๒๕๒๕ นี้ ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ทำการขุดค้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ บ้านท่ามะนาว อำเภอเมืองกาญจบุรี พบโครงกระดูกและเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก ยังพบขวานหินขัดทำจากหินประเภทควอทซ์ตระกูลหยก มีลักษณะสีขาวใส ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนเลยในประเทศไทย (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๕) นอกจากนั้นพบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ดังนี้
. ถ้ำตาด้วง อำเภอศรีสวัสดิ์ บริเวณใกล้เขื่อนท่าทุ่งนา อยู่บนภูเขาสูงชันจากพื้นดินราว ๓๐๐ เมตร ที่ผนังถ้ำเป็นภาพขบวนแห่ ๒ ขบวน แต่ละขบวนมีกลองหรือฆ้องขนาดใหญ่มีคนแบกที่ศีรษะคล้ายกับมีขนนกหรือดอกหญ้าเป็นเครื่องประดับ ขนาดสูงราว ๑๐ เซนติเมตร นอกจากนั้น ยังมีภาพอื่นๆ อีก แต่ลบเลือนจนดูไม่ออก ถ้ำนี้พบเมื่อปี  พ.. ๒๕๑๓ โดยครูด่วน ถ้ำทอง
          . ถ้ำเขาเขียว ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค เขียนเป็นรูปคน เขียนเป็นเส้นพอให้รู้ว่าแทนคน รูปสัตว์สี่เท้า ยืนให้เห็นด้านข้าง และเป็นรูปสัตว์เห็นทางด้านหน้า

          จากการกำหนดอายุของภาพทั้งสองอยู่ในยุคหินใหม่ตอนปลาย

          การพบเรื่องราวของมนุษย์ยุคหินใหม่ต่างๆ มากมาย แสดงว่าจังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานาน เพราะลำน้ำแควน้อยและแควใหญ่ มีธารน้ำที่ใสสะอาด มีพื้นที่ราบอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกพืช ล่าสัตว์ ปราศจากโรคระบาด จึงเหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัยมานานไม่ต่ำกว่า ๓,๗๐๐ ปี มาแล้ว

ยุคโลหะ (Metal Age)
          จากการสำรวจของคณะไทย-เดนมาร์กที่ถ้ำองบะ       และที่อำเภอไทรโยคพบขวานสำริด
เศษกำไลสำริด เศษกลองมโหระทึกสำริด ๔ ชิ้น ระฆังสำริดขนาดเล็ก ๑ ลูก ในปีพ.. ๒๕๐๕ การขุดค้นที่บ้านเก่าก็พบเครื่องมือ เครื่องใช้สำริด เหล็กปนอยู่กับหลุมฝังศพ
          ปีพ.. ๒๕๑๘ นักเรียนโรงเรียนสาลวนาราม บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน ได้ขุดพบโบราณวัตถุ แจ้งให้กองโบราณคดี กรมศิลปากรทราบและได้ดำเนินการขุดค้น พบวัตถุต่างๆ สามารถแยกออกได้ ดังนี้
- ทำด้วยสำริด  มีภาชนะสำริดคล้ายขันและคล้ายกระบอก  กำไลสำริดสำหรับใส่ข้อมือ  ข้อเท้า ทัพพีสำริด รูปหงส์ รูปนกยูง แหวนสำริด และลูกกระพรวน  
- ทำด้วยหิน มีขวานหินขัด (ขวานฟ้า) หินเจาะรู หินลับมีด ลูกปัดโบราณสีต่างๆ คล้ายกับที่พบที่ประเทศอินเดีย
- ทำด้วยแก้ว มีลูกปัดสีต่างๆ ตุ้มหู
- ทำด้วยดินเผา มีแหวนดินเผา ตุ้มหูเผา
- ทำด้วยเหล็ก มีขวาน ใบหอก มีดขอ สิ่ว ห่วงเหล็ก เบ็ด เคียว ฯลฯ
- พืช พบเมล็ดพืชติดกับเครื่องปั้นดินเผา
จากการพบนี้ แสดงว่าคนที่บ้านดอนตาเพชร รู้จักการใช้วัว ควายไถนา จากแผ่นสำริดสลักเป็นรูปควาย   มีเครื่องปั้นดินเผาลายเชือก   และไม่มีลาย   มีช่างทอผ้าและช่างไม้    รู้จักหาปลาโดยใช้ฉมวก ใช้เบ็ด รู้จักล่าสัตว์ด้วยหอก รู้จักใช้เครื่องประดับร่างกาย เช่น ลูกปัด ตุ้มหู จากภาชนะสำริดมีรูปผู้หญิงครึ่งตัวสวมเสื้อไว้ผมยาวแสกกลาง มีตุ้มหูคล้ายหญิงพม่า นอกจากนั้นยังมีรูปหงส์ รูปนกยูง ทำด้วยสำริด การพบที่บ้านดอนตาเพชร แสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าทางเทคนิควิทยาการที่อยู่ในระดับของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นชุมชนที่มีความเจริญและเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อที่เข้าสู่ระยะแรกเริ่มของยุคประวัติศาสตร์
กาญจนบุรีดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ คงจะทำให้ท่านรู้จักจังหวัดกาญจนบุรีมากขึ้นในทัศนะหนึ่งและคงสะท้อนให้เห็นเหมือนกันว่า แหล่งก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและของโลกกำลังถูกทำลาย และยังท้าทายนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์หรือผู้สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้ข้อเท็จจริงกันมากขึ้น สิ่งที่ยังมืดมนยังคงจมอยู่ใต้พื้นดิน ตามริมฝั่งของแม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่มานานหลายศตวรรษและยังอยู่อีกนานเท่านานจนกว่าจะได้รับการขุดค้นมาศึกษาตีความ ซึ่งคงจะอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษยชาติในปัจจุบันไม่มากก็น้อย

สมัยประวัติศาสตร์
สมัยทวาราวดีและลพบุรี
จากหลักฐานโบราณสถาน โบราณวัตถุ ในดินแดนประเทศไทย ทำให้เราได้ทราบว่า อารยธรรมอินเดีย ได้หลั่งไหลแผ่เข้ามายังดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ ชาวอินเดียเรียกประเทศไทยว่า "ดินแดนสุวรรณภูมิ" และได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในแหลมอินโดจีนพร้อมทั้งได้นำวัฒนธรรมและศาสนา คือ ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา เข้ามาเผยแพร่ด้วย
ระหว่างพุทธศตวรรษที่  ๗  ถึง  ๑๑  ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของจีนว่ามีอาณาจักร
"ฟูนัน" ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ และได้แผ่อาณาเขตไปทางทิศตะวันตกถึงแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เมื่ออาณาจักร "ฟูนัน" สลายตัวในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ แล้ว ในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้เกิดอาณาจักรที่สำคัญทางพุทธศาสนาขึ้น ชื่อว่า อาณาจักรทวาราวดี การจัดสมัยและกำหนดอายุของศิลปกรรมในประเทศไทย นักปราชญ์ทางโบราณคดีได้กำหนดไว้ ดังนี้
- ศิลปทวาราวดี                           พุทธศตวรรษ ๑๑-๑๖
- เทวรูปรุ่นเก่า                            พุทธศตวรรษ ๑๒-๑๔
- ศิลปศรีวิชัย                                       พุทธศตวรรษ ๑๓-๑๘
- ศิลปลพบุรี                                       พุทธศตวรรษ ๑๖-๑๙
- ศิลปเชียงแสน                           พุทธศตวรรษ ๑๖-๒๓
- ศิลปสุโขทัย                                       พุทธศตวรรษ ๑๘-๒๐
- ศิลปอู่ทอง                                         พุทธศตวรรษ ๑๘-๒๐
- ศิลปอยุธยา                                              พุทธศตวรรษ๑๙ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓
- ศิลปรัตนโกสินทร์                 พุทธศตวรรษ ๒๓-๒๕
เมื่อประมาณ ๖๐-๗๐  ปีมานี้เอง  นักปราชญ์ทางโบราณคดีมีสมเด็จฯ    กรมพระยาดำรง
ราชานุภาพและศาสตราจารย์ ยอร์จ เชเดส์ เป็นต้น ได้นำเอาชื่อ "ทวาราวดี" มาใช้กำหนดสมัยของศิลปะโบราณวัตถุ    และโบราณสถานที่พบในประเทศไทยในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา    (อันรวมถึงแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ฯลฯ ด้วย) เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียสมัยอมราวดี สมัยคุปตะ และหลังคุปตะ และได้กำหนดอายุของศิลปะทวาราวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ และศิลปะทวาราวดี ที่แยกไปอยู่ภาคเหนือที่แคว้นหริภุญชัยถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘
คำว่า   "ทวาราวดีเดิมเป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากชื่ออาณาจักรที่จดหมายเหตุจีนเรียกว่า "โถโลโปติ" (To-lo-po-ti) ว่า ตรงกับคำสันสกฤตว่า "ทวาราวดี" และคำนี้ได้ติดอยู่เป็นสร้อยชื่อของนครหลวงของประเทศไทย มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเมื่อ พ.. ๒๕๑๒ ได้มีผู้พบเหรียญเงินมีอักษรจารึกที่นครปฐมคำจารึกเป็นอักษรสันสกฤต รุ่นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีข้อความว่า "ศรีทวาราวดี ศวร- ปุณยะ" แปลว่า "บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวาราวดี" อันแสดงว่าอาณาจักรทวาราวดีนั้นมีจริงในประเทศไทย
ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของจังหวัดกาญจนบุรี
เมืองกาญจนบุรีนั้น เป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งโบราณเมืองหนึ่ง ส่วนจะสร้างขึ้นเมื่อไรสมัยใด ยังไม่พบหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัด หลักฐานด้านประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรีเห็นจะเป็นพงศาวดารเหนือ ซึ่งกล่าวไว้ในเรื่องพระยากงว่า พระยากงได้เป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรี โดยมิได้ระบุว่าปีใด แต่ได้ระบุปีที่พระยาพานไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองลำพูนว่า ตรงกับ จ.. ๕๕๒ หรือ พ.. ๑๗๓๔ ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่พระยาพานได้ฆ่าพระยากงผู้เป็นบิดาแล้ว จึงอาจสรุปว่า พระยากงครองเมืองกาญจนบุรีราว พ.. ๑๗๐๐ แต่เรื่องราวที่ปรากฏในพงศาวดาร
เหนือ เป็นเพียงตำนานการสร้างพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐมเท่านั้นยังไม่มีหลักฐานอื่นใดมายืนยันข้อเท็จจริงนี้ได้แน่ชัด
อย่างไรก็ตาม เมืองกาญจนบุรียังคงเหลือหลักฐานทางโบราณคดีที่ยืนยันสภาพความเป็นเมืองโบราณตามลุ่มแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแม่กลอง ดังต่อไปนี้
    ลุ่มน้ำแม่กลองนั้น นับเนื่องในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตก ถึงแม้จะไม่เคยเป็นที่ตั้งเมืองหลวงก็ตาม แต่ปรากฏว่ามีชุมชนโบราณอยู่สืบเนื่องกันมาช้านาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์กว่าบรรดาลุ่มน้ำอื่นๆ จึงเป็นอาณาบริเวณที่น่าสนใจสมควรนำเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนโบราณที่พัฒนาขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มาเสนอสู่การพิจารณาต่อไป

แม่น้ำแม่กลองมีกำเนิดมาจากการรวมตัวของลำน้ำสำคัญสองสาย คือ ลำน้ำแควใหญ่ กับลำน้ำแควน้อยทั้งสองสายมีต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรีลำน้ำแควใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาทางเหนือระหว่างเขตจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดกาญจนบุรีไหลมาตามซอกเขาผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ลงมาบรรจบกับลำน้ำแควน้อยที่ตำบลปากแพรกอำเภอเมืองกาญจนบุรี
ส่วนลำน้ำแควน้อยไหลมาจากซอกเขาซึ่งอยู่ชายแดนประเทศสหภาพพม่าไหลผ่านเขตอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยคและอำเภอเมืองกาญจนบุรีมาบรรจบกับลำน้ำแควใหญ่ที่ที่ตั้งจังหวัดกาญจนบุรีเป็นแม่น้ำแม่กลอง
จากเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรีแม่น้ำแม่กลองไหลลงสู่ที่ราบลุ่มผ่านอำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอบางคณที อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ไหลสู่ออกทะเลที่ "บ้านบางเรือหัก" จังหวัดสมุทรสงคราม
ตามสองฝั่งลำน้ำแควน้อย แควใหญ่ ของจังหวัดกาญจนบุรี ได้พบหลักฐาน ทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อยู่ตามถ้ำ ชายเขา และบริเวณใกล้ริมธารน้ำ ลำน้ำ โดยเฉพาะเขตตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนของมนุษย์ในสมัยหินใหม่มาต่อกับยุคโลหะได้มีการขุดค้นศึกษากันอย่างละเอียด โบราณวัตถุในสมัยหินเก่าและหินกลาง ก็ได้พบในเขตต้นน้ำเหล่านี้ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีมนุษย์อยู่อาศัยมาแล้ว ไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นปีขึ้นไป แสดงให้เห็นการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พากันอพยพลงมาตามลำน้ำเข้าสู่ที่ราบลุ่ม
ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองที่เป็นแหล่งกำเนิดของชุมชนระดับเมืองนั้น ปรากฏว่า เราพบร่องรอยของเมืองโบราณเป็นจำนวน     แห่งด้วยกัน   ล้วนตั้งอยู่ริมสองฝั่งของลำน้ำแควน้อย

แควใหญ่และลำน้ำแม่กลองทั้งสิ้น

. เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำแควน้อย ได้พบ เมืองสิงห์ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของลำน้ำแควน้อยในเขตบ้านท่ากิเลน ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค ลักษณะผังเมืองเป็นรูบสี่เหลี่ยม มีคูและกำแพงล้อมรอบ บางด้านมีคันคูสามชั้นบ้าง ห้าชั้นบ้างและถึงเจ็ดชั้นก็มี มีเนื้อที่ภายในเมืองประมาณ ๖๔๑ ไร่กว่า ภาย
ในเมืองมีสระน้ำหลายแห่ง และมีเนินดินที่มีเศษเครื่องปั้นดินเผาทั้งที่เคลือบด้วยสีน้ำตาลแก่ แบบเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี และที่ไม่เคลือบก็มีมากมาย
ในตอนกลางเมืองมีศาสนสถานตั้งอยู่เป็นปราสาทแบบขอม ก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  กรมศิลปากรกำลังดำเนินการขุดแต่งอยู่  ลักษณะศิลปกรรมเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพล
ศิลปะแบบบายน ในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งกัมพูชา แต่ทว่าเป็นฝีมือชาวพื้นเมืองไม่ใช่ชาวขอมมาสร้างอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะมีลักษณะหยาบกว่าฝีมือช่างขอม การประดับศาสนสถานก็ทำด้วยลวดลายปูนปั้นซึ่งเป็นศิลปะลพบุรี และมีศิลปะแบบทวาราวดีอยู่บ้าง แสดงลักษณะที่แตกต่างไปจากขอมโดยสิ้นเชิงบรรดากระเบื้องมุงหลังคา เครื่องปั้นดินเผา ทั้งเคลือบและไม่เคลือบ เป็นแบบลพบุรีเลียนแบบขอม เนื้อวัตถุที่ใช้ทำและเคลือบเป็นของท้องถิ่น
ปราสาทเมืองสิงห์นี้เป็นโบราณสถานเนื่องในคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เพราะพบรูปพระโพธิสัตว์ นางปรัชญาปารมิตา และพระพุทธรูปปางนาคปรก เทวรูปปั้นส่วนใหญ่เป็นศิลปะขอมที่นำมาจากกัมพูชาหรือเมืองอื่น เป็นแบบศิลปะสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ การพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปางเปล่งรัศมี ส่วนพระพุทธรูปนั้นส่วนมากเป็นศิลปะลพบุรี เป็นฝีมือช่างพื้นเมืองพระพุทธรูปนาคปรกสร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นฝีมือช่างพื้นเมืองอย่างแท้จริง
ส่วนลักษณะโบราณสถานของประสาทเมืองสิงห์พอจะอนุมานได้ว่ามีอายุอย่างคร่าวๆ ว่าคงจะสร้างขึ้นในระหว่าง พ.. ๑๗๐๐-๑๗๕๐
เมื่อถึงรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงตั้งเมืองสิงห์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ให้เป็นเมืองหน้าด่านเล็กๆ ขึ้นอยู่กับเมืองกาญจนบุรี มีเจ้าเมือง ส่งหมวดลาดตระเวนไปประจำคอยตรวจตราอยู่เสมอต่อมาถึงรัชกาลที่  ๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงพระราชทานนามเจ้าเมืองสิงห์ว่า" พระสมิงสิงห์บุรินทร์"
เมืองสิงห์คงเป็นเมืองเรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่     ๕     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ จึงได้ยุบเมืองสิงห์ลงเป็นตำบลเรียกกันว่า "ตำบลสิงห์"
ศาสตราจารย์  หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ  ดิศสกุล   ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือศิลปลพบุรี  กรม

ศิลปากรจัดพิมพ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร  เมื่อวันที่

๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๐ หน้า ๑๒-๑๓ ว่าราว พ.. ๑๗๐๐-๑๗๕๐
สมัยนี้ตรงกับรัชกาลของพระจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งประเทศกัมพูชา และมีสถาปัตยกรรมสมัยลพบุรี  พระปรางค์เมืองสิงห์  อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี     มีพระปรางค์องค์เดียวก่อด้วย
ศิลาแลงตั้งอยู่ตรงกลาง มีมุขยื่นออกไปทางด้านตะวันออกและมีระเบียงคดก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบมีประตูซุ้มอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ทั้งหมดนี้มีกำแพงดินซึ่งมีเศษอิฐปูนอยู่ล้อมรอบนอกอีกชั้นหนึ่ง ได้ค้นพบซากประติมากรรมในศิลปะแบบบายนวางทิ้งอยู่หน้าปราสาทด้วย นอกจากนี้ยังทรงถือกำหนดอายุโดยส่วนรวมของตัวอาคารทั้งหมดไว้ในศิลปะขอมแบบบายนอีกด้วย
รวมความว่าสมัยลพบุรี (.. ๒๕๐๐-๑๗๙๙) กาญจนบุรีเป็นเมืองมาแล้ว เพราะปรากฏหลักฐานจากปรางค์และกำแพงศิลาแลงของเมืองสิงห์ดังได้กล่าวมาแล้ว
. ถัดจากเมืองสิงห์ออกไปทางทิศตะวันออกห่างจากลำน้ำแควน้อยประมาณ ๕ กิโลเมตร มีเมืองโบราณขนาดเล็กอยู่เมืองหนึ่ง      มีคูน้ำและคัดดินล้อมรอบ    ตั้งอยู่เชิงเขา     ชาวบ้านเรียกว่า
"เมืองครุฑ" ยังไมีมีการขุดค้น จากปากคำชาวบ้านบอกว่า แต่ก่อนมีครุฑศิลาทรายอยู่ที่เชิงเขาในเขตเมืองนี้ จึงเรียกว่า "เมืองครุฑ" อันลักษณะการทำครุฑด้วยหินทรายนั้น พบมากในสมัยศิลปลพบุรี เมืองสิงห์ และเมืองครุฑ ตั้งอยู่ห่างไกลกันนัก จึงน่าจะเป็นเมืองในยุคเดียวกัน เมืองครุฑนี้คงเป็นเมืองหน้าด่านและอยู่ในเขตปกครองของเมืองสิงห์
. ทางลำน้ำศรีสวัสดิ์หรือแควใหญ่ ซึ่งอยู่ทางเหนือมีชุมชนโบราณ แต่มีอายุเพียงแค่ปลายสมัยลพบุรีลงมาถึงสมัยอยุธยา อยู่ในเขตบ้านท่าเสา ตำบลลาดหญ้า บ้านท่าเสาตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของลำน้ำแควใหญ่ มีซากวัดโบราณ เช่น วัดขุนแผน วัดนางพิมพ์ วัดป่าเลไลยก์ ฯลฯ ที่เจดีย์เก่าในเขตวัดนี้เคยมีผู้ขุดพบพระเครื่องแบบลพบุรีตอนปลาย

ส่วนที่บ้านลาดหญ้าซึ่งอยู่ต่ำลงมาประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ก็เคยเป็นที่ตั้งของเมืองกาญจนบุรี(เก่า) ในสมัยอยุธยา เมืองนี้มีขนาดเล็ก คงเป็นเพียงเมืองด่าน
สรุปแล้วเมืองนี้ก็คือเมืองกาญจนบุรี (เก่า) เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญทางตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาตลอดมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี มีผู้สำรวจบริเวณเมืองกาญจนบุรี (เก่า) ที่ตั้งอยู่เชิงเขาชนไก่นี้มาแล้ว ว่าบริเวณอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏพบสระน้ำ ซากโบราณสถาน วัดต่างๆ มีวัดร้างถึง ๖ วัด คือ
. วัดขุนแผน
. วัดป่าเลไลยก์
. วัดนางพิม
. วัดจีน
. วัดริมตะเพิน ชื่อว่า วัดมอญ อยู่ห่างออกไป
. วัดแม่หม้าย
เจ้าเมืองกาญจนบุรี มีชื่อว่า "พระยากาญจนบุรี" เป็นแม่ทัพสำคัญคนหนึ่งครั้งกรุงศรี-อยุธยาเป็นราชธานี
. ต่อจากอำเภอเมืองกาญจนบุรีลงไปตามลำแม่น้ำแม่กลอง ในเขตอำเภอท่ามะกามีเมืองชุมชนใหญ่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง     อยู่ในเขตบ้านดงสัก   ตำบลพงตึก  อำเภอ
ท่ามะกาชาวบ้านเรียกชื่อมาแต่ครั้งโบราณว่า "เมืองพงตึก" เพราะพบฐานอาคารที่ก่อสร้างด้วยอิฐและศิลาแลงแสดงให้เห็นว่าเป็นศูนย์กลางของชุมชนใหญ่มาก่อน นักโบราณคดีขุดพบตะเกียงโรมันสำริดสมัยพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ พบพระพุทธรูปแบบอมราวดีสมัยพุทธศตวรรษที่ ๗ และพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีอีกหลายองค์ สมัยไม่เกินพุทธศตวรรษที่ ๑๑ รวมทั้งโบราณวัตถุอย่างอื่นๆ อีกมาก เมื่อพิจารณาประกอบกับซากสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลือปรากฏอยู่ ซึ่งมีฝีมือช่างขอมปะปนอยู่ด้วย ก็อาจประมาณอายุอย่างกว้างๆ ได้ว่า ชุมชนแห่งนี้มีอายุตั้งแต่สมัย "ทวาราวดี" ขึ้นไป
เรื่องชุมชนโบราณที่บ้านพงตึกนี้ ตามความเห็นของนักปราชญ์ทางโบราณคดีและประวัติ-ศาสตร์โดยทั่วไป เชื่อว่าเป็นสถานที่แหล่งพักสินค้าของชาวอินเดียที่เข้ามาค้าขายในดินแดนประเทศไทยในสมัยแรก เพราะการพบพระพุทธรูปแบบ "อมราวดี" นั้น ย่อมเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นชัดเจนนอกจากพระพุทธรูปแบบอมราวดีแล้ว ยังได้พบตะเกียงสำริดโรมัน ซึ่งมีอายุราวศตวรรษที่ ๖-๗ เป็นเครื่องสนับสนุน โดยเหตุนี้บางท่าน เช่น ดร.ควอริช เวลส์ ได้เสนอว่าตะเกียงดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นของคณะทูตโรมันนำเข้ามา
นักโบราณคดีและประวัติศาสตร์จึงมีความเห็นว่าบ้านพงตึกคงเป็นชุมชนแห่งหนึ่งที่สำคัญบนฝั่งลำน้ำแม่กลองและเจริญรุ่งเรืองในสมัย "ทวาราวดี" แต่เมื่อขอมมาปกครอง เมืองพงตึกคงจะทรุดโทรมลงกลายเป็นเมืองขนาดเล็ก พวกขอมจึงสร้างเทวสถานไว้แต่เพียงขนาดย่อม
. ใต้เมืองพงตึกลงไปตามลำน้ำแม่กลองตามฝั่งตะวันออกที่ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งชื่อ โกสินารายณ์ เป็นเมืองสมัยลพบุรี
. ใต้เมืองโกสินารายณ์ลงมาตามลำน้ำแม่กลองถึงตัวเมืองราชบุรี  บนฝั่งตะวันตกของ
แม่น้ำแม่กลองเคยเป็นที่ตั้งของเมืองราชบุรีโบราณ มีอายุตั้งแต่สมัยลพบุรีสืบต่อลงมา นอกเมืองออกไปก็ยังพบโบราณวัตถุตั้งแต่สมัยทวาราวดีลงมาอีกหลายแห่ง
. ห่างจากเมืองราชบุรีลงไปทางใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร พบเมืองโบราณขนาดใหญ่เรียกกันว่า เมืองคูบัว สันนิษฐานว่า เป็นเมืองราชบุรีเดิมในสมัยทวาราวดี
สรุปได้ใจความว่า ตั้งแต่โบราณกาลมา สองฝั่งลำน้ำแควน้อย แควใหญ่ และสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนโบราณที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ชุมชนชนสมัยทวาราวดีที่บ้าน "พงตึก" ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี นับว่าเป็นเมืองสำคัญมาก เดิมตั้งอยู่ไม่ห่างไกลทะเลมากนัก และเป็นเมืองตั้งอยู่ย่านกลางเส้นทางคมนาคม เป็นที่ชุมชนโบราณแห่งหนึ่งของประเทศไทย ติดตั้งระหว่างดินแดนเมืองต่างๆ ในลุ่มน้ำท่าจีน เจ้าพระยากับเมืองมอญในประเทศพม่า เป็นทางสัญจรของคนมาช้านานหลายยุคหลายสมัย จนถึงสมัยอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์   จากการพิจารณาภูมิศาสตร์จะเห็นได้ว่า จากเมืองพงตึกจะเดินทางไปเมืองโบราณอื่นๆ มีเมืองกาญจนบุรี (เก่า) เมืองคูบัว เมืองราชบุรี (เก่า) เมืองกำแพงแสน เมืองดอนตูม เมืองนครปฐม เมืองอู่ทอง ย่อมไปได้สะดวกทุกทิศทาง โดยมีแม่น้ำหลายสายเป็นเส้นทางคมนาคม
จากเมืองกาญจนบุรี (เก่า) เมืองสิงห์ ซึ่งเป็นเมืองตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่จะติดต่อกันโดยผ่านพระเจดีย์สามองค์ไปยังเมืองมอญและพม่า ย่อมไปมาได้สะดวกมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เมืองโบราณดังกล่าวมาแล้ว ได้ร้างไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเหตุต่างๆ กันดังต่อไปนี้
. เพราะแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่ เป็นเหตุให้กันดารน้ำ ผู้คนได้รับความลำบากจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น
. เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ ทำเลที่ตั้งของเมืองมีที่เพาะปลูก ที่จะทำนา ทำไร่ มีน้อย ขาดน้ำขาดความอุดมสมบูรณ์ พลเมืองเพิ่มขึ้นที่ดินมีน้อยไม่พอจะประกอบอาชีพ จึงคิดชักชวนกันอพยพไปอยู่ที่อื่น
. โรคระบาดอย่างร้ายแรง ผู้คนล้มตายลงเป็นอันมาก (โบราณเรียกว่าห่ากินเมือง) จึงพากันหนีโรคภัยไปอยู่ที่อื่น เมืองจึงร้างไป มีเช่นนี้หลายเมือง
. ภัยจากศึกสงคราม เมื่อพ่ายแพ้สงครามผู้คนพลเมืองก็ถูกจับกวาดต้อนเป็นเชลยบ้านเมืองถูกข้าศึกทำลายพินาศ กรณีเช่นนี้มีตัวอย่างอยู่มากในประเทศไทยตั้งแต่เหนือจดใต้
แต่ถ้าเมืองที่ร้างไปนั้น รอบๆ บริเวณนอกเมืองออกไปเป็นที่อุดมสมบูรณ์ ดินดี น้ำท่าดี ถึงแม้จะเคยร้างไปก็จะเป็นอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ไม่ช้าไม่นานก็จะมีผู้คนอพยพกันมาตั้งบ้านเมืองอาศัยทำมาหากินกันต่อไปใหม่ ฉะนั้น เราจะเห็นเมืองใหม่สร้างซับซ้อนกับแนวเมืองเก่าหรืออยู่ใกล้ชิดกันอยู่หลายเมือง
อนึ่ง  ถ้าเมืองใดมีความสำคัญทางศาสนามีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ    มีชื่อเสียงเมืองนั้นมักไม่ร้าง มีบางเมืองเคยร้างไปบ้างก็เพียงชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็จะมีผู้คนพลเมืองอพยพมาตั้งบ้านเมืองอยู่ต่อไปใหม่

ในครั้งโบราณกาล บ้านเมืองในดินแดนแห่งประเทศไทยยังไม่ได้รวมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนอย่างทุกวันนี้ แบ่งการปกครองออกเป็นแคว้นๆ เป็นรัฐๆ หรืออย่างที่เรียกว่าลัทธิเจ้าผู้ครองนคร หรือ "นครรัฐ" เมืองกาญจนบุรีครั้งโบราณรวมอยู่ในแคว้นอู่ทองหรือที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ
มีผู้สันนิษฐานว่า สมัยโบราณเมืองพงตึก คือเมืองกาญจนบุรี สมัยทวาราวดี (..๑๐๐๐-๑๕๘๙) คงชื่อว่า "เมืองกาญจนบุรี" มาแต่ครั้งนั้นซึ่งก็เป็นเรื่องที่ควรรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณา

ค้นคว้าหลักฐานต่อไป

เพราะเหตุที่เมืองกาญจนบุรี มีประวัติทางประวัติศาสตร์ และทางโบราณคดีเนื่องจากมีโบราณสถาน โบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่วิวัฒนาการสืบต่อกันมาไม่ขาดสายเป็นเวลานับเป็นหมื่นๆ ปี ตั้งแต่ยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ และยุคโลหะ จึงเป็นแผ่นดินขุมทรัพย์ อันมหาศาลของวงการโบราณคดีของโลก มีนักปราชญ์ทางโบราณคดีไทยและนานาชาติ ได้เดินทางเข้ามาค้นคว้าหาหลักฐานและรายละเอียดอันเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในอดีต แผ่นดินแห่งนี้จึงมีค่าเป็นเพชรน้ำเอกแห่งหนึ่งในวงการโบราณคดีประวัติศาสตร์และอารยธรรมของโลกในภูมิภาคนี้นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเป็นต้นว่า โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ คูเมือง กำแพงเมือง ฯลฯ อันเป็นหลักฐานที่จะ
ให้รายละเอียดทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมของชาติ สมควรที่เราชาวไทยและชาวกาญจนบุรี จะต้องช่วยกันรักษาไว้เหมือนพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงกล่าวว่า "การสร้างอาคารสมัยใหม่นี้ เป็นเกียรติของผู้สร้างเพียงคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐ
เพียงแผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่จะได้ช่วยกันรักษาไว้ หากเราขาดสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย"

สมัยสุโขทัย
สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ไม่ปรากฏเรื่องราวของเมืองกาญจนบุรี เพราะไม่มีเหตุการณ์เกี่ยวข้องเนื่องจากอยู่ห่างไกลราชธานีมาก ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้กล่าวไว้ว่าเคยเป็นเมืองขึ้นเมืองทางแถบนี้มีกล่าวชื่อตั้งแต่เมืองคณฑี (คือบ้านโคนในปัจจุบัน) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองแพรก (คือเมืองชัยนาทเก่า) เมืองสุวรรณภูมิ เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราช ตลอดไปจดมหาสมุทรอินเดีย
ไม่ปรากฏว่ามีชื่อเมืองกาญจนบุรีอยู่ในศิลาจารึกหลักนั้นเลย แต่ก็น่าสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่าเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในเวลานั้น ก็มิได้ระบุไว้ในศิลาจารึกว่าเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเหมือนกัน พิเคราะห์ดูเมืองต่างๆ อีกหลายเมือง เช่น เมืองปราจีนบุรี (เมืองเก่าที่ดงศรีมหา-โพธิ์) เมืองนครนายก (เมืองเก่าที่คงละคร) และเมืองจันทบุรี ก็ไม่ได้กล่าวถึงเลย ถ้าวิเคราะห์จากโบราณสถานของเมืองเหล่านี้ จะเห็นว่าเป็นแบบสถาปัตยกรรมขอมทั้งสิ้น ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า เหตุที่จารึกสุโขทัยมิได้กล่าวถึงเมืองเหล่านี้ คงเพราะเมืองเหล่านี้ยังอยู่ในอำนาจขอม


สมัยกรุงศรีอยุธยา
เรื่องราวของเมืองกาญจนบุรีเพิ่งจะมาปรากฏขึ้นชื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองกาญจนบุรีตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของลำน้ำแควใหญ่ ใกล้ๆ กับเขาชนไก่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่หมู่บ้านท่าเสา ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี
สมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองกาญจนบุรีมีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะเป็นเมืองหน้าด่านในการศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่า ทั้งนี้เนื่องจากอาณาเขตแดนด้านทิศตะวันตกของเมืองกาญจนบุรีมีช่องทางเดินติดต่อระหว่างไทยกับพม่าอยู่หลายทางด้วยกัน เช่น ด่านพระเจดีย์สามองค์ ด่านบ้องตี้
โดยเฉพาะด่านพระเจดีย์สามองค์ เคยเป็นทางผ่านของกองทัพพม่าที่ยกเข้ามาโจมตีไทยครั้งสำคัญๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนี้ คือ
. .. ๒๐๙๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สงครามครั้งนี้พระเจ้าหงสาวดีตะเบง-ชะเวตี้ทรงเป็นแม่ทัพยกทัพผ่านเมืองกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ไปจดถึงพระนครศรีอยุธยา สงครามคราวนี้สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ถูกพระเจ้าแปรแม่ทัพหน้าของพม่าฟันด้วยของ้าวสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
. .. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพแยกแผ่นดินไทยออกจากพม่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงให้พระยาพะสิมคุมกองทัพยกมาตีไทยโดยผ่านเมืองกาญจนบุรี และหมายที่จะเอาเมืองสุพรรณบุรีเป็นที่ตั้งมั่น แต่ถูกกองทัพไทยตีพ่ายไป
. .. ๒๑๓๓ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้ให้พระมหาอุปราชาราชบุตรยกกองทัพเข้ามาโดยผ่านเมืองกาญจนบุรี พบทัพไทยส่วนน้อยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชส่งมาล่อ ทัพพม่าหลงตีรุกไล่ทัพไทยไปถึงเมืองสุพรรณบุรี กองทัพหลวงของไทยได้เข้าโจมตีกองทัพพม่าพ่ายกลับไป
. .. ๒๑๓๕ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหาอุปราชาได้ยกกองทัพใหญ่เข้ามาตีไทยอีก สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เสด็จยกกองทัพไปตั้งรับพม่าที่หนองสาหร่ายแขวง
เมืองสุพรรณบุรี ผลของสงครามครั้งนี้ ปรากฏว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีชนะมหาอุปราชา แม่ทัพพม่า
. .. ๒๒๐๖ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สงครามคราวนี้เกิดขึ้นเพราะพวกมอญพากันอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารประมาณ ๑๐,๐๐๐ กว่าคน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดให้ครอบครัวมอญทั้งหมดไปตั้งอยู่ที่อำเภอสามโคก (เมืองปทุมธานี) และเมืองนนทบุรี ฝ่ายพม่าได้ยกกองทัพตามครัวมอญเข้ามาจนถึงเมืองไทรโยค สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ยกกองทัพออกไปต่อสู้และได้โจมตีกองทัพพม่าแตกพ่ายกลับไป
. สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.. ๒๓๑๐ ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พม่าให้ยกกองทัพมาตีเมืองกาญจนบุรีจนแตกยับเยินตั้งแต่ พ.. ๒๓๐๗ แล้วไปตั้งค่ายอยู่ที่ตำบล    ลูกแก ตำบลโคกกระออม (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ว่า ตอกกระออม) ดงรังหนองขาว ซึ่งอยู่ในเขตเมืองกาญจนบุรีทั้งหมด

ฝ่ายกองทัพไทยก็ยกกำลังออกต่อสู้พม่าแต่ก็แตกพ่ายไป พม่าเห็นว่ากองทัพไทยที่ยกออกมาสู้รบไม่ว่าจะเป็นทางเหนือและทางใต้ต่างก็พ่ายแพ้ไปหมด ก็กำเริบใจ จึงจัดส่งกองทัพเพิ่มเข้ามาอีกทางด่านพระเจดีย์สามองค์ แล้วมุ่งเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาจนแตกยับเยิน และได้เผาบ้านเมืองจนพินาศ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมาได้นานถึง ๔๑๗ ปี มีกษัตริย์ปกครองมาตามลำดับถึง ๓๓ พระองค์ ก็มาถึงคราวอวสานแตกดับสูญสิ้นพินาศลงในกองเพลิงด้วยความเศร้าสลดอย่างสุดประมาณ นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาติไทย

สมัยกรุงธนบุรี
ในสมัยนี้ เมืองกาญจนบุรีก็ยังคงตั้งอยู่ที่เดิมใกล้ ๆ กับเขาชนไก่นั้นเอง  สมัยกรุงธนบุรี
ชื่อเสียงของเมืองกาญจนบุรีมีปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยอีกเหมือนกัน คือ ใน พ.. ๒๓๑๗ พวกมอญเป็นกบฏต่อพม่าได้พากันอพยพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ พม่าได้ยกกองทัพติดตามครัวมอญเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ทัพพม่าตีกองทัพไทยที่ตั้งรับอยู่ที่ตำบลท่าดินแดง  แขวงเมืองกาญจนบุรี จนแตกถอยร่นลงมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้กองทัพที่ยกลงมาจากเชียงใหม่มาตั้งรับทัพพม่าที่บางแก้ว (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า บ้านนางแก้ว) แขวงเมืองราชบุรีกองทัพไทยได้ปะทะกับกองทัพของงุยอคงหวุ่น ซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่บางแก้วนั้นอย่างเข้มแข็งจับเชลยได้เป็นอันมาก แล้วยังบุกโจมตีทัพพม่าซึ่งหนุนเนื่องเข้ามาแตกถอยไปอีกด้วย
ส่วนครัวมอญที่อพยพเข้ามานั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีรับสั่งให้ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ปากเกร็ด แขวงเมืองนนทบุรีบ้าง ที่สามโคกแขวงเมืองปทุมธานีบ้าง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยนี้ เมืองกาญจนบุรี เป็นทั้งเมืองหน้าด่านและสมรภูมิสำคัญในการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่า สงครามครั้งสำคัญๆ ได้แก่ สงครามลาดหญ้า และสงครามท่าดินแดง
สงครามลาดหญ้า หรือสงคราม ๙ ทัพ เกิดขึ้นใน พ.. ๒๓๒๘ หลังจากสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ประมาณ ๓ ปี พระเจ้าปะดุงกษัตริย์พม่าได้เกณฑ์ทัพเข้ามาตีไทยหลายทาง คือ ทางใดที่พม่าเคยยกกองทัพเข้ามาตีไทย ก็ให้กองทัพยกเข้ามาคราวนี้พร้อมกันหมดทุกทางทั้งทางเหนือ ทางใต้ และทางตะวันตกโดยเกณฑ์ไพร่พลมาถึง ๙ กองทัพ มีจำนวนพล ๑๔๔,๐๐๐ คน ทั้งนี้ด้วยมุ่งหวังจะตีเมืองไทยให้ได้ เพื่อต้องการเกียรติยศเป็น "มหาราช" และต้องการจะเป็น "บุเรงนอง"  คนที่ ๒ จึงระดมกำลังกองทัพมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะกองทัพที่ยกเข้ามาทางด้านตะวันตกนั้น เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์มีจำนวนถึง ๕ กองทัพ ซึ่งรวมทั้งทัพหลวงด้วยรวมเป็นพลถึง ๕๕,๐๐๐ คน
ฝ่ายกองทัพไทย เมื่อได้ข่าวศึกก็เกณฑ์กำลังไพร่พลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ คนเท่านั้นน้อยกว่าพม่าตั้งครึ่ง จึงต้องวางแผนต่อสู้กับพม่าอย่างรอบคอบ โดยให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทยกกองทัพใหญ่มีจำนวนประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ไปตั้งรับกองทัพพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า กองทัพไทยกับกองทัพพม่าได้รบพุ่งกันอยู่ประมาณสองเดือนเศษ ในที่สุดกองทัพพม่าก็แตกพ่ายไป
 สงครามท่าดินแดงเกิดขึ้นใน พ.. ๒๓๒๙ พม่าได้ยกกองทัพใหญ่เข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่
ท่าดินแดงและสามสบโดยมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ดังคำกลอนเพลงยาวพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพรรณนาไว้ในนิราศท่าดินแดงว่า
"ทัพพม่าอยู่ยังท่าดินแดง                       แต่งค่ายรายไว้เป็นถ้วนถี่
ทั้งเสบียงอาหารสารพันมี                                             ดังสร้างสรรค์ธานีทุกประการ
มีทั้งพ่อค้ามาขาย                                            ร้านรายกระท่อมพลทุกสถาน
ด้านหลังทำทางวางตะพาน                                 ตามลหานห้วยน้ำทุกตำบล
ร้อยเส้นมีฉางระหว่างค่าย                                  ถ่ายเสบียงมาไว้ทุกแห่งหน
แล้วแต่งกองร้อยอยู่คอยคน                                 จนตำบลสามสบครบครัน
อันค่ายคูประตูหอรบ                                        ตกแต่งสารพัดเป็นที่มั่น
ทั้งขวากหนามเขื่อนคูป้องกัน                              เป็นชั้นชั้นอันดับมากมาย"
กองทัพไทยได้ยกออกไปตีค่ายพม่าที่ท่าดินแดงและสามสบ พม่าเป็นฝ่ายแพ้ไปอย่าง
ยับเยิน
เหตุการณ์สงครามระหว่างไทยกับพม่าในอดีต ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองหน้าด่านป้องกันประเทศชาติทางด้านตะวันตก ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองจะต้องคัดเลือกผู้ที่มีฝีมือในทางรบทัพจับศึกเป็นเยี่ยม มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญชาญชัย เพราะเป็นตำแหน่ง
แม่ทัพด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอต่างๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี ที่เคยเป็นสนามรบและเป็นที่ตั้งค่ายคูประตูรบมาแล้วในอดีต มีชื่อปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์มาจนทุกวันนี้ เช่น ปากแพรก ดงรัง หนองขาว ตระพังตรุ ลาดหญ้า เมืองสิงห์ ท่าตะกั่ว ท่ากระดาน ด่านกรามช้าง ช่องแคบ   พุไคร้ สามสบ ท่าดินแดง บ้านทวน ด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองลุ่มสุ่ม ลูกแก โคกกระออม และด่านบ้องตี้ เป็นต้น
          ตัวเมืองกาญจนบุรี ซึ่งแต่เดิมอยู่ที่บริเวณทุ่งลาดหญ้าใกล้ๆ กับเขาชนไก่นั้น ต่อมาใน
รัชกาลที่ ๑ มีสงครามบ่อยๆ แผนการสงครามก็เปลี่ยนแปลงไป คือ กองทัพพม่าไม่ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ โดยผ่านทางเมืองสังขละบุรีและเมืองศรีสวัสดิ์ทางเดียว แต่กลับยกเข้ามาทางเรือโดยมาทางเมืองไทรโยค (เก่า) ซึ่งอยู่ที่บ้านท่าทุ่งนา ล่องลงมาตามลำน้ำแควน้อยมาขึ้นบกที่ปากแพรกอีกทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทซึ่งทรงเป็นแม่ทัพรบกับพม่าทางด้านนี้บ่อยๆ ทรงเห็นว่าการยุทธศาสตร์เปลี่ยนไปคงจะได้เลื่อนที่ตั้งฐานทัพจากเมืองกาญจนบุรีเก่า มาตั้งที่ปากแพรกทางฝั่งซ้ายแม่น้ำแม่กลอง ในระหว่าง พ.. ๒๓๓๐-๒๓๖๐ ในระยะแรกๆ ก็ปักแต่เสาระเนียดแล้วถมดินเป็นเชิงเทินเท่านั้น
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานอธิบายไว้ว่า "ที่จริงภูมิฐานเมืองปากแพรกดีกว่าเมืองเขาชนไก่ เพราะเป็นที่ตั้งอยู่ในที่รวมแม่น้ำทั้ง ๒ แม่น้ำผืนแผ่นดินที่
ตั้งเมืองก็สูงและเห็นแม่น้ำน้อยได้ไกล ป้อมกลางย่านตั้งอยู่ตรงกลางลำน้ำทีเดียว แม้ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อเสด็จออกมาขัดตาทัพกำแพงเมืองก็คงเป็นไม้ระเนียดอยู่"
          "ต่อมา พ.. ๒๓๗๔ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้
โปรดเกล้าฯ ให้ก่อกำแพงเมืองป้อมปราการ ขุดคูเมือง ตั้งศาลหลักเมือง เป็นลักษณะเมืองอันมั่นคงถาวรโดยมีพระประสงค์เพื่อให้ติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี เมื่อพระยากาญจนบุรี (พระยาประสิทธิสงคราม) เข้าเฝ้าทรงโปรดเกล้าฯ รับสั่งว่า "เมืองกาญจนบุรีเป็นทางที่อังกฤษ พม่า รามัญ ไปมา ให้สร้างเมืองก่อกำแพงเมืองขึ้นไว้ จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขันธ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง แล้วจะได้ป้องกันสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราฎรพระพุทธศาสนาจะได้ถาวรตลอดไปชั่วนิรันดร"
          ตัวเมืองเมื่อแรกสร้างในครั้งนั้นมีขนาดไม่ใหญ่โตนัก กว้าง ๕ เส้น ยาว ๑๐ เส้น ๑๘ วา
มีป้อมมุม ๔ ป้อม ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนินด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ ๑ ป้อม มีประตูรวมทั้งหมด ๘ ประตู กำแพงสูง ๘ ศอก ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยคว่า
      "ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมนั้นขึ้นไปตั้งเหนือมาก มีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าจะไปมาลำบากจึงมาตั้งอยู่เสียที่ปากแพรกนี้ เป็นทางไปมาแต่เมืองราชบุรีง่าย"
และอีกตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ตามเสด็จประพาสไทรโยคว่า
"อันเมืองกาญจนบุรีนี้สร้างใหม่ เมืองเขาชนไก่เป็นที่ตั้ง พม่าลาดกวาดคนไปหลายครั้งอีกทั้งยากแค้นแสนกันดาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าพิภพ ทรงปรารภสร้างใหม่ให้ไพศาล จึงย้ายมาปากแพรกแปลกโบราณ ประสงค์การค้าขายฝ่ายราชบุรี"
ในการสร้างเมืองกาญจนบุรีที่ปากแพรกครั้งนั้น ได้จัดให้มีพิธีการต่างๆ อย่างสมบูรณ์ตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกหลักเมือง เมื่อพ.. ๒๓๗๔ เมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองกษัตริย์สร้าง ชาวกาญจนบุรีควรจะภาคภูมิใจ
ในด้านเกร็ดตำนานจากหนังสือวรรณคดีเรื่องขุนช้าง ขุนแผน เมืองกาญจนบุรี ปรากฏว่ามีชื่ออยู่ในวรรณคดีดังกล่าวมา ซึ่งมีเค้าความจริงในแผ่นดินสมเด็จพระพันวษาคือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.. ๒๐๓๔-๒๐๗๒ ในนามขุนแผน เป็นตำแหน่งปลัดซ้ายในกรมตำรวจภูบาล กาญจนบุรี (เก่า) เป็นภูมิลำเนาของมารดาและขุนแผนคืออยู่บ้านเขาชนไก่ ตำบลลาดหญ้ามีเจดีย์เก่าอยู่บนเขาองค์หนึ่ง แต่เวลานี้ทรุดโทรมมาก มีคนขึ้นไปขุดเจาะเจดีย์ได้พระไปมาก โดยเฉพาะมีพระขุนแผนอุ้มไก่อยู่ด้วย บริเวณเมืองกาญจนบุรีเก่ายังมีซากวัดต่างๆ หลายวัด
ตามเกร็ดตำนานเมืองกาญจนบุรีนั้นกล่าวว่า เมื่อขุนแผนเป็นแม่ทัพไปทำสงครามมีชัยชนะกลับมาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรี เมืองหน้าด่านมีบรรดาศักดิ์ว่า "พระสุรินทรฤาชัย" (จันทร์ ตุงคสวัสดิ์) ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.. ๒๔๕๘-๒๔๖๕ นับว่าเป็นราชทินนามสืบเนื่องมาจากวรรณคดีเรื่องขุนช้าง-ขุนแผนในครั้งโบราณสมัยอยุธยา

สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา
          ครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือสงครามโลกครั้งที่สอง ทางด้านเอเชีย กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นประเทศไทย เมื่อตอนเช้าตรู่วันที่ ๘ ธันวาคม พ.. ๒๔๘๔ และได้ยื่นคำขาดขอเดินทัพผ่านไปยังมลายูและพม่า ซึ่งเวลานั้นอยู่ในความปกครองของอังกฤษ รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรียินยอมตามข้อเสนอของกองทัพญี่ปุ่น
      จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ชี้แจงแก่ประชาชนไทยทางวิทยุกระจายเสียงว่า
นับตั้งแต่เช้าตรู่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ฯลฯ ได้มีการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่น ในเวลาเดียวกันเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เจรจากับรัฐบาลขอให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านดินแดนประเทศไทย โดยญี่ปุ่นรับรองจะเคารพเอกราชและอธิปไตยของไทย รัฐบาลได้พิจารณาแล้วโดยถี่ถ้วนเห็นว่า ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ จึงสมควร
ยินยอมตามคำขอของญี่ปุ่น ท่านนายกรัฐมนตรีวิงวอนขอให้ประชาชนชาวไทยเห็นใจ และเข้าใจการตัดสินใจของรัฐบาลในครั้งนี้
      การตัดสินใจครั้งนี้ นับเป็นขั้นตอนแรกในอีกหลายๆ ขั้นตอนที่รัฐบาลสมัยนั้นได้ดำเนินการไปและในที่สุดรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.. ๒๔๘๕ ญี่ปุ่นยังคงตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศไทยจนสงครามสงบโดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายประกาศยอมแพ้ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.. ๒๔๘๘
ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม พ.. ๒๔๘๔ จนถึงวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.. ๒๔๘๘
ในช่วงเวลาดังกล่าว ที่กองทหารญี่ปุ่นเข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยนั้น มีผลกระทบต่อประเทศไทย
ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม อย่างแรงและเห็นได้ชัดเจน แต่ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คงความเป็นเอกราช และสามารถรักษาอธิปไตยของชาติไว้ได้ตราบเท่าทุก
วันนี้
จังหวัดกาญจนบุรีก็เริ่มมีบทบาทในสงครามครั้งนี้ขึ้นมาทันที โดยกองทัพญี่ปุ่นได้นำเชลยศึกรวมทั้งกรรมกรเกณฑ์แรงงานซึ่งกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทย เพื่อสร้างทางรถไฟไปพม่าโดยแยกจากทางรถไฟที่สถานีหนองปลาดุกไปเมืองกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่เรียกกันว่า "สะพานข้ามแม่น้ำแคว" แล้วตัดข้ามหุบเขา ขุนเขา ป่าดงจนถึงชายแดนพม่า เพื่อขนส่งกำลังพลและยุทธสัมภาระจากประเทศไทยไปพม่า ทำให้จังหวัดกาญจนบุรีต้องตกเป็นเป้าหมายของฝ่ายสัมพันธมิตรที่มาทิ้งระเบิดทำลายสะพาน ทางรถไฟเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงขนส่ง ประชาชนชาวเมืองกาญจนบุรี ได้รับเคราะห์กรรมจากสงครามอันทารุณครั้งนี้อยู่หลายปี ทำให้ต้องเสียชีวิตและทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งชาวกาญจนบุรียังจำได้ดีและทางราชการได้จัดงาน "สัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว" เป็นงานประจำปีของจังหวัด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.. ๒๕๒๓ เป็นต้นมา
อนุสรณ์แห่งสงครามครั้งนั้นยังปรากฏจนทุกวันนี้ ได้แก่
. สะพานข้ามแม่น้ำแคว
. ทางรถไฟสายมรณะ
. สุสานทหารสหประชาชาติ
ขอให้เป็นเรื่องราวแห่งสงครามบทสุดท้ายในประวัติศาสตร์ เหนือฝั่งแม่น้ำแควของกาญจนบุรีเท่านี้เถิด ขอสันติสุขจงมีแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันตลอดไปชั่วนิรันดร์
จากประวัติความเป็นมาของจังหวัดกาญจนบุรีดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นสมรภูมิที่บรรพบุรุษในอดีตได้เคยหลั่งเลือดต่อสู้กับข้าศึกศัตรูเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้นับครั้งไม่ถ้วน และด่านพระเจดีย์สามองค์ก็เป็นด่านสำคัญของประเทศไทยทางด้านทิศตะวันตกเพราะเป็นทางเดินที่ใกล้สุดระหว่างไทยกับพม่า ไทยกับพม่าได้ทำสงครามขับเคี่ยวกันมาตลอดสามกรุง (กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์) ไม่ว่าพม่าจะยกกองทัพมารบกับไทยก็ดีหรือกองทัพไทยจะยกไปตีเมืองพม่าก็ดี จะต้องยกกองทัพผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์นี้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งถ้านับแล้วก็ไม่น้อยกว่า ๑๕ ครั้ง จึงนับได้ว่าด่านพระเจดีย์สามองค์เป็นด่านที่สำคัญมาก ด้วยเหตุนี้เองจังหวัดกาญจนบุรีจึงได้ใช้รูปพระเจดีย์สามองค์เป็นเครื่องหมายประจำจังหวัด และเทศบาลเมืองกาญจนบุรีก็ใช้รูปพระเจดีย์สามองค์เป็นเครื่องหมายของเทศบาลด้วย นอกจากนี้รูปพระเจดีย์สามองค์ยังนำไปเป็นสัญลักษณ์ผ้าผูกคอของลูกเสือของจังหวัดกาญจนบุรี และค่ายลูกเสือของจังหวัดกาญจนบุรีก็ใช้ชื่อว่า "ค่ายลูกเสือเจดีย์สามองค์" อีกด้วย
ตัวเมืองกาญจนบุรี ตั้งอยู่ที่ปากแพรก ตั้งแต่ พ.. ๒๓๗๔ เรื่อยมาจนถึง พ.. ๒๔๙๘ จึงได้ย้ายอาคารสถานที่ราชการและศาลากลางจังหวัดมาปลูกสร้างใหม่ที่ "บ้านบ่อ" ตำบลปากแพรก ริมถนนแสงชูโต ห่างจากศาลากลางจังหวัดเดิม ประมาณ ๓ กิโลเมตร
 
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
เดิมหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง มีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องถิ่นที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่การจัดรูปการปกครอง "แบบเทศาภิบาล" ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเป็นการเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีการปกครองดั้งเดิมของไทย คือ "ระบบกินเมือง" ให้หมดไป   
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งห่างไกลออกไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องมาจากทางคมนาคมไป
มาลำบากมาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ๆ ส่วนหัวเมืองอื่นๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง แบบกินเมือง และมีอำนาจอย่างกว้างขวางในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามาร่วมอยู่ยังจุดเดียวกันโดยการจัดตั้ง มณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่ารัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มตั้งแต่ พ.. ๒๔๓๗ จนถึง พ.. ๒๔๕๘
จึงจะสำเร็จ
"การเทศาภิบาล" คือการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่ง "ข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาค อันเป็นการใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ" จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับดังนี้คือ
. เป็นมณฑล
. ถัดลงไปเป็นเมือง คือจังหวัด
. อำเภอ
. ตำบล
. หมู่บ้าน
จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวง ทบวงกรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความประพฤติดีให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ มิให้มีหน้าที่การก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อยรวดเร็ว แก่ราชการและธุรกิจของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย
สรุป เพื่อความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้
การเทศาภิบาล นั้นหมายความรวมว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่ง
เรียกว่า "การปกครองส่วนภูมิภาค" ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล" คือ ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเอง เช่น ที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิมอันเป็นระบบ
กินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล จึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางและริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง

ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตน-โกสินทร์ ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะได้อธิบายโดยย่อดังนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ ๓ แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.. ๒๔๓๕ เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้วจึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลขึ้น ๖ มณฑล คือ
. มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ
. มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร
. มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน
. มณฑลเขมรหรือมณฑลบูรพา
. มณฑลลาวกลางหรือมณฑลนครราชสีมา
. หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกหรือมณฑลภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น ๖ มณฑลดังกล่าวมานี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. ๒๔๓๗ เป็นต้นมาแต่มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร ได้จัดตั้งเป็นลำดับดังนี้
.. ๒๔๓๗ เป็นปีแรกที่จัดระเบียบการมณฑลแบบใหม่  ได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา  และต่อมาได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีอีกมณฑลหนึ่ง ซึ่งกาญจนบุรีเป็นเมืองรวมอยู่ในมณฑลราชบุรีด้วย
.. ๒๔๓๘ ได้จัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๓ มณพล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ตให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. ๒๔๓๙ ได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๒ มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร และเปลี่ยนแปลงการปกครองมณฑลเขมร ให้เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลให้ชื่อว่ามณฑลบูรพา
.. ๒๔๔๐ ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี
.. ๒๔๔๒ ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. ๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ที่เหลืออีก ๓ มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. ๒๔๔๗ ให้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์
.. ๒๔๔๙  จัดตั้งมณฑลปัตตานี มณฑลจันทบุรี
.. ๒๔๕๐  จัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. ๒๔๕๑  จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษสร้างทางรถไฟสายใต้
.. ๒๔๕๕  ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล ตั้งชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด
.. ๒๔๕๘  จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร
เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้วยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
. การคมนาคม การสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
. เห็นว่าหน่วยงานมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาค
ยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง แบ่งส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาคเป็นภาค จังหวัด และอำเภอ ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด
มีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
. จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่เดิมหามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
. อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคลได้แก่ คณะกรรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
. ในฐานะของคณะกรรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
. จังหวัด
. อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของ
ผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

 
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดกาญจนบุรี . กรุงเทพมหานคร : ประยูรวงศ์ , ๒๕๓๐.





































ท่าดินแดง ตั้งอยู่ในตำบลวังปะโต่ อำเภอสังขละบุรี ปัจจุบันถูกน้ำท่วมในเขื่อนเขาแหลม
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง (พระนคร : โรงพิมพ์โสภณนิพรรฒธนากร, ๒๔๖๔) หน้า ๒๓-๒๕.
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค, (พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม,๒๕๐๒)
กรมศิลปากร, พุทธสาสนคติและรวมเรื่องเมืองกาญจนบุรี (พระนคร : โรงพิมพ์มกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๑๑) หน้า ๘๓-๘๔
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค (พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๐๒) หน้า ๗๑-๗๒
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว, กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค (พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร,
     ๒๔๗๐), หน้า ๑๐๖-๑๐๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น