วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดสตูล


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล  ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยดังกล่าวยังไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบใกล้ฝั่งทะเล

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  สตูลเป็นเพียงตำบลซึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี  ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองไทรบุรีชื่อตวนกูอับดุลละ  โมกุมรัมซะ ถึงแก่กรรมน้องชายชื่อตนกูดีบาอุดดีน    ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมือง (รายามุดา) ได้เป็นเจ้าเมืองแทน  ต่อมาไม่นานนักก็ถึงแก่กรรมและไม่ปรากฏว่าตวนกูดี-มาอุดดีนมีบุตรหรือไม่  ต่อมาปรากฏว่าบุตรชายของตวนกูอับดุลละ  โมกุมรัมซะ จำนวน ๑๐ คน ซึ่งต่างมารดากันได้แย่งชิงกันเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์ซึ่งเป็นผู้กำกับหัวเมืองฝ่ายตะวันตก  จึงได้พิจารณานำตัวตวนกูปะแงรัน และตวนกูปัศนู ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไทรบุรี (ตวนกูอับดุลละ โมกุมรัมซะ)     เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ณ กรุงเทพฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตวนกูปะแงรันซึ่งเป็นบุตรคนโตให้เป็นพระรัตนสงครามรามภักดีศรี    ศุลต่านมะหะหมัด รัตนราชบดินทร์ สุรินทวังษาพระยาไทรบุรี และทรงแต่งตั้งตวนกูปัศนู เป็นพระยาอภัยนุราช  ตำแหน่งรายามุดา (ผู้ว่าราชการเมือง)
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตน-โกสินทร์ มีข้าศึกยกตีเมืองถลางในปี พ.. ๒๓๕๒ พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ได้ส่งกองทัพจำนวน ๒,๕๐๐ คน ไปช่วยรบกับข้าศึกที่เมืองถลาง และในปี พ.. ๒๓๕๕ พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน)    ได้ยกกองทัพไปตีได้เมือง แป-ระ ทำให้เมืองดังกล่าวเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพฯ  ด้วยความดีความชอบทั้งสองครั้งนี้   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ    เลื่อนยศพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เป็นเจ้าพระยาไทรบุรี

ประวัติศาสตร์จังหวัดสงขลา


สงขลา มาจากคำว่า สิงขร แปลว่า ภูเขา ตามสภาพที่ตั้งเมืองซึ่งปรากฏ ป้อมกำแพง และคูเมือง บนภูเขา ค่ายม่วง  และทางตอนล่างบริเวณบ้านบนเมือง ตำบลหัวเขา ที่ได้ชื่อว่าเมืองสงขลานั้นมาจากคำว่า สิงขร+นคริน เดิมเป็นภาษาบาลี (มคธ) เมื่อเรียกชื่ออย่างไทยแล้ว เมืองสิงขร (สิงขะระ) เรียกควบเป็นสงขลา ชาวปอร์ตุเกสที่มาค้าขายสมัยอยุธยา เรียกว่า สิง-กอ-ลา (SINGOLA)
เมืองสงขลา  ปรากฏชื่อครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ขึ้นเสวยราชย์ กรุงศรีอยุธยา พ.. ๑๘๙๓ ว่าเป็นเมืองประเทศราชในจำนวน ๑๖ เมือง ที่ตั้งตัวเมืองในสมัยนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหัวเขา อำเภอเมืองสงขลา (บริเวณเขาค่ายม่วง)
เมื่อ พ.. ๒๑๗๓ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงค์ กับพวกทำการแย่งราชสมบัติ ปลดพระ
อาทิตวงศ์ จากราชบัลลังก์  แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง เป็นเหตุให้หัวเมืองต่าง ๆ แข็งเมือง เมืองสงขลาก็แข็งเมืองด้วย กรุงศรีอยุธยายกทัพมาปราบหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนถึง พ.. ๒๒๒๓ สมเด็จพระนารายณ์ ส่งกองทัพมาปราบเมืองสงขลาได้ และยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาตลอดมา
เมื่อ พ.. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าจึงเกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้นสงขลารวมอยู่ในก๊กเจ้านคร เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้  เมื่อ พ.. ๒๓๑๓ เจ้านครและเจ้าเมืองสงขลา หนีไปยังเมืองปัตตานี พระเจ้าตากสินเสด็จเมืองสงขลา ประทับอยู่ ๑ เดือนแล้ว  ทรงแต่งตั้งให้ชาวเมืองสงขลาคนหนึ่งชื่อโยม  เป็นพระสงขลา  ต่อมามีพระราชดำริ พระสงขลา(โยม)  หย่อนสมรรถภาพ    จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงอินทคีรีสมบัติ  (เหยี่ยง แซ่เฮา) นายอากร  รังนกเกาะสี่ เกาะห้า เป็นพระสงขลา เจ้าเมืองสงขลา (นายเหยี่ยง แซ่เฮา  เป็นต้นสกุล ณ สงขลา) ส่วนพระสงขลา (โยม) ให้เข้ารับราชการในกรุงธนบุรี
          ครั้น  .. ๒๓๗๔  ตนกูเดน   ซึ่งเป็นกบฎต่อไทยและหนีไปเกาะหมาก   (ปีนัง)   กับเจ้าพระยาไทรปะแงรัน ผู้เป็นบิดาได้คบคิดกับพวกเมืองไทรบุรี เมืองปัตตานี ยะหริ่ง ยะลา ให้เป็นกบฎยกทัพมาตีเมืองสงขลา   แต่เจ้าพระยาพระคลัง  (ดิส บุนนาค)    ยกทัพมาปราบพวกกบฎไม่คิดต่อสู้  ทัพตามลงไปจนถึงเมืองเประ     การปราบจึงสำเร็จ   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสงขลามาตั้งฝั่งตะวันออก คือ ตั้งเมืองในเขตเทศบาลปัจจุบันเมื่อ พ.. ๒๓๗๗
          ใน พ.. ๒๓๘๔  โปรดเกล้าฯ  ให้จัดแจงฝังหลักเมืองสงขลา    พระราชทานเทียนชัย
หลักชัยพฤกษ์ กับเครื่องไทยทาน  ออกมาให้พระยาสงขลาฝังหลักเมือง  พระยาสงขลาจัดทำโรงพิธีกลาง    และโรงพิธีสี่มุมเมืองกับโรงพิธีพราหมณ์ ในเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก ๑๒๐๔ เวลาเช้าโมง ๒ บาท  (วันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีขาล พ.. ๒๓๘๕ เวลา ๐๗.๑๐ นาฬิกา ) ปัจจุบันศาลเจ้าหลักเมืองอยู่ที่ถนนนางงาม

ประวัติศาสตร์จังหวัดสุราษฎร์ธานี


สุราษฎร์ธานีเป็นนามซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อ พ.. ๒๔๕๘ เนื่องจากการเรียกชื่อเมืองก่อนหน้านั้นยังซ้ำซ้อนและสับสนกันอยู่ ประกอบกับพระองค์ได้ทรงพิจารณาว่าประชาชนทั่วไปในเมืองนี้มีกิริยามารยาทเรียบร้อย และทรงทราบจากผู้ปกครองเมืองว่า ประชาชนในเมืองนี้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเคารพและยึดมั่นในพระพุทธศาสนา จึงได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองเดิม จากเมืองไชยา มาเป็นเมือง        สุราษฎร์ธานี
ก่อนที่จะกล่าวถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรจะทราบประวัติความเป็นมาของจังหวัดในอดีตเสียก่อนว่ามีประวัติความเป็นมาในแต่ละสมัยอย่างไร

สุราษฎร์ธานีในสมัยศรีวิชัย

ดินแดนส่วนที่เป็นด้ามขวานของไทย จนถึงแหลมมลายู ก่อนที่จะมาเป็นดินแดนภาคใต้ของไทยและประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐมาเลเซียทุกวันนี้ ในอดีตเคยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญ    รุ่งเรืองมาก่อน มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อ กันมาหลายยุคหลายสมัย บางครั้งก็เจริญรุ่งเรืองสูงสุด บางครั้งก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรอื่น เช่น ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรฟูนัน จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เมื่ออาณาจักรฟูนันซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ทางอิสานเสื่อมอำนาจลง บรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยทางภาคใต้ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรฟูนัน จึงได้ตั้งเมืองอิสระขึ้น ในระยะนี้กล่าวถึงชื่อประเทศใหม่ ในแหลมมลายู เช่น ประเทศครหิ ตั้งเมืองหลวงอยู่อ่าวบ้านดอน ตอนที่เป็นไชยาทุกวันนี้ อีกประเทศหนึ่งชื่อตามพรลิงค์หรือ ตามพรลิงเคศวร ตั้งเมืองหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อมากษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์องค์หนึ่งมีอานุภาพมาก ได้แผ่ขยายอิทธิพลมาถึงและรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยเหล่านี้เข้าไว้เป็นอาณาจักรหนึ่ง แผ่อาณาเขตขึ้นมาเกือบครึ่งค่อนแหลมมลายู คือ ตั้งแต่เขตเมืองไชยาลงไปมีชื่อว่า อาณาจักรศรีวิชัย
กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ ที่ปกครองอาณาจักรศรีวิชัยนี้ เล่ากันว่า สืบเชื้อสายมาจากปฐมกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรฟูนัน ซึ่งมีประวัติพิสดารตามที่ราชฑูตจีนที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับฟูนัน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ เขียนเล่าในจดหมายเหตุว่า แต่เดิมกษัตริย์ที่ปกครองฟูนัน เป็นผู้หญิง ทรงพระนามว่า พระนางหลิวเหยหรือ พระนางใบสน ต่อมามีชายคนหนึ่งชื่อโกณฑัญญะ มาจากดินแดนแห่งหนึ่งอาจจะเป็นอินเดีย แหลมมลายู หรือหมู่เกาะทางใต้ เกิดฝันไปว่าเทวดาประทานธนูให้และสั่งให้ลงเรือสำเภาออกทะเลไป จะได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ยังดินแดนแห่งหนึ่ง รุ่งเช้าโกณฑัญญะ ตื่นขึ้นจึงตรงไปยังเทวาลัย ก็ได้พบธนูสมดังความฝัน จึงลงเรือสำเภาจากอินเดียแล่นเรือเรื่อยมาจนถึงอาณาจักรฟูนัน พระนางใบสนทราบข่าวก็นำเรือและกำลังอาวุธออกมาต้านทานไม่ให้โกณฑัญญะและพรรคพวกที่ติด-ตามมาขึ้นจากเรือ โกณฑัญญะยิงธนูศักดิ์สิทธิ์ ไปตรึงเรือของพระนางใบสน ผู้คนชาวฟูนันล้มตายลงเป็นอันมาก พระนางใบสนจึงยอมอ่อนน้อมและยอมอภิเษกสมรสด้วย  โกณฑัญญะตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรฟูนัน

ประวัติศาสตร์จังหวัดตรัง


          คำว่า "ตรัง" มีความหมายสันนิษฐานได้ ทาง คือ
          . ตรัง ที่มาจากคำว่า "ตรังคปุระ" เป็นคำสันสกฤต แปลว่า "การวิ่งห้อของม้า หรือคลื่นเคลื่อนตัว" ชื่อเมือง ๑๒ นักษัตรนั้นคือชื่อเมืองป้อมปราการล้อมรอบเมืองนครศรีธรรมราช เมืองตรังค- ปุระเป็นเมืองที่มีฐานทัพเรือ จึงให้ใช้ตราม้า
          . ตรัง มาจากคำว่า "ตรังค์" แปลว่า "ลูกคลื่น" เพราะลักษณะพื้นที่ของเมืองตรังตอนเหนือเป็นเนินเล็กๆ สูงๆ ต่ำๆ คล้ายลูกคลื่นอยู่ทั่วไป
          . ตรัง มาจากคำว่า "ตรังเค" (TARANGUE) ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่า "รุ่งอรุณ" หรือ   "สว่างแล้ว" สันนิษฐานว่าคงมีชาวมลายูและชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซีย เดินทางมาค้าขายละแวกนี้ เมื่อเรือแล่นมาถึงปากอ่าวแม่น้ำตรัง เป็นเวลารุ่งอรุณพอดี คนที่โดยสารมาในเรืออาจจะเปล่งเสียงออกมาว่า "ตรังเค" สว่างแล้ว

ประวัติความเป็นมา

          จังหวัดตรังเท่าที่ทราบและปรากฏหลักฐานแน่ชัด เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  แต่ก็มีหลักฐานบางอย่างที่เชื่อได้ว่าจังหวัดตรัง เป็นชุมชนที่มีคนเคยอยู่มาก่อนหน้านั้น ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์ เป็นช่วงสมัยได้ ดังนี้
          . ชุมชนตรังในช่วงสมัยหินใหม่
          . ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย
          . เมืองตรังสมัยอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช
          . เมืองตรังสมัยกรุงศรีอยุธยา
          . เมืองตรังสมัยกรุงธนบุรี
          . เมืองตรังช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
          . เมืองตรังสมัยสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค)
          . เมืองตรังสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ระนอง)
          . เมืองตรังช่วงหลังพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ระนอง)

ชุมชนเมืองตรังในช่วงสมัยหินใหม่

จากการสำรวจหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง แสดงให้เห็นว่าชุมชนตรังได้มีมาแล้ว ในช่วงสมัยหินใหม่ เนื่องจากได้พบร่องรอยมนุษย์ในช่วงหินใหม่ กระจัดกระจายในทุกท้องที่ของจังหวัด เช่น พบภาชนะ หม้อสามขา และ ขวานหินขัด ที่แถบเขาสามบาตร ตำบลนาตาล่วง พบซากโครงกระดูกมนุษย์ที่ถ้ำเขาพระ อำเภอห้วยยอด การพบหม้อกุณฑี ลักษณะเดียวกับพบที่ อำเภอสทิง-พระ จังหวัดสงขลา และลูกปัดคล้ายคลึงกับพบที่ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ที่เขาโต๊ะแหนะ หาดเจ้าไหม อำเภอกันตัง สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า จังหวัดตรัง มีชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐๐๐ ปี

ประวัติศาสตร์จังหวัดยะลา


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา-สมัยธนบุรี

ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดยะลาในปัจจุบันนี้ แต่เดิมจะเป็นท้องที่บริเวณหนึ่งในเมืองปัตตานียังไม่ได้แยกออกมาเป็นเมือง ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึงเรื่องราวเบื้องต้นที่เกี่ยวกับเมืองปัตตานี
เมืองปัตตานีมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยตลอดจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น โดย นายโทเม  ปิเรส (TOME  PIRES) ชาวโปรตุเกสผู้เข้ามาอยู่ในมะละกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ได้บันทึกว่า ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (.. ๑๙๑๓-๑๙๓๑) พระองค์ทรงได้ธิดาของมุขมนตรีแห่งปัตตานีคนหนึ่งเป็นพระสนม ในฐานะเมืองประเทศราช ปัตตานีมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายทุก ปี ซึ่งในข้อนี้ ลาลูแบร์ (LA LOUBERE) อัครราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งมากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (.. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ได้ยืนยันว่าปัตตานีต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองอย่างละต้น เข้ามาถวายพระมหากษัตริย์ไทยทุกสามปี ปัตตานีเป็นเมืองประเทศราชของไทยเรื่อยมาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน .. ๒๓๑๐ ปัตตานีจึงตั้งตนเป็นอิสระ
ในสมัยธนบุรี (.. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) ปัตตานีได้ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อไประยะหนึ่ง จนถึงปลายสมัยธนบุรีซึ่งเกิดความวุ่นวายภายใน  ปัตตานีจึงเป็นอิสระอีก

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (.. ๒๓๒๕-๒๓๕๒) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองปัตตานี โดยให้เมืองสงขลาเป็นผู้ควบคุมดูแลเมืองปัตตานี (แต่เดิมเมืองปัตตานีอยู่ในความดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช) นอกจากนี้ได้แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น เมือง คือ ปัตตานี ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา รามัน ระแงะ และหนองจิก จึงนับว่าเมืองยะลาได้แยกมาตั้งเป็นเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ใน .. ๒๓๓๔
เมืองยะลาเมื่อแยกออกจากเมืองปัตตานีแล้วมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ           ติดต่อกับเมืองหนองจิก
ทิศใต้               ตั้งแต่เขาปะวาหะมะ ไปทางทิศตะวันออก ถึงเขาปะฆะหลอ สะเตาะเหนือ บ้านจินแหร จนถึงคลองท่าสาป จดบ้านบันนังสตา
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับเมืองยะหริ่ง ตั้งแต่หมู่บ้านโหละเปาะยาหมิง มีสายน้ำยาวไปจดคลองท่าสาป
ทิศตะวันตก        ติดต่อเมืองไทรบุรี มีคลองบ้านบาโงย แขวงเมืองเทพา เป็นเขตขึ้นไปจนถึงบ้านยินงต่อไปจนถึงบ้านเหมาะเหลาะ


วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดพังงา



การกล่าวถึงประวัติจังหวัดพังงา จะหลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึงเรื่องราวประวัติของ "ตะกั่วป่า"      เสียก่อนไม่ได้ เนื่องจากปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ ยอมรับแล้วว่า "ตะกั่วป่า" ได้เคยเป็นบ้านเมือง   เป็นที่รู้จักกันดีไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แม้ขณะนี้จะมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งก็ตาม      
ส่วนจังหวัดพังงานั้นเพิ่งมาตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นเมื่อ พ..๒๓๕๒ ในรัชกาลที่ ๒ แห่ง      กรุงรัตนโกสินทร์ หรือเมื่อประมาณ ๑๗๖ ปีมานี้เอง
สมัยอาณาจักรศรีวิชัย
เดิมทีนั้นบนแหลมมลายูรวมทั้งส่วนบนที่เป็นของไทยด้วย ได้เป็นที่อยู่ของพวกพื้นเมืองเดิม อันได้แก่ พวก "เซมัง" และ "ซาไก" มาก่อน  ต่อมามีชนอีกพวกหนึ่งเรียกกันว่า "ชนพูดภาษามอญ - เขมร" อพยพแผ่ลงมาจากทางเหนือเข้ามายึดริมแม่น้ำตอนใกล้ ๆ ชายทะเลเป็นถิ่นฐานเรื่อยลงไปจน ถึงปลายแหลมมลายู ชนพวกนี้ส่วนหนึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน เป็นชนชาติมอญ อยู่ในแม่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นละว้าและปากแม่น้ำโขงเป็นชนเขมร  เฉพาะส่วนที่ลงมาอยู่บนแหลมมลายูนั้นกลายเป็น "พวกมลายูเดิม" แต่ไม่พูดภาษามลายู
ต่อมามีชนพวกพูดภาษามอญ - เขมร ได้อพยพใหญ่ลงมาตามแนวทางเดิมอีกคราวหนึ่ง ในครั้งนี้ชนพูดภาษามอญ - เขมร  ได้เจริญขึ้นมากแล้วได้ทำเรือแพข้ามไปอยู่บนเกาะสุมาตรา ชวาและบอร์เนียว และได้เข้ามาขับไล่เอาพวกมลายูเดิมที่ด้อยความเจริญกว่าให้เข้าไปอยู่ในป่าบ้าง หนีไปอยู่ตามชายทะเลห่างไกลบ้าง กลายเป็นพวก "จากุน" ไป และอยู่ตามชายฝั่งทะเลไทยเรียกว่า "ชาวเลหรือ "ชาวน้ำ" ภาษาราชการเรียกว่า "ชาวไทยใหม่"
ในสมัยใกล้เคียงกัน พวกชาวอินเดียที่มีอารยธรรมสูงได้เริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เนื่องจากชาวอินเดียเหล่านี้มีความฉลาดกว่า มีวัฒนธรรมสูงกว่า จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน ฯลฯ ให้แก่ชาวพื้นเมือง ในที่สุดชาวอินเดียก็ได้เข้าผสมกับชาวพื้นเมือง และมีอำนาจปกครองแหลมมลายูอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปี เมื่อเสื่อมอำนาจลงพวกเขมร  (เมืองละโว้) ลงมาชิงได้บ้านเมือง  แต่เขมรปกครองอยู่ได้ไม่นานชนชาติไทยได้เป็นใหญ่ในประเทศสยาม (ณ กรุงสุโขทัย) ก็ขยายอำนาจลงมา ได้แหลมมลายูตอนข้างเหนือไว้เป็นอาณาเขต ตั้งแต่
.. ๑๘๐๐ เศษเป็นต้นมา

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดปัตตานี

ปัตตานี หากจะอาศัยประวัติศาสตร์ของไทยเราเป็นที่อ้างอิงเพียงด้านเดียวจะเห็นได้ว่าปัตตานีมีเรื่องราวและบทบาทเพียงน้อยนิด เป็นเพียงหัวเมืองปักษ์ใต้ที่เป็นประเทศราชของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แต่สำหรับเรื่องราวของปัตตานีที่มีบันทึกอยู่ในจดหมายเหตุของจีนและประเทศอื่นๆ ซึ่งเคยติดต่อด้านการค้าการเดินเรือต่างถึงเมืองปัตตานีเนิ่นนานกว่าสมัยสุโขทัยมากนัก ปัตตานีคือปัจจุบัน "ลังกาสุกะ" คือ อดีตอันรุ่งเรือง
ที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะ ศาสตราจารย์ ปอล วิตลีย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแหลมมลายูได้ใช้บันทึกของผู้โดยสารเรือผ่านอาณาจักรนี้ซึ่งมีมากมายหลายเชื้อชาติ แต่ที่มากที่สุดและได้รายละเอียดมากที่สุดได้แก่ชาวจีน เพราะชาวจีนได้บันทึกมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นายปอล วิตลีย์ สรุปลงได้ว่าอาณาจักรลังกาสุกะตั้งอยู่ระหว่างเมืองกลันตันและเมืองสงขลา ความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับทั่วไปในวงการประวัติศาสตร์
จดหมายเหตุของจีนชื่อ เหลียง ซู ซึ่งเขียนขึ้นในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เรียกชื่อเมืองลังกา- สุกะว่า ลัง-ยาหรือ ลังยาชิวและกล่าวว่าอาณาจักรลังกาสุกะได้ตั้งมาก่อนหน้านั้นประมาณ ๔๐๐ ปี ซึ่งหมายความว่าได้ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๗ แล้วกล่าวด้วยว่า อาณาจักรนี้มีอาณาเขตจรดทั้งสองฝั่งทะเล คือด้านตะวันออกจรดฝั่งอ่าวไทยบริเวณเมืองปัตตานี ด้านตะวันตกจรดฝั่งอ่าวเบงกอลเหนือเมืองไทรบุรี ในประเด็นหลังนั้น ศาสตราจารย์ฮอลล์เห็นด้วยซ้ำกล่าวเพิ่มเติมว่า ก็เพราะอาณาจักรลังกาสุกะมีอำนาจปกครองคร่อมอยู่ทั้งสองฝั่งทะเลเช่นนี้เอง จึงได้ทำหน้าที่ควบคุมเส้นทางเดินข้ามแหลมมลายูแต่โบราณ
เหตุที่ชื่อเมืองหรืออาณาจักรของ ลังกาสุกะไปปรากฏในเอกสารของชาวต่างประเทศเป็นอันมากนั้น ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าเมืองลังกาสุกะต้องเป็นเมืองท่าสำคัญอยู่ใกล้ทะเล มีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอ
ถิ่นฐานและการโยกย้าย ตามตำนานพื้นเมืองของปัตตานีเล่าสืบกันมาว่า เมืองปัตตานีโบราณ หรือเมื่อครั้งยังเรียกว่า ลังกาสุกะนั้น ได้มีการโยกย้ายมาแล้ว ๓ ครั้ง
เดิมนั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปาโย หรือบาโย ซึ่งทุกวันนี้ได้แก่ บริเวณท้องที่ตำบลหน้าถ้ำ ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปัตตานี ในบริเวณนี้ได้พบซากโบราณสถาน โบราณวัตถุจำนวนมาก แต่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗ เป็นส่วนใหญ่
การเคลื่อนย้ายครั้งที่ ๑ ได้อพยพมาตั้งเมืองที่ บ้านตะมางันท้องที่ตำบลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส แต่ชื่อ ตะมางันปัจจุบันมีอยู่ที่เมืองยะรังเก่า อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้จดจำตำนานเกิดความไขว้เขวขึ้นก็ได้ อีกทั้งที่อำเภอรือเสาะก็ไม่พบโบราณสถาน หรือหลักฐานใดๆ ที่เก่าถึงสมัยลังกาสุกะ