วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดสตูล


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล  ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยดังกล่าวยังไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบใกล้ฝั่งทะเล

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  สตูลเป็นเพียงตำบลซึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี  ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองไทรบุรีชื่อตวนกูอับดุลละ  โมกุมรัมซะ ถึงแก่กรรมน้องชายชื่อตนกูดีบาอุดดีน    ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมือง (รายามุดา) ได้เป็นเจ้าเมืองแทน  ต่อมาไม่นานนักก็ถึงแก่กรรมและไม่ปรากฏว่าตวนกูดี-มาอุดดีนมีบุตรหรือไม่  ต่อมาปรากฏว่าบุตรชายของตวนกูอับดุลละ  โมกุมรัมซะ จำนวน ๑๐ คน ซึ่งต่างมารดากันได้แย่งชิงกันเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์ซึ่งเป็นผู้กำกับหัวเมืองฝ่ายตะวันตก  จึงได้พิจารณานำตัวตวนกูปะแงรัน และตวนกูปัศนู ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไทรบุรี (ตวนกูอับดุลละ โมกุมรัมซะ)     เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ณ กรุงเทพฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตวนกูปะแงรันซึ่งเป็นบุตรคนโตให้เป็นพระรัตนสงครามรามภักดีศรี    ศุลต่านมะหะหมัด รัตนราชบดินทร์ สุรินทวังษาพระยาไทรบุรี และทรงแต่งตั้งตวนกูปัศนู เป็นพระยาอภัยนุราช  ตำแหน่งรายามุดา (ผู้ว่าราชการเมือง)
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตน-โกสินทร์ มีข้าศึกยกตีเมืองถลางในปี พ.. ๒๓๕๒ พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ได้ส่งกองทัพจำนวน ๒,๕๐๐ คน ไปช่วยรบกับข้าศึกที่เมืองถลาง และในปี พ.. ๒๓๕๕ พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน)    ได้ยกกองทัพไปตีได้เมือง แป-ระ ทำให้เมืองดังกล่าวเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพฯ  ด้วยความดีความชอบทั้งสองครั้งนี้   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ    เลื่อนยศพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เป็นเจ้าพระยาไทรบุรี

ประวัติศาสตร์จังหวัดสงขลา


สงขลา มาจากคำว่า สิงขร แปลว่า ภูเขา ตามสภาพที่ตั้งเมืองซึ่งปรากฏ ป้อมกำแพง และคูเมือง บนภูเขา ค่ายม่วง  และทางตอนล่างบริเวณบ้านบนเมือง ตำบลหัวเขา ที่ได้ชื่อว่าเมืองสงขลานั้นมาจากคำว่า สิงขร+นคริน เดิมเป็นภาษาบาลี (มคธ) เมื่อเรียกชื่ออย่างไทยแล้ว เมืองสิงขร (สิงขะระ) เรียกควบเป็นสงขลา ชาวปอร์ตุเกสที่มาค้าขายสมัยอยุธยา เรียกว่า สิง-กอ-ลา (SINGOLA)
เมืองสงขลา  ปรากฏชื่อครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ขึ้นเสวยราชย์ กรุงศรีอยุธยา พ.. ๑๘๙๓ ว่าเป็นเมืองประเทศราชในจำนวน ๑๖ เมือง ที่ตั้งตัวเมืองในสมัยนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหัวเขา อำเภอเมืองสงขลา (บริเวณเขาค่ายม่วง)
เมื่อ พ.. ๒๑๗๓ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงค์ กับพวกทำการแย่งราชสมบัติ ปลดพระ
อาทิตวงศ์ จากราชบัลลังก์  แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง เป็นเหตุให้หัวเมืองต่าง ๆ แข็งเมือง เมืองสงขลาก็แข็งเมืองด้วย กรุงศรีอยุธยายกทัพมาปราบหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนถึง พ.. ๒๒๒๓ สมเด็จพระนารายณ์ ส่งกองทัพมาปราบเมืองสงขลาได้ และยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาตลอดมา
เมื่อ พ.. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าจึงเกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้นสงขลารวมอยู่ในก๊กเจ้านคร เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้  เมื่อ พ.. ๒๓๑๓ เจ้านครและเจ้าเมืองสงขลา หนีไปยังเมืองปัตตานี พระเจ้าตากสินเสด็จเมืองสงขลา ประทับอยู่ ๑ เดือนแล้ว  ทรงแต่งตั้งให้ชาวเมืองสงขลาคนหนึ่งชื่อโยม  เป็นพระสงขลา  ต่อมามีพระราชดำริ พระสงขลา(โยม)  หย่อนสมรรถภาพ    จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงอินทคีรีสมบัติ  (เหยี่ยง แซ่เฮา) นายอากร  รังนกเกาะสี่ เกาะห้า เป็นพระสงขลา เจ้าเมืองสงขลา (นายเหยี่ยง แซ่เฮา  เป็นต้นสกุล ณ สงขลา) ส่วนพระสงขลา (โยม) ให้เข้ารับราชการในกรุงธนบุรี
          ครั้น  .. ๒๓๗๔  ตนกูเดน   ซึ่งเป็นกบฎต่อไทยและหนีไปเกาะหมาก   (ปีนัง)   กับเจ้าพระยาไทรปะแงรัน ผู้เป็นบิดาได้คบคิดกับพวกเมืองไทรบุรี เมืองปัตตานี ยะหริ่ง ยะลา ให้เป็นกบฎยกทัพมาตีเมืองสงขลา   แต่เจ้าพระยาพระคลัง  (ดิส บุนนาค)    ยกทัพมาปราบพวกกบฎไม่คิดต่อสู้  ทัพตามลงไปจนถึงเมืองเประ     การปราบจึงสำเร็จ   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสงขลามาตั้งฝั่งตะวันออก คือ ตั้งเมืองในเขตเทศบาลปัจจุบันเมื่อ พ.. ๒๓๗๗
          ใน พ.. ๒๓๘๔  โปรดเกล้าฯ  ให้จัดแจงฝังหลักเมืองสงขลา    พระราชทานเทียนชัย
หลักชัยพฤกษ์ กับเครื่องไทยทาน  ออกมาให้พระยาสงขลาฝังหลักเมือง  พระยาสงขลาจัดทำโรงพิธีกลาง    และโรงพิธีสี่มุมเมืองกับโรงพิธีพราหมณ์ ในเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก ๑๒๐๔ เวลาเช้าโมง ๒ บาท  (วันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีขาล พ.. ๒๓๘๕ เวลา ๐๗.๑๐ นาฬิกา ) ปัจจุบันศาลเจ้าหลักเมืองอยู่ที่ถนนนางงาม

ประวัติศาสตร์จังหวัดสุราษฎร์ธานี


สุราษฎร์ธานีเป็นนามซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อ พ.. ๒๔๕๘ เนื่องจากการเรียกชื่อเมืองก่อนหน้านั้นยังซ้ำซ้อนและสับสนกันอยู่ ประกอบกับพระองค์ได้ทรงพิจารณาว่าประชาชนทั่วไปในเมืองนี้มีกิริยามารยาทเรียบร้อย และทรงทราบจากผู้ปกครองเมืองว่า ประชาชนในเมืองนี้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเคารพและยึดมั่นในพระพุทธศาสนา จึงได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองเดิม จากเมืองไชยา มาเป็นเมือง        สุราษฎร์ธานี
ก่อนที่จะกล่าวถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรจะทราบประวัติความเป็นมาของจังหวัดในอดีตเสียก่อนว่ามีประวัติความเป็นมาในแต่ละสมัยอย่างไร

สุราษฎร์ธานีในสมัยศรีวิชัย

ดินแดนส่วนที่เป็นด้ามขวานของไทย จนถึงแหลมมลายู ก่อนที่จะมาเป็นดินแดนภาคใต้ของไทยและประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐมาเลเซียทุกวันนี้ ในอดีตเคยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญ    รุ่งเรืองมาก่อน มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อ กันมาหลายยุคหลายสมัย บางครั้งก็เจริญรุ่งเรืองสูงสุด บางครั้งก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรอื่น เช่น ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรฟูนัน จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เมื่ออาณาจักรฟูนันซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ทางอิสานเสื่อมอำนาจลง บรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยทางภาคใต้ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรฟูนัน จึงได้ตั้งเมืองอิสระขึ้น ในระยะนี้กล่าวถึงชื่อประเทศใหม่ ในแหลมมลายู เช่น ประเทศครหิ ตั้งเมืองหลวงอยู่อ่าวบ้านดอน ตอนที่เป็นไชยาทุกวันนี้ อีกประเทศหนึ่งชื่อตามพรลิงค์หรือ ตามพรลิงเคศวร ตั้งเมืองหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อมากษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์องค์หนึ่งมีอานุภาพมาก ได้แผ่ขยายอิทธิพลมาถึงและรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยเหล่านี้เข้าไว้เป็นอาณาจักรหนึ่ง แผ่อาณาเขตขึ้นมาเกือบครึ่งค่อนแหลมมลายู คือ ตั้งแต่เขตเมืองไชยาลงไปมีชื่อว่า อาณาจักรศรีวิชัย
กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ ที่ปกครองอาณาจักรศรีวิชัยนี้ เล่ากันว่า สืบเชื้อสายมาจากปฐมกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรฟูนัน ซึ่งมีประวัติพิสดารตามที่ราชฑูตจีนที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับฟูนัน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ เขียนเล่าในจดหมายเหตุว่า แต่เดิมกษัตริย์ที่ปกครองฟูนัน เป็นผู้หญิง ทรงพระนามว่า พระนางหลิวเหยหรือ พระนางใบสน ต่อมามีชายคนหนึ่งชื่อโกณฑัญญะ มาจากดินแดนแห่งหนึ่งอาจจะเป็นอินเดีย แหลมมลายู หรือหมู่เกาะทางใต้ เกิดฝันไปว่าเทวดาประทานธนูให้และสั่งให้ลงเรือสำเภาออกทะเลไป จะได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ยังดินแดนแห่งหนึ่ง รุ่งเช้าโกณฑัญญะ ตื่นขึ้นจึงตรงไปยังเทวาลัย ก็ได้พบธนูสมดังความฝัน จึงลงเรือสำเภาจากอินเดียแล่นเรือเรื่อยมาจนถึงอาณาจักรฟูนัน พระนางใบสนทราบข่าวก็นำเรือและกำลังอาวุธออกมาต้านทานไม่ให้โกณฑัญญะและพรรคพวกที่ติด-ตามมาขึ้นจากเรือ โกณฑัญญะยิงธนูศักดิ์สิทธิ์ ไปตรึงเรือของพระนางใบสน ผู้คนชาวฟูนันล้มตายลงเป็นอันมาก พระนางใบสนจึงยอมอ่อนน้อมและยอมอภิเษกสมรสด้วย  โกณฑัญญะตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรฟูนัน

ประวัติศาสตร์จังหวัดตรัง


          คำว่า "ตรัง" มีความหมายสันนิษฐานได้ ทาง คือ
          . ตรัง ที่มาจากคำว่า "ตรังคปุระ" เป็นคำสันสกฤต แปลว่า "การวิ่งห้อของม้า หรือคลื่นเคลื่อนตัว" ชื่อเมือง ๑๒ นักษัตรนั้นคือชื่อเมืองป้อมปราการล้อมรอบเมืองนครศรีธรรมราช เมืองตรังค- ปุระเป็นเมืองที่มีฐานทัพเรือ จึงให้ใช้ตราม้า
          . ตรัง มาจากคำว่า "ตรังค์" แปลว่า "ลูกคลื่น" เพราะลักษณะพื้นที่ของเมืองตรังตอนเหนือเป็นเนินเล็กๆ สูงๆ ต่ำๆ คล้ายลูกคลื่นอยู่ทั่วไป
          . ตรัง มาจากคำว่า "ตรังเค" (TARANGUE) ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่า "รุ่งอรุณ" หรือ   "สว่างแล้ว" สันนิษฐานว่าคงมีชาวมลายูและชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซีย เดินทางมาค้าขายละแวกนี้ เมื่อเรือแล่นมาถึงปากอ่าวแม่น้ำตรัง เป็นเวลารุ่งอรุณพอดี คนที่โดยสารมาในเรืออาจจะเปล่งเสียงออกมาว่า "ตรังเค" สว่างแล้ว

ประวัติความเป็นมา

          จังหวัดตรังเท่าที่ทราบและปรากฏหลักฐานแน่ชัด เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  แต่ก็มีหลักฐานบางอย่างที่เชื่อได้ว่าจังหวัดตรัง เป็นชุมชนที่มีคนเคยอยู่มาก่อนหน้านั้น ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์ เป็นช่วงสมัยได้ ดังนี้
          . ชุมชนตรังในช่วงสมัยหินใหม่
          . ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย
          . เมืองตรังสมัยอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช
          . เมืองตรังสมัยกรุงศรีอยุธยา
          . เมืองตรังสมัยกรุงธนบุรี
          . เมืองตรังช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
          . เมืองตรังสมัยสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค)
          . เมืองตรังสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ระนอง)
          . เมืองตรังช่วงหลังพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ระนอง)

ชุมชนเมืองตรังในช่วงสมัยหินใหม่

จากการสำรวจหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง แสดงให้เห็นว่าชุมชนตรังได้มีมาแล้ว ในช่วงสมัยหินใหม่ เนื่องจากได้พบร่องรอยมนุษย์ในช่วงหินใหม่ กระจัดกระจายในทุกท้องที่ของจังหวัด เช่น พบภาชนะ หม้อสามขา และ ขวานหินขัด ที่แถบเขาสามบาตร ตำบลนาตาล่วง พบซากโครงกระดูกมนุษย์ที่ถ้ำเขาพระ อำเภอห้วยยอด การพบหม้อกุณฑี ลักษณะเดียวกับพบที่ อำเภอสทิง-พระ จังหวัดสงขลา และลูกปัดคล้ายคลึงกับพบที่ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ที่เขาโต๊ะแหนะ หาดเจ้าไหม อำเภอกันตัง สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า จังหวัดตรัง มีชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐๐๐ ปี

ประวัติศาสตร์จังหวัดยะลา


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา-สมัยธนบุรี

ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดยะลาในปัจจุบันนี้ แต่เดิมจะเป็นท้องที่บริเวณหนึ่งในเมืองปัตตานียังไม่ได้แยกออกมาเป็นเมือง ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงเรื่องราวเบื้องต้นที่เกี่ยวกับเมืองปัตตานี
เมืองปัตตานีมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยตลอดจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น โดย นายโทเม  ปิเรส (TOME  PIRES) ชาวโปรตุเกสผู้เข้ามาอยู่ในมะละกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ได้บันทึกว่า ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (.. ๑๙๑๓-๑๙๓๑) พระองค์ทรงได้ธิดาของมุขมนตรีแห่งปัตตานีคนหนึ่งเป็นพระสนม ในฐานะเมืองประเทศราช ปัตตานีมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายทุก ปี ซึ่งในข้อนี้ ลาลูแบร์ (LA LOUBERE) อัครราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งมากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (.. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ได้ยืนยันว่าปัตตานีต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองอย่างละต้น เข้ามาถวายพระมหากษัตริย์ไทยทุกสามปี ปัตตานีเป็นเมืองประเทศราชของไทยเรื่อยมาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน .. ๒๓๑๐ ปัตตานีจึงตั้งตนเป็นอิสระ
ในสมัยธนบุรี (.. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) ปัตตานีได้ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อไประยะหนึ่ง จนถึงปลายสมัยธนบุรีซึ่งเกิดความวุ่นวายภายใน  ปัตตานีจึงเป็นอิสระอีก

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (.. ๒๓๒๕-๒๓๕๒) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองปัตตานี โดยให้เมืองสงขลาเป็นผู้ควบคุมดูแลเมืองปัตตานี (แต่เดิมเมืองปัตตานีอยู่ในความดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช) นอกจากนี้ได้แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น เมือง คือ ปัตตานี ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา รามัน ระแงะ และหนองจิก จึงนับว่าเมืองยะลาได้แยกมาตั้งเป็นเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ใน .. ๒๓๓๔
เมืองยะลาเมื่อแยกออกจากเมืองปัตตานีแล้วมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ           ติดต่อกับเมืองหนองจิก
ทิศใต้               ตั้งแต่เขาปะวาหะมะ ไปทางทิศตะวันออก ถึงเขาปะฆะหลอ สะเตาะเหนือ บ้านจินแหร จนถึงคลองท่าสาป จดบ้านบันนังสตา
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับเมืองยะหริ่ง ตั้งแต่หมู่บ้านโหละเปาะยาหมิง มีสายน้ำยาวไปจดคลองท่าสาป
ทิศตะวันตก        ติดต่อเมืองไทรบุรี มีคลองบ้านบาโงย แขวงเมืองเทพา เป็นเขตขึ้นไปจนถึงบ้านยินงต่อไปจนถึงบ้านเหมาะเหลาะ


วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดพังงา



การกล่าวถึงประวัติจังหวัดพังงา จะหลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึงเรื่องราวประวัติของ "ตะกั่วป่า"      เสียก่อนไม่ได้ เนื่องจากปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ ยอมรับแล้วว่า "ตะกั่วป่า" ได้เคยเป็นบ้านเมือง   เป็นที่รู้จักกันดีไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แม้ขณะนี้จะมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งก็ตาม      
ส่วนจังหวัดพังงานั้นเพิ่งมาตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นเมื่อ พ..๒๓๕๒ ในรัชกาลที่ ๒ แห่ง      กรุงรัตนโกสินทร์ หรือเมื่อประมาณ ๑๗๖ ปีมานี้เอง
สมัยอาณาจักรศรีวิชัย
เดิมทีนั้นบนแหลมมลายูรวมทั้งส่วนบนที่เป็นของไทยด้วย ได้เป็นที่อยู่ของพวกพื้นเมืองเดิม อันได้แก่ พวก "เซมัง" และ "ซาไก" มาก่อน  ต่อมามีชนอีกพวกหนึ่งเรียกกันว่า "ชนพูดภาษามอญ - เขมร" อพยพแผ่ลงมาจากทางเหนือเข้ามายึดริมแม่น้ำตอนใกล้ ๆ ชายทะเลเป็นถิ่นฐานเรื่อยลงไปจน ถึงปลายแหลมมลายู ชนพวกนี้ส่วนหนึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน เป็นชนชาติมอญ อยู่ในแม่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นละว้าและปากแม่น้ำโขงเป็นชนเขมร  เฉพาะส่วนที่ลงมาอยู่บนแหลมมลายูนั้นกลายเป็น "พวกมลายูเดิม" แต่ไม่พูดภาษามลายู
ต่อมามีชนพวกพูดภาษามอญ - เขมร ได้อพยพใหญ่ลงมาตามแนวทางเดิมอีกคราวหนึ่ง ในครั้งนี้ชนพูดภาษามอญ - เขมร  ได้เจริญขึ้นมากแล้วได้ทำเรือแพข้ามไปอยู่บนเกาะสุมาตรา ชวาและบอร์เนียว และได้เข้ามาขับไล่เอาพวกมลายูเดิมที่ด้อยความเจริญกว่าให้เข้าไปอยู่ในป่าบ้าง หนีไปอยู่ตามชายทะเลห่างไกลบ้าง กลายเป็นพวก "จากุน" ไป และอยู่ตามชายฝั่งทะเลไทยเรียกว่า "ชาวเลหรือ "ชาวน้ำ" ภาษาราชการเรียกว่า "ชาวไทยใหม่"
ในสมัยใกล้เคียงกัน พวกชาวอินเดียที่มีอารยธรรมสูงได้เริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เนื่องจากชาวอินเดียเหล่านี้มีความฉลาดกว่า มีวัฒนธรรมสูงกว่า จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน ฯลฯ ให้แก่ชาวพื้นเมือง ในที่สุดชาวอินเดียก็ได้เข้าผสมกับชาวพื้นเมือง และมีอำนาจปกครองแหลมมลายูอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปี เมื่อเสื่อมอำนาจลงพวกเขมร  (เมืองละโว้) ลงมาชิงได้บ้านเมือง  แต่เขมรปกครองอยู่ได้ไม่นานชนชาติไทยได้เป็นใหญ่ในประเทศสยาม (ณ กรุงสุโขทัย) ก็ขยายอำนาจลงมา ได้แหลมมลายูตอนข้างเหนือไว้เป็นอาณาเขต ตั้งแต่
.. ๑๘๐๐ เศษเป็นต้นมา

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดปัตตานี

ปัตตานี หากจะอาศัยประวัติศาสตร์ของไทยเราเป็นที่อ้างอิงเพียงด้านเดียวจะเห็นได้ว่าปัตตานีมีเรื่องราวและบทบาทเพียงน้อยนิด เป็นเพียงหัวเมืองปักษ์ใต้ที่เป็นประเทศราชของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แต่สำหรับเรื่องราวของปัตตานีที่มีบันทึกอยู่ในจดหมายเหตุของจีนและประเทศอื่นๆ ซึ่งเคยติดต่อด้านการค้าการเดินเรือต่างถึงเมืองปัตตานีเนิ่นนานกว่าสมัยสุโขทัยมากนัก ปัตตานีคือปัจจุบัน "ลังกาสุกะ" คือ อดีตอันรุ่งเรือง
ที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะ ศาสตราจารย์ ปอล วิตลีย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแหลมมลายูได้ใช้บันทึกของผู้โดยสารเรือผ่านอาณาจักรนี้ซึ่งมีมากมายหลายเชื้อชาติ แต่ที่มากที่สุดและได้รายละเอียดมากที่สุดได้แก่ชาวจีน เพราะชาวจีนได้บันทึกมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นายปอล วิตลีย์ สรุปลงได้ว่าอาณาจักรลังกาสุกะตั้งอยู่ระหว่างเมืองกลันตันและเมืองสงขลา ความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับทั่วไปในวงการประวัติศาสตร์
จดหมายเหตุของจีนชื่อ เหลียง ซู ซึ่งเขียนขึ้นในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เรียกชื่อเมืองลังกา- สุกะว่า ลัง-ยาหรือ ลังยาชิวและกล่าวว่าอาณาจักรลังกาสุกะได้ตั้งมาก่อนหน้านั้นประมาณ ๔๐๐ ปี ซึ่งหมายความว่าได้ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๗ แล้วกล่าวด้วยว่า อาณาจักรนี้มีอาณาเขตจรดทั้งสองฝั่งทะเล คือด้านตะวันออกจรดฝั่งอ่าวไทยบริเวณเมืองปัตตานี ด้านตะวันตกจรดฝั่งอ่าวเบงกอลเหนือเมืองไทรบุรี ในประเด็นหลังนั้น ศาสตราจารย์ฮอลล์เห็นด้วยซ้ำกล่าวเพิ่มเติมว่า ก็เพราะอาณาจักรลังกาสุกะมีอำนาจปกครองคร่อมอยู่ทั้งสองฝั่งทะเลเช่นนี้เอง จึงได้ทำหน้าที่ควบคุมเส้นทางเดินข้ามแหลมมลายูแต่โบราณ
เหตุที่ชื่อเมืองหรืออาณาจักรของ ลังกาสุกะไปปรากฏในเอกสารของชาวต่างประเทศเป็นอันมากนั้น ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าเมืองลังกาสุกะต้องเป็นเมืองท่าสำคัญอยู่ใกล้ทะเล มีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอ
ถิ่นฐานและการโยกย้าย ตามตำนานพื้นเมืองของปัตตานีเล่าสืบกันมาว่า เมืองปัตตานีโบราณ หรือเมื่อครั้งยังเรียกว่า ลังกาสุกะนั้น ได้มีการโยกย้ายมาแล้ว ๓ ครั้ง
เดิมนั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปาโย หรือบาโย ซึ่งทุกวันนี้ได้แก่ บริเวณท้องที่ตำบลหน้าถ้ำ ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปัตตานี ในบริเวณนี้ได้พบซากโบราณสถาน โบราณวัตถุจำนวนมาก แต่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗ เป็นส่วนใหญ่
การเคลื่อนย้ายครั้งที่ ๑ ได้อพยพมาตั้งเมืองที่ บ้านตะมางันท้องที่ตำบลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส แต่ชื่อ ตะมางันปัจจุบันมีอยู่ที่เมืองยะรังเก่า อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้จดจำตำนานเกิดความไขว้เขวขึ้นก็ได้ อีกทั้งที่อำเภอรือเสาะก็ไม่พบโบราณสถาน หรือหลักฐานใดๆ ที่เก่าถึงสมัยลังกาสุกะ

ประวัติศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช


นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นที่  รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาไม่น้อยกว่า ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ว่านครศรีธรรมราชมีกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นอย่างน้อย

ชื่อของเมืองนครศรีธรรมราช

จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า นครศรี-    ธรรมราช" ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อ ตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมาและสำเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่านมาในระยะเวลาที่ต่างกัน  เช่น

ตมฺพลิงฺคมฺหรือ ตามฺพลิงฺคมฺ” (Tambalingam) หรือ กมลีหรือ ตมลีหรือ กะมะลิงหรือ ตะมะลิง

           เป็นภาษาบาลีที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหานิเทศ (คัมภีร์บาลี ติสþสเมตþเตยþยสุตþตนิทþเทศ) ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ - คัมภีร์นี้เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณกล่าวถึงการเดินทางของ     นักเผชิญโชค เพื่อแสวงหาโชคลาภและความร่ำรวยยังดินแดนต่าง อันห่างไกลจากอินเดีย คือบริเวณ  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ระบุเมืองท่าต่างๆ ในบริเวณนี้ไว้และในจำนวนนี้ได้มีชื่อเมืองท่าข้างต้น   อยู่ด้วย ดังความตอนหนึ่งดังนี้
. . เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์  ย่อมแล่นเรือไปในมหาสมุทร  ไปคุมพะ  (หรือติคุมพะ)  ไปตักโกละ  ไปตักกสิลา  ไปกาลมุข  ไปมรณปาร  ไปเวสุงคะ  ไปเวราบถ  ไปชวา  ไปกะมะลิง  (ตะมะลิง)  ไปวังกะ  (หรือวังคะ)  ไปเอฬวัททนะ  (หรือเวฬุพันธนะ)  ไปสุวัณณกูฏ  ไปสุวัณณภูมิ  ไปตัมพปัณณิ  ไปสุปปาระ  ไปภรุกะ  (หรือภารุกัจฉะ)  ไปสุรัทธะ  (หรือสุรัฏฐะ)  ไปอังคเณกะ  (หรือภังคโลก)  ไปคังคณะ  (หรือภังคณะ)  ไป ปรมคังคณะ  (หรือสรมตังคณะ)  ไปโยนะ  ไปปินะ  (หรือปรมโยนะ)  ไปอัลลสันทะ  (หรือวินกะ)  ไปมูลบท  ไปมรุกันดาร  ไปชัณณุบท  ไปอชบถ  ไปเมณฑบท  ไปสัง     กุบท  ไปฉัตตบท  ไปวังสบท  ไปสกุณบท  ไปมุสิกบท  ไปทริบถ  ไปเวตตาจาร . . .
ศาสตราจารย์ยอร์ช  เซเดส์  (Gorge Coedes)  นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า  นักปราชญ์ทางโบราณคดีลงความเห็นว่าชื่อเมืองท่า  กะมะลิง หรือ  ตะมะลิง  ข้างต้นนี้ตรงกับชื่อที่บันทึกหรือจดหมายเหตุจีนเรียกว่า  ตั้ง-มา-หลิ่ง  และในศิลาจารึกเรียกว่า  ตามพþรลิงค์  คือ  นครศรีธรรมราช

ประวัติศาสตร์จังหวัดนราธิวาส

                  ประวัติเมืองนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ดังนั้นการที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมาของเมือง
นราธิวาส จะต้องกล่าวถึงเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรีและเมืองระแงะ ซึ่งเป็นบริเวณหัวเมือง เป็นลำดับติดต่อกันไป
                  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้ เพื่อปราบปรามข้าศึกที่ยกเข้ามารุกรานพระราชอาณาเขตทางใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้วจึงได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองสงขลา แล้วได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นกับกรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อนให้มาอ่อนน้อมเหมือนดังเดิม
                  พระยาไทรบุรี พระยาตรังกานู ยอมอ่อนน้อมโดยดี แต่พระยาปัตตานีตั้งแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงได้รับสั่งให้ยกกองทัพลงไปตีเมืองปัตตานี เมื่อ .. ๒๓๓๒
                  เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ก็โปรดเกล้าพระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไป และตั้งให้เป็นเมืองตรี ขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยเป็นปกติสุขตลอดมา
                  ครั้นต่อมาเมื่อพระยาปัตตานี  (ขวัญซ้าย) ถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้าฯ ให้นายพ่าย    น้องชายของพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ขึ้นว่าราชการเป็นพระยาปัตตานีและแต่งตั้งให้นายยิ้มซ้าย บุตร
พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย)  เป็นหลวงสวัสดิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งที่บ้านยามู

ประวัติศาสตร์จังหวัดกระบี่

ดินแดนบริเวณจังหวัดกระบี่ในยุคโบราณ

เรื่องราวของดินแดนบริเวณจังหวัดกระบี่และดินแดนอื่นๆ ทั้งสองฟากฝั่งทะเลเป็นเรื่อง    ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จากการค้นพบเครื่องมือยุคหินเป็นจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ก็แสดงว่าถิ่นนี้เคยมีมนุษย์อาศัยกันมานานแล้วเมื่อหลายพันปีหรือหมื่นปี  เครื่องมือหินที่พบบนแหลมมลายูทั้งหมดปรากฏว่าเป็นสิ่งที่ทำด้วยน้ำมือของคนสมัยหินจริงๆ  ส่วนมากที่พบจะเป็นขวานหิน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ขวานฟ้า"
สุด  แสงวิเชียร  กล่าวว่า   "คนไทยมีความเชื่อว่าขวานฟ้าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ใช้รักษาโรคได้ เช่น พวกลมเพลมพัด ถ้าเอาขวานฟ้ามากดที่บวมจะทำให้ที่บวมยุบ  ใช้ฝนกับน้ำเป็นยากินแก้ปวดท้อง ชาวภาคเหนือเอาไว้ใส่ในยุ้งบอกว่าข้าวจะไม่พร่อง ถ้าเอาตากปนไว้กับข้าวเปลือกเชื่อว่าไก่ป่าจะไม่ลงมากินข้าว ชาวภาคใต้เชื่อว่าถ้าเอาขวานฟ้าแช่ในน้ำที่จะเอาไปรดวัวชน วัวจะชนะ ในภาคกลางแถวกาญจนบุรีชาวบ้านแช่ไว้ในโอ่งน้ำกินบอกว่าจะทำให้น้ำเย็นน่ากิน บางคนบอกว่าเอาไว้ป้องกัน  ฟ้าผ่า บางคนเอาผูกไว้ที่บั้นเอว หมอแผนโบราณใช้ไล่ผี โดยเอาไว้ใต้ที่นอนผู้ป่วย  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อว่าขวานหินขัดเป็นขวานของพระยาแถนที่อยู่บนฟ้า"
ในจังหวัดกระบี่มีพบทั่วไปทั้งอำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก อำเภอคลองท่อม  นอกจากนี้แล้วสิ่งที่น่าศึกษาอีกประการหนึ่ง คือ  ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ  เช่น  ที่ถ้ำผีหัวโต  ที่อำเภออ่าวลึก  ภาพเขียนสีในถ้ำไวกิ้งเกาะพีพี  อำเภอเมือง  ที่น่าสนใจคือ ภาพที่ถ้ำผีหัวโต  ซึ่งมีทั้งรูปคนที่มีเพียงเส้นที่ขีดเป็นแขนขา  และรูปมือที่ทาสีแล้วทาบลงไปบนพื้นผนัง บางภาพก็มีสภาพสมบูรณ์ทั้งภาพคน ภาพปลา ภาพนก รูปเขียนสีเหล่านี้นอกจากจะบอกให้เราทราบลักษณะศิลปในสมัยแรกเริ่มในประเทศไทยแล้ว เรายังจะทราบชีวิตความเป็นอยู่ การอพยพและอื่นๆ  อีกด้วย  เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างขวานฟ้ากับภาพเขียนสีบนผนังถ้ำน่าจะเป็นยุคสมัยเดียวกัน และเป็นที่เชื่อถือกันว่า มนุษย์ในสมัยยุคหินนั้นอาศัยริมทะเลซึ่งมีอาหารอุดมกว่าบนดอนที่ไกลทะเล

ประวัติศาสตร์จังหวัดชุมพร


ประวัติการตั้งเมือง
          คำว่า "จังหวัดชุมพร" เพิ่งเริ่มใช้ในปี ๒๔๕๙ โดยทางราชการได้เปลี่ยนนามท้องที่ที่เรียกว่า เมืองอันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลว่า "จังหวัด" ส่วนคำว่าเมืองให้ใช้สำหรับเรียกตำบลที่ประชาชนได้เคยเรียกว่าเมืองมาแล้วแต่เดิมอันเป็นเขตชุมชนเท่านั้น ในสมัยโบราณมีชื่อว่า "เมืองชุมพร" เมืองชุมพรเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง แต่จะตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน เพิ่มมาปรากฏตามตำนานพระ-ธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของหอสมุดแห่งชาติมีความตอนหนึ่งว่า เมื่อศักราชได้ ๑๐๙๘ ปี พระยาศรีธรรมาโศกราช ก็สร้างเมืองลงบนหาดทรายรายรอบเป็นเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสั่งให้ทำอิฐทำปูนก่อพระธาตุครั้งนั้น และยังมีพระพุทธสิหิงค์ล่องทะเลมาแต่เมืองลังกาถึงเกาะปีนัง และลอยมาถึงหาดทรายแก้วที่จะก่อพระธาตุนั้น ต่อมาพระยาศรีธรรมาโศกราชได้ขุดพบพระธาตุแล้วแบ่งให้พระยาศรี-ธรรมาโศกราชไปก่อพระเจดีย์ บรรจุพระบรมธาตุที่เหลือไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้วตั้งเมืองสิบสองนักษัตรตามปูมโหรขึ้นแก่เมืองนครศรีธรรมราช ให้ใช้ตรารูปสัตว์ประจำปีเป็นตราของเมืองนั้น คือ ปีชวดตั้งเมืองสายถือตราหนูหนึ่ง ปีฉลูเมืองตานีถือตราโคหนึ่ง ปีขาลเมืองกลันตันถือตราเสือหนึ่ง  ปีเถาะเมืองปาหังถือตรากระต่ายหนึ่ง ปีมะโรงเมืองไทรถือตรางูใหญ่หนึ่ง ปีมะเส็งเมืองพัทลุงถือตรางูเล็กหนึ่ง ปีมะเมียเมืองตรังถือตราม้าหนึ่ง ปีมะแมเมืองชุมพรถือตราแพะหนึ่ง ปีวอกเมืองปันทายสมอถือตาลิงหนึ่ง ปีระกาเมืองอุลาถือตราไก่หนึ่ง ปีจอเมืองตะกั่วป่าถือตราสุนัขหนึ่ง ปีกุนเมืองกระถือตราหมูหนึ่ง เข้ากัน ๑๒ เมือง มาช่วยทำอิฐปูนก่อพระธาตุขึ้นตามตำนานนี้เมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้นมีอำนาจมาก ปรากฏว่ามีเมืองชุมพรเป็นเมืองขึ้นอยู่เมืองหนึ่งตั้งแต่ปี .. ๑๐๙๘ เมืองชุมพรในสมัยนั้นปรากฏว่า เป็นเมืองด่านเพราะอยู่ระหว่างช่องแคบมลายู เป็นเมืองด่านหรือแคว้นเทพนครหรือแคว้นอู่ทอง ในสมัยต่อมาไม่มีหลักฐานที่อ้างอิงหรือกล่าวถึง เมืองชุมพรไว้เลย จึงมีผู้เข้าใจว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดอ่างทอง

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

อ่างทองเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่านถึง ๒ สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้คนจึงนิยมเข้าอยู่อาศัยทำมาหากิน ในสมัยโบราณก่อนกรุงศรี-อยุธยานับแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา เข้าใจว่ามีคนอาศัยอยู่ในท้องที่ของอ่างทองแล้วและสร้างเป็นเมืองขึ้นด้วยแต่คงจะไม่ใช่เมืองใหญ่โตหรือเมืองสำคัญนักก็ได้ หลักฐานที่เหลือให้เห็นในปัจจุบันที่ส่อแสดงว่าท้องที่ของอ่างทองเคยเป็นเมืองโบราณในสมัยทวารวาดีก็คือคูเมืองที่มีลำคูล้อมรอบที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอแสวงหา ในปัจจุบันอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางเหนือประมาณ ๔ กิโลเมตร คูเมืองที่บ้านคูเมืองซึ่ง นายบาส เชอลีเย นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้สำรวจพบและสันนิษฐานว่าเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ล่วงมาในสมัยกรุงสุโขทัยก็เข้าใจว่ามีคนอาศัยอยู่มากเช่นกัน หลักฐานที่น่าจะยืนยันได้ก็คือวัดร้างที่มีอยู่มากมายในท้องที่ของอ่างทอง มีหลายวัดแสดงว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยและจากการสังเกตลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญ ๆ หลายองค์พบว่ามีลักษณะการสร้างแบบสุโขทัยด้วย เช่น พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก อำเภอป่าโมก เป็นต้น นอกจากการสร้างวัดและศิลปะการสร้างพระพุทธรูปแล้ว     ลำน้ำโบราณซึ่งปัจจุบันได้ตื้นเขินกลายเป็นลำคลอง ลำห้วย หลายแห่ง โดยมีวัดร้างตั้งอยู่ริมน้ำเก่านี้มากมาย ก็สันนิษฐานว่าจะต้องมีมาเก่าแก่ถึงสมัยสุโขทัยอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญนั้นไม่มีหลักฐานที่ปรากฏชัด

สมัยกรุงศรีอยุธยา

เนื่องจากอ่างทองเป็นเขตติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา จึงมีเรื่องราวที่กล่าวถึงท้องที่ในอ่างทองหลายตอนด้วยกัน แต่สมัยอยุธยาตอนต้นนั้นยังไม่ปรากฏชื่อเมืองนี้ เข้าใจว่าจะเป็นเพียงชายเขตแขวงพระนครเท่านั้น แม้กระทั่งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีชื่อเมืองในท้องที่ของอ่างทองเลย หนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า เมื่อคราวพม่ายกทัพมาประชิดพระนครในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้น ได้มีการเกณฑ์ทัพเพื่อรักษาพระนครจากเมืองใกล้เคียง โดยกล่าวชื่อเมืองใกล้เคียงพระนครหลายเมือง  เช่น เมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองชัยนาท เมืองลพบุรี เมืองนครนายก เป็นต้น ไม่เคยกล่าวถึงเมืองอ่างทองหรือชื่อเมืองวิเศษชัยชาญอันเป็นชื่อเก่าของเมืองอ่างทองเลย เพียงแต่กล่าวไว้ตอนที่พม่ายกทัพเข้ามาว่า “…พม่าก็ยกตามเข้ามาทาง       ลำ สามโก้ ป่าโมก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแถวบางโผงเผง เข้ามาชานพระนครทางทุ่งลุมพลีข้างด้านเหนือลำสามโก้ปัจจุบันเป็นชื่อตำบลอยู่ในอำเภอสามโก้ ป่าโมกก็เป็นชื่อตำบลอยู่ในอำเภอป่าโมกเช่นกัน ส่วนบางโผงเผงนั้นอยู่ในท้องที่อำเภอป่าโมก พระราชพงศาวดารมิได้กล่าวว่าตำบลทั้งสามขึ้นกับเมืองใด สันนิษฐานว่าแต่ก่อนอาจจะรวมอยู่ในแขวงพระนครหลวง ยังไม่ยกฐานะเป็นเมือง เพราะอยู่ใกล้พระนครหลวงมาก

ประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                     จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นแหล่ง    ชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยมาหลายยุคหลายสมัย และเคยเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของราชอาณาจักรกรุง-       ศรีอยุธยานานถึง ๔๑๗ ปี (ระหว่าง พ.. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐) ก่อนหน้านั้นดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรโบราณที่นักวิชาการส่วนมากเรียกว่าอโยธยาตามลำดับ ถึงแม้ว่าเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.. ๒๓๑๐ ดินแดนนี้ก็ยังมีประชาชนอาศัยอยู่เรื่อยมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน  ดังน้น ขอกล่าวประวัติความเป็นมาเป็น ๔ ระยะคือ  ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา  สมัยกรุงศรีอยุธยา  สมัยธนบุรี  และสมัยรัตนโกสินทร์

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

                 บริเวณนี้อยู่ในอาณาจักรทวารวดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ ต่อมาในพุทธ-ศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอม โดยมีเมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นเมืองหน้าด่าน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็เป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม ในช่วงนี้ได้เกิดอาณา-จักรใหม่ๆ อีกหลายรัฐ เช่น สุโขทัย ลานนา และล้านช้าง และก็เกิดรัฐที่พัฒนาจากอาณาจักรเดิม เช่น อโยธยา  สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี)  และนครศรีธรรมราช  เป็นต้น

                 หากจะกำหนดเรียกดินแดนบริเวณภาคกลางของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ซึ่งตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอมว่า แค้วนละโว้ แล้ว ก็อาจกล่าวตามข้อเสนอของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งว่า แคว้นละโว้ (อโยธยา) พัฒนาขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองของแคว้นละโว้ (ทวารวดี)  เดิมดินแดนบริเวณนี้ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่าในปี .. ๑๕๘๗ พระเจ้าสายน้ำผึ้งได้พระราชทานพระเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก พระมเหสีซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีน ที่บางกะจะ  และทรงสถาปนา     บริเวณนั้นเป็นพระอาราม ให้ชื่อว่า วัดพระเจ้านางเชิง
                 นักวิชาการกลุ่มนี้ได้เสนออีกว่า ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ เมืองอโยธยาคงเป็นเมืองขึ้นของแคว้นละโว้ จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงมีการย้ายเมืองสำคัญมาอยู่แถวปากน้ำแม่เบี้ย ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และก็คงมีบทบาทแทนที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) อย่างไรก็ตามเมืองละโว้ (ลพบุรี) ก็ยังคงครองความเป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมอยู่จนกระทั่งต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดังจะเห็นได้จากการที่มีเจ้านายไทย พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนมังราย และพ่อขุนงำเมือง ขณะยังทรงพระเยาว์อยู่ได้เสด็จมาศึกษาเล่าเรียน ที่เขาสมอคอน  ในเมืองละโว้ (ลพบุรี)

ประวัติศาสตร์จังหวัดชัยนาท

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
เมืองชัยนาทเป็นเมืองโบราณ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ตรงแยกฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงที่ปากน้ำเมืองสรรค์ (ปากคลองแพรกศรีราชา-ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวอยู่ใต้ปากลำน้ำเก่า) สมัยเมื่อลำน้ำเจ้าพระยาไหลแยกเดินลงมาทางอำเภอสรรพยา และอินทร์บุรี (ในปัจจุบันเป็นลำน้ำใหม่แล้ว) บางตำนานได้กล่าวว่า "เมืองชัยนาท" น่าจะปรากฏนามในราวๆ ปี พ.. ๑๗๐๒ ว่า ขุนเสือฟ้า หรือ เจ้าคำฟ้า กษัตริย์เมืองเมา ได้ยกทัพมาทำสงครามกับเจ้าเมืองฟังคำแห่งอาณาจักรโยนก (ปัจจุบันเป็นอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา) และได้ชัยชนะหลังจากเมืองแตกแล้ว เจ้าเมืองฟังคำได้อพยพผู้คนลงมาอยู่ที่เมืองแปป (กำแพงเพชร เดิม) แล้วมาสร้างเมืองไตรตรึงค์ ที่ตำบลแพรกศรีราชา และหลังจากนั้นคงจะสร้าง "เมืองชัยนาทขึ้น เนื่องจากได้รบชัยชนะชนชาติท้องถิ่นเดิม"
บางท่านได้สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในสมัยรัชกาลพญาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.. ๑๘๖๐ - ๑๘๙๗ ซึ่งในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงปรากฏแต่ชื่อ "เมืองแพรก" ในหนังสือจามเทวีวงศ์ได้กล่าวถึงเมืองทวีสาขนคร ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะเป็น "เมืองแพรก" หรือ "เมืองสรรค์บุรี " อันเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ "เมืองชัยนาท" จนถึงกับจะเรียกว่าเป็นเมืองเดียวกันก็ได้ ส่วนหนังสือชินกาลมาลีนั้น มีข้อความกล่าวไว้ชัดเจนว่า  "ชยนาทปุรม     ทุพภิกภย ชาต" ซึ่งหมายถึง ทุพภิกขภัยได้บังเกิดมีในเมืองชัยนาทบุรี ซึ่งกล่าวว่าทางพระราชอาณาจักรอยุธยาได้ส่งอำมาตย์ หรือพระราชโอรสมีนามว่า "เดชะ" มาครอง "เมืองชัยนาท" ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) แห่งอาณาจักรกรุงสุโขทัย  ส่วนในตำนานพระพุทธสิหิงค์   ได้กล่าวถึงเมืองชัยนาทภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย รัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑  (ลิไท) นั้น ครั้งหนึ่งเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงออกอุบายนำข้าวมาขายที่เมืองชัยนาทแล้วยึดเมืองได้จึงโปรดให้อำมาตย์ชื่อ วัตติเดช (ขุนหลวงพะงั่ว) ปกครองเมืองชัยนาท ซึ่งตรงกันกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวว่า "เมืองชัยนาทบุรี" ปรากฏชื่อในราวๆ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิ-บดีที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับ พ.. ๑๘๙๗ เป็นที่พญาเลอไทสวรรคต กรุงสุโขทัยเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงเห็นโอกาสเหมาะ จึงโปรดให้ขุนหลวงพะงั่วซึ่งขณะนั้นครองเมืองสุพรรณบุรียกทัพขึ้นไปยึดครอง "เมืองชัยนาทบุรี" และอยู่รักษาเมืองไว้โดยขึ้นตรงต่อกรุงศรี-อยุธยา ต่อมากรุงสุโขทัยสงบลงแล้ว พญาลิไทขึ้นครองราชย์ ได้ส่งทูตมาเจรจาขอ "เมืองชัยนาทบุรี" คืนจากกรุงศรีอยุธยา โดยต่างฝ่ายจะเป็นอิสระ และมีความสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ในที่สุดกรุงศรี-อยุธยาก็ได้คืน "เมืองชัยนาทบุรี" ให้แก่กรุงสุโขทัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า ทางกรุงศรี-อยุธยาเกรงว่า ทางฝ่ายกรุงสุโขทัยจะชวนแคว้นกัมพุช (ลพบุรี) และอาณาจักรทางเหนือ ซึ่งเป็นมิตรกับกรุงสุโขทัยมาร่วมรบประกอบกับกรุงศรีอยุธยาเพิ่งจะสถาปนาได้ไม่นาน หากมีศึกกระหนาบข้างทั้งสองด้านจะสร้างปัญหาให้แก่กรุงศรีอยุธยาไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยายอมคืน "เมืองชัยนาทบุรี" ให้แก่กรุงสุโขทัยโดยดี เมื่อพระมหาธรรมราชา ที่ ๑ (ลิไท) ทรงได้   "เมืองชัยนาทบุรี " คืนแล้ว ทรงโปรดให้พระกนิษฐภคินี ทรงพระนามว่า พระสุธรรมกัญญา ซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระมหาเทวี ครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยแล้ว พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทรงอัญเชิญ พระสิหล (พระพุทธสิหิงค์) พร้อมทั้งเสด็จมาครองเมืองชัยนาทจนกระทั่งสวรรคต ในปี พ.. ๑๙๑๔