วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดพังงา



การกล่าวถึงประวัติจังหวัดพังงา จะหลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึงเรื่องราวประวัติของ "ตะกั่วป่า"      เสียก่อนไม่ได้ เนื่องจากปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ ยอมรับแล้วว่า "ตะกั่วป่า" ได้เคยเป็นบ้านเมือง   เป็นที่รู้จักกันดีไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แม้ขณะนี้จะมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งก็ตาม      
ส่วนจังหวัดพังงานั้นเพิ่งมาตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นเมื่อ พ..๒๓๕๒ ในรัชกาลที่ ๒ แห่ง      กรุงรัตนโกสินทร์ หรือเมื่อประมาณ ๑๗๖ ปีมานี้เอง
สมัยอาณาจักรศรีวิชัย
เดิมทีนั้นบนแหลมมลายูรวมทั้งส่วนบนที่เป็นของไทยด้วย ได้เป็นที่อยู่ของพวกพื้นเมืองเดิม อันได้แก่ พวก "เซมัง" และ "ซาไก" มาก่อน  ต่อมามีชนอีกพวกหนึ่งเรียกกันว่า "ชนพูดภาษามอญ - เขมร" อพยพแผ่ลงมาจากทางเหนือเข้ามายึดริมแม่น้ำตอนใกล้ ๆ ชายทะเลเป็นถิ่นฐานเรื่อยลงไปจน ถึงปลายแหลมมลายู ชนพวกนี้ส่วนหนึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน เป็นชนชาติมอญ อยู่ในแม่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นละว้าและปากแม่น้ำโขงเป็นชนเขมร  เฉพาะส่วนที่ลงมาอยู่บนแหลมมลายูนั้นกลายเป็น "พวกมลายูเดิม" แต่ไม่พูดภาษามลายู
ต่อมามีชนพวกพูดภาษามอญ - เขมร ได้อพยพใหญ่ลงมาตามแนวทางเดิมอีกคราวหนึ่ง ในครั้งนี้ชนพูดภาษามอญ - เขมร  ได้เจริญขึ้นมากแล้วได้ทำเรือแพข้ามไปอยู่บนเกาะสุมาตรา ชวาและบอร์เนียว และได้เข้ามาขับไล่เอาพวกมลายูเดิมที่ด้อยความเจริญกว่าให้เข้าไปอยู่ในป่าบ้าง หนีไปอยู่ตามชายทะเลห่างไกลบ้าง กลายเป็นพวก "จากุน" ไป และอยู่ตามชายฝั่งทะเลไทยเรียกว่า "ชาวเลหรือ "ชาวน้ำ" ภาษาราชการเรียกว่า "ชาวไทยใหม่"
ในสมัยใกล้เคียงกัน พวกชาวอินเดียที่มีอารยธรรมสูงได้เริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เนื่องจากชาวอินเดียเหล่านี้มีความฉลาดกว่า มีวัฒนธรรมสูงกว่า จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน ฯลฯ ให้แก่ชาวพื้นเมือง ในที่สุดชาวอินเดียก็ได้เข้าผสมกับชาวพื้นเมือง และมีอำนาจปกครองแหลมมลายูอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปี เมื่อเสื่อมอำนาจลงพวกเขมร  (เมืองละโว้) ลงมาชิงได้บ้านเมือง  แต่เขมรปกครองอยู่ได้ไม่นานชนชาติไทยได้เป็นใหญ่ในประเทศสยาม (ณ กรุงสุโขทัย) ก็ขยายอำนาจลงมา ได้แหลมมลายูตอนข้างเหนือไว้เป็นอาณาเขต ตั้งแต่
.. ๑๘๐๐ เศษเป็นต้นมา

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดปัตตานี

ปัตตานี หากจะอาศัยประวัติศาสตร์ของไทยเราเป็นที่อ้างอิงเพียงด้านเดียวจะเห็นได้ว่าปัตตานีมีเรื่องราวและบทบาทเพียงน้อยนิด เป็นเพียงหัวเมืองปักษ์ใต้ที่เป็นประเทศราชของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แต่สำหรับเรื่องราวของปัตตานีที่มีบันทึกอยู่ในจดหมายเหตุของจีนและประเทศอื่นๆ ซึ่งเคยติดต่อด้านการค้าการเดินเรือต่างถึงเมืองปัตตานีเนิ่นนานกว่าสมัยสุโขทัยมากนัก ปัตตานีคือปัจจุบัน "ลังกาสุกะ" คือ อดีตอันรุ่งเรือง
ที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะ ศาสตราจารย์ ปอล วิตลีย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแหลมมลายูได้ใช้บันทึกของผู้โดยสารเรือผ่านอาณาจักรนี้ซึ่งมีมากมายหลายเชื้อชาติ แต่ที่มากที่สุดและได้รายละเอียดมากที่สุดได้แก่ชาวจีน เพราะชาวจีนได้บันทึกมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นายปอล วิตลีย์ สรุปลงได้ว่าอาณาจักรลังกาสุกะตั้งอยู่ระหว่างเมืองกลันตันและเมืองสงขลา ความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับทั่วไปในวงการประวัติศาสตร์
จดหมายเหตุของจีนชื่อ เหลียง ซู ซึ่งเขียนขึ้นในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เรียกชื่อเมืองลังกา- สุกะว่า ลัง-ยาหรือ ลังยาชิวและกล่าวว่าอาณาจักรลังกาสุกะได้ตั้งมาก่อนหน้านั้นประมาณ ๔๐๐ ปี ซึ่งหมายความว่าได้ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๗ แล้วกล่าวด้วยว่า อาณาจักรนี้มีอาณาเขตจรดทั้งสองฝั่งทะเล คือด้านตะวันออกจรดฝั่งอ่าวไทยบริเวณเมืองปัตตานี ด้านตะวันตกจรดฝั่งอ่าวเบงกอลเหนือเมืองไทรบุรี ในประเด็นหลังนั้น ศาสตราจารย์ฮอลล์เห็นด้วยซ้ำกล่าวเพิ่มเติมว่า ก็เพราะอาณาจักรลังกาสุกะมีอำนาจปกครองคร่อมอยู่ทั้งสองฝั่งทะเลเช่นนี้เอง จึงได้ทำหน้าที่ควบคุมเส้นทางเดินข้ามแหลมมลายูแต่โบราณ
เหตุที่ชื่อเมืองหรืออาณาจักรของ ลังกาสุกะไปปรากฏในเอกสารของชาวต่างประเทศเป็นอันมากนั้น ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าเมืองลังกาสุกะต้องเป็นเมืองท่าสำคัญอยู่ใกล้ทะเล มีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอ
ถิ่นฐานและการโยกย้าย ตามตำนานพื้นเมืองของปัตตานีเล่าสืบกันมาว่า เมืองปัตตานีโบราณ หรือเมื่อครั้งยังเรียกว่า ลังกาสุกะนั้น ได้มีการโยกย้ายมาแล้ว ๓ ครั้ง
เดิมนั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปาโย หรือบาโย ซึ่งทุกวันนี้ได้แก่ บริเวณท้องที่ตำบลหน้าถ้ำ ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปัตตานี ในบริเวณนี้ได้พบซากโบราณสถาน โบราณวัตถุจำนวนมาก แต่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗ เป็นส่วนใหญ่
การเคลื่อนย้ายครั้งที่ ๑ ได้อพยพมาตั้งเมืองที่ บ้านตะมางันท้องที่ตำบลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส แต่ชื่อ ตะมางันปัจจุบันมีอยู่ที่เมืองยะรังเก่า อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้จดจำตำนานเกิดความไขว้เขวขึ้นก็ได้ อีกทั้งที่อำเภอรือเสาะก็ไม่พบโบราณสถาน หรือหลักฐานใดๆ ที่เก่าถึงสมัยลังกาสุกะ

ประวัติศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช


นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นที่  รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาไม่น้อยกว่า ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ว่านครศรีธรรมราชมีกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นอย่างน้อย

ชื่อของเมืองนครศรีธรรมราช

จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า นครศรี-    ธรรมราช" ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อ ตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมาและสำเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่านมาในระยะเวลาที่ต่างกัน  เช่น

ตมฺพลิงฺคมฺหรือ ตามฺพลิงฺคมฺ” (Tambalingam) หรือ กมลีหรือ ตมลีหรือ กะมะลิงหรือ ตะมะลิง

           เป็นภาษาบาลีที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหานิเทศ (คัมภีร์บาลี ติสþสเมตþเตยþยสุตþตนิทþเทศ) ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ - คัมภีร์นี้เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณกล่าวถึงการเดินทางของ     นักเผชิญโชค เพื่อแสวงหาโชคลาภและความร่ำรวยยังดินแดนต่าง อันห่างไกลจากอินเดีย คือบริเวณ  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ระบุเมืองท่าต่างๆ ในบริเวณนี้ไว้และในจำนวนนี้ได้มีชื่อเมืองท่าข้างต้น   อยู่ด้วย ดังความตอนหนึ่งดังนี้
. . เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์  ย่อมแล่นเรือไปในมหาสมุทร  ไปคุมพะ  (หรือติคุมพะ)  ไปตักโกละ  ไปตักกสิลา  ไปกาลมุข  ไปมรณปาร  ไปเวสุงคะ  ไปเวราบถ  ไปชวา  ไปกะมะลิง  (ตะมะลิง)  ไปวังกะ  (หรือวังคะ)  ไปเอฬวัททนะ  (หรือเวฬุพันธนะ)  ไปสุวัณณกูฏ  ไปสุวัณณภูมิ  ไปตัมพปัณณิ  ไปสุปปาระ  ไปภรุกะ  (หรือภารุกัจฉะ)  ไปสุรัทธะ  (หรือสุรัฏฐะ)  ไปอังคเณกะ  (หรือภังคโลก)  ไปคังคณะ  (หรือภังคณะ)  ไป ปรมคังคณะ  (หรือสรมตังคณะ)  ไปโยนะ  ไปปินะ  (หรือปรมโยนะ)  ไปอัลลสันทะ  (หรือวินกะ)  ไปมูลบท  ไปมรุกันดาร  ไปชัณณุบท  ไปอชบถ  ไปเมณฑบท  ไปสัง     กุบท  ไปฉัตตบท  ไปวังสบท  ไปสกุณบท  ไปมุสิกบท  ไปทริบถ  ไปเวตตาจาร . . .
ศาสตราจารย์ยอร์ช  เซเดส์  (Gorge Coedes)  นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า  นักปราชญ์ทางโบราณคดีลงความเห็นว่าชื่อเมืองท่า  กะมะลิง หรือ  ตะมะลิง  ข้างต้นนี้ตรงกับชื่อที่บันทึกหรือจดหมายเหตุจีนเรียกว่า  ตั้ง-มา-หลิ่ง  และในศิลาจารึกเรียกว่า  ตามพþรลิงค์  คือ  นครศรีธรรมราช

ประวัติศาสตร์จังหวัดนราธิวาส

                  ประวัติเมืองนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ดังนั้นการที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมาของเมือง
นราธิวาส จะต้องกล่าวถึงเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรีและเมืองระแงะ ซึ่งเป็นบริเวณหัวเมือง เป็นลำดับติดต่อกันไป
                  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้ เพื่อปราบปรามข้าศึกที่ยกเข้ามารุกรานพระราชอาณาเขตทางใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้วจึงได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองสงขลา แล้วได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นกับกรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อนให้มาอ่อนน้อมเหมือนดังเดิม
                  พระยาไทรบุรี พระยาตรังกานู ยอมอ่อนน้อมโดยดี แต่พระยาปัตตานีตั้งแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงได้รับสั่งให้ยกกองทัพลงไปตีเมืองปัตตานี เมื่อ .. ๒๓๓๒
                  เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ก็โปรดเกล้าพระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไป และตั้งให้เป็นเมืองตรี ขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยเป็นปกติสุขตลอดมา
                  ครั้นต่อมาเมื่อพระยาปัตตานี  (ขวัญซ้าย) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้าฯ ให้นายพ่าย    น้องชายของพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ขึ้นว่าราชการเป็นพระยาปัตตานีและแต่งตั้งให้นายยิ้มซ้าย บุตร
พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย)  เป็นหลวงสวัสดิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งที่บ้านยามู

ประวัติศาสตร์จังหวัดกระบี่

ดินแดนบริเวณจังหวัดกระบี่ในยุคโบราณ

เรื่องราวของดินแดนบริเวณจังหวัดกระบี่และดินแดนอื่นๆ ทั้งสองฟากฝั่งทะเลเป็นเรื่อง    ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จากการค้นพบเครื่องมือยุคหินเป็นจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ก็แสดงว่าถิ่นนี้เคยมีมนุษย์อาศัยกันมานานแล้วเมื่อหลายพันปีหรือหมื่นปี  เครื่องมือหินที่พบบนแหลมมลายูทั้งหมดปรากฏว่าเป็นสิ่งที่ทำด้วยน้ำมือของคนสมัยหินจริงๆ  ส่วนมากที่พบจะเป็นขวานหิน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ขวานฟ้า"
สุด  แสงวิเชียร  กล่าวว่า   "คนไทยมีความเชื่อว่าขวานฟ้าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ใช้รักษาโรคได้ เช่น พวกลมเพลมพัด ถ้าเอาขวานฟ้ามากดที่บวมจะทำให้ที่บวมยุบ  ใช้ฝนกับน้ำเป็นยากินแก้ปวดท้อง ชาวภาคเหนือเอาไว้ใส่ในยุ้งบอกว่าข้าวจะไม่พร่อง ถ้าเอาตากปนไว้กับข้าวเปลือกเชื่อว่าไก่ป่าจะไม่ลงมากินข้าว ชาวภาคใต้เชื่อว่าถ้าเอาขวานฟ้าแช่ในน้ำที่จะเอาไปรดวัวชน วัวจะชนะ ในภาคกลางแถวกาญจนบุรีชาวบ้านแช่ไว้ในโอ่งน้ำกินบอกว่าจะทำให้น้ำเย็นน่ากิน บางคนบอกว่าเอาไว้ป้องกัน  ฟ้าผ่า บางคนเอาผูกไว้ที่บั้นเอว หมอแผนโบราณใช้ไล่ผี โดยเอาไว้ใต้ที่นอนผู้ป่วย  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อว่าขวานหินขัดเป็นขวานของพระยาแถนที่อยู่บนฟ้า"
ในจังหวัดกระบี่มีพบทั่วไปทั้งอำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก อำเภอคลองท่อม  นอกจากนี้แล้วสิ่งที่น่าศึกษาอีกประการหนึ่ง คือ  ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ  เช่น  ที่ถ้ำผีหัวโต  ที่อำเภออ่าวลึก  ภาพเขียนสีในถ้ำไวกิ้งเกาะพีพี  อำเภอเมือง  ที่น่าสนใจคือ ภาพที่ถ้ำผีหัวโต  ซึ่งมีทั้งรูปคนที่มีเพียงเส้นที่ขีดเป็นแขนขา  และรูปมือที่ทาสีแล้วทาบลงไปบนพื้นผนัง บางภาพก็มีสภาพสมบูรณ์ทั้งภาพคน ภาพปลา ภาพนก รูปเขียนสีเหล่านี้นอกจากจะบอกให้เราทราบลักษณะศิลปในสมัยแรกเริ่มในประเทศไทยแล้ว เรายังจะทราบชีวิตความเป็นอยู่ การอพยพและอื่นๆ  อีกด้วย  เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างขวานฟ้ากับภาพเขียนสีบนผนังถ้ำน่าจะเป็นยุคสมัยเดียวกัน และเป็นที่เชื่อถือกันว่า มนุษย์ในสมัยยุคหินนั้นอาศัยริมทะเลซึ่งมีอาหารอุดมกว่าบนดอนที่ไกลทะเล

ประวัติศาสตร์จังหวัดชุมพร


ประวัติการตั้งเมือง
          คำว่า "จังหวัดชุมพร" เพิ่งเริ่มใช้ในปี ๒๔๕๙ โดยทางราชการได้เปลี่ยนนามท้องที่ที่เรียกว่า เมืองอันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลว่า "จังหวัด" ส่วนคำว่าเมืองให้ใช้สำหรับเรียกตำบลที่ประชาชนได้เคยเรียกว่าเมืองมาแล้วแต่เดิมอันเป็นเขตชุมชนเท่านั้น ในสมัยโบราณมีชื่อว่า "เมืองชุมพร" เมืองชุมพรเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง แต่จะตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน เพิ่มมาปรากฏตามตำนานพระ-ธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของหอสมุดแห่งชาติมีความตอนหนึ่งว่า เมื่อศักราชได้ ๑๐๙๘ ปี พระยาศรีธรรมาโศกราช ก็สร้างเมืองลงบนหาดทรายรายรอบเป็นเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสั่งให้ทำอิฐทำปูนก่อพระธาตุครั้งนั้น และยังมีพระพุทธสิหิงค์ล่องทะเลมาแต่เมืองลังกาถึงเกาะปีนัง และลอยมาถึงหาดทรายแก้วที่จะก่อพระธาตุนั้น ต่อมาพระยาศรีธรรมาโศกราชได้ขุดพบพระธาตุแล้วแบ่งให้พระยาศรี-ธรรมาโศกราชไปก่อพระเจดีย์ บรรจุพระบรมธาตุที่เหลือไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้วตั้งเมืองสิบสองนักษัตรตามปูมโหรขึ้นแก่เมืองนครศรีธรรมราช ให้ใช้ตรารูปสัตว์ประจำปีเป็นตราของเมืองนั้น คือ ปีชวดตั้งเมืองสายถือตราหนูหนึ่ง ปีฉลูเมืองตานีถือตราโคหนึ่ง ปีขาลเมืองกลันตันถือตราเสือหนึ่ง  ปีเถาะเมืองปาหังถือตรากระต่ายหนึ่ง ปีมะโรงเมืองไทรถือตรางูใหญ่หนึ่ง ปีมะเส็งเมืองพัทลุงถือตรางูเล็กหนึ่ง ปีมะเมียเมืองตรังถือตราม้าหนึ่ง ปีมะแมเมืองชุมพรถือตราแพะหนึ่ง ปีวอกเมืองปันทายสมอถือตาลิงหนึ่ง ปีระกาเมืองอุลาถือตราไก่หนึ่ง ปีจอเมืองตะกั่วป่าถือตราสุนัขหนึ่ง ปีกุนเมืองกระถือตราหมูหนึ่ง เข้ากัน ๑๒ เมือง มาช่วยทำอิฐปูนก่อพระธาตุขึ้นตามตำนานนี้เมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้นมีอำนาจมาก ปรากฏว่ามีเมืองชุมพรเป็นเมืองขึ้นอยู่เมืองหนึ่งตั้งแต่ปี .. ๑๐๙๘ เมืองชุมพรในสมัยนั้นปรากฏว่า เป็นเมืองด่านเพราะอยู่ระหว่างช่องแคบมลายู เป็นเมืองด่านหรือแคว้นเทพนครหรือแคว้นอู่ทอง ในสมัยต่อมาไม่มีหลักฐานที่อ้างอิงหรือกล่าวถึง เมืองชุมพรไว้เลย จึงมีผู้เข้าใจว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา