วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดตรัง


          คำว่า "ตรัง" มีความหมายสันนิษฐานได้ ทาง คือ
          . ตรัง ที่มาจากคำว่า "ตรังคปุระ" เป็นคำสันสกฤต แปลว่า "การวิ่งห้อของม้า หรือคลื่นเคลื่อนตัว" ชื่อเมือง ๑๒ นักษัตรนั้นคือชื่อเมืองป้อมปราการล้อมรอบเมืองนครศรีธรรมราช เมืองตรังค- ปุระเป็นเมืองที่มีฐานทัพเรือ จึงให้ใช้ตราม้า
          . ตรัง มาจากคำว่า "ตรังค์" แปลว่า "ลูกคลื่น" เพราะลักษณะพื้นที่ของเมืองตรังตอนเหนือเป็นเนินเล็กๆ สูงๆ ต่ำๆ คล้ายลูกคลื่นอยู่ทั่วไป
          . ตรัง มาจากคำว่า "ตรังเค" (TARANGUE) ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่า "รุ่งอรุณ" หรือ   "สว่างแล้ว" สันนิษฐานว่าคงมีชาวมลายูและชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซีย เดินทางมาค้าขายละแวกนี้ เมื่อเรือแล่นมาถึงปากอ่าวแม่น้ำตรัง เป็นเวลารุ่งอรุณพอดี คนที่โดยสารมาในเรืออาจจะเปล่งเสียงออกมาว่า "ตรังเค" สว่างแล้ว

ประวัติความเป็นมา

          จังหวัดตรังเท่าที่ทราบและปรากฏหลักฐานแน่ชัด เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  แต่ก็มีหลักฐานบางอย่างที่เชื่อได้ว่าจังหวัดตรัง เป็นชุมชนที่มีคนเคยอยู่มาก่อนหน้านั้น ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์ เป็นช่วงสมัยได้ ดังนี้
          . ชุมชนตรังในช่วงสมัยหินใหม่
          . ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย
          . เมืองตรังสมัยอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช
          . เมืองตรังสมัยกรุงศรีอยุธยา
          . เมืองตรังสมัยกรุงธนบุรี
          . เมืองตรังช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
          . เมืองตรังสมัยสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค)
          . เมืองตรังสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ระนอง)
          . เมืองตรังช่วงหลังพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ระนอง)

ชุมชนเมืองตรังในช่วงสมัยหินใหม่

จากการสำรวจหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง แสดงให้เห็นว่าชุมชนตรังได้มีมาแล้ว ในช่วงสมัยหินใหม่ เนื่องจากได้พบร่องรอยมนุษย์ในช่วงหินใหม่ กระจัดกระจายในทุกท้องที่ของจังหวัด เช่น พบภาชนะ หม้อสามขา และ ขวานหินขัด ที่แถบเขาสามบาตร ตำบลนาตาล่วง พบซากโครงกระดูกมนุษย์ที่ถ้ำเขาพระ อำเภอห้วยยอด การพบหม้อกุณฑี ลักษณะเดียวกับพบที่ อำเภอสทิง-พระ จังหวัดสงขลา และลูกปัดคล้ายคลึงกับพบที่ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ที่เขาโต๊ะแหนะ หาดเจ้าไหม อำเภอกันตัง สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า จังหวัดตรัง มีชุมชนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐๐๐ ปี

ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

        เมืองตะโกลา
                ในจดหมายเหตุของปโตเลมี ที่ได้บันทึกตามคำบอกเล่าของนักเดินเรือชาวกรีกชื่ออเล็กซานเดอร์ เดินทางเข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษที่ กล่าวถึงเมือง "ตะโกลา" ไว้ว่าเป็นเมืองท่าของสุวรรณภูมิ หรือไครเสาเซอร์โสเนโสส และเมือง "ตะโกลา" ยังปรากฏอยู่ในหนังสือมิลินท-ปัญญา เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ เรียกเมืองนี้ว่า ตกโกล นอกจากนี้ จารึกของพวกตนโจร (พวกทมิฬ ที่อยู่ทางใต้ของอินเดีย) ในสมัยพระเจ้าราเชนทรที่ เป็นกษัตริย์ของโจฬะ (ประมาณ ปี .. ๑๕๕๕-๑๕๘๕) ได้กล่าวถึงเมือง ตไลตตกโกล
          นักโบราณคดีต่างๆ มีความเห็นว่าเมืองตะโกลา, ตกโกล และ ตไลตตกโกล คือ เมืองเดียวกัน
          เมืองตะโกลาที่กล่าวข้างต้น น่าจะเป็นท้องที่บริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในปัจจุบัน โดยมีหลักฐานที่สนับสนุนในเรื่องนี้คือ
          ) ข้อเขียนของเลอเมย์ผู้เขียนวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์เขียนถึง ตะโกลาไว้ดังนี้.....
สถานที่แห่งนี้อาจหมายถึงเมืองตรัง เพราะท้องที่เมืองตรังเขตอำเภอปะเหลียน และอำเภอกันตัง มีอาณาเขตตกทะเลหน้านอกในมหาสมุทรอินเดีย เป็นที่จอดเรือได้ดี
          ) จดหมายเหตุของปโตเลมี เขียนถึงตะโกลาไว้ดังนี้ เมื่อพ้นประเทศอาจิราเลียบฝั่งลงไปเรื่อยๆ ถึงแหลมเบซิงงาในอ่าวซาราแบก (เขตจังหวัดพังงาปัจจุบัน) เมื่อพ้นจากนั้นก็เข้าเขตที่อเล็ก-ซานเดอร์นักเดินเรือชาวกรีกเรียกว่า เมืองทองแล้วก็จะถึงเมืองตะโกลา.....ใต้เมืองพังงาลงมาที่เป็นเมืองท่าสำคัญเห็นจะมีแต่เมืองตรังเท่านั้น ที่เป็นเมืองท่าเรือ
          ) ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ การเดินเรือในเขตมรสุม ถ้าจะเดินทางจากลังกา หรืออินเดียตอนใต้ มายังสุวรรณภูมิ เมื่อตั้งหางเสือของเรือแล้วแล่นตัดตรงมา อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะนำเรือเข้าฝั่งสุวรรณภูมิบริเวณเส้นละติจูดที่ องศาเหนือ ซึ่งจะตรงกับจังหวัดตรังพอดี หาก "ตะโกลา" เป็นเมืองท่าของสุวรรณภูมิ (ตามจดหมายเหตุของปตาเลมี) "ตะโกลา" ก็คือชุมชนในเขตเมืองตรัง นั้นเอง
          ) ตามลักษณะภูมิศาสตร์ กล่าวถึง เส้นทางการติดต่อค้าขายข้ามแหลมทองระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก นั้น จะมีการขนถ่ายสินค้า จากเมืองตะโกลาไปยังฝั่งทะเลทางอ่าวไทย
เส้นทางนี้หากจะพิจารณาว่าเป็นเส้นทางจากตะกั่วป่า ไปยังสุราษฎร์ธานี ก็คงไม่ใช้เพราะเส้นทางจากตะกั่วป่าไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้องข้ามเขาสก จึงเป็นภูเขาสูงเป็นพันฟุต "ทางข้ามเขาสกนั้น ไม่ใช้เส้นทางขนถ่ายสินค้าข้ามปลายแหลมทอง แต่เป็นเส้นทางลัดข้ามแดนเท่านั้น"
          เมื่อตะโกลา เป็นเมืองยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย หากเชื่อว่าชุมชนในเขตเมืองตรัง คือ เมืองตะโกลาก็จะสรุปได้ว่าเมืองตรังมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย
          สมัยศรีวิชัย และตามพรลิงค์ตอนปลาย
ชุมชนตรังได้มีแล้วในสมัยศรีวิชัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ จากหลักฐานปรากฏได้พบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัย ในท้องที่ของจังหวัดตรัง เช่น พบพระพิมพ์ดินดิบ อักษรจารึกเป็นภาษา  เทวนาศรี เยธมมา รูปพระโพธิสัตว์ ที่ชุมชนแถบวัดเขาปินะ วัดหูแกง วัดคีรีวิหาร อำเภอห้วยยอด

ยุคอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช

          เมืองตรังช่วงยุคอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชได้กล่าวไว้ว่า       "พญาโคสีหราช ผู้ครองเมืองนครบุรีได้พระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ต่อมาท้าวอังกุราชผู้ครองนครจันบุรี มีพระประสงค์ที่จะได้พระทันตธาตุ จึงยกกองทัพมาแย่งชิง พญาโคสีหราชแต่งทัพออกสู้ และสั่งพระราชโอรสและพระราชธิดาว่าถ้าพระองค์สิ้นพระชนม์กลางศึก ให้นำพระทันตธาตุหนีไปเมืองลังกาให้จงได้ พระธนกุมารและนางเหมมาลาซึ่งเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อทราบข่าวว่าพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ จึงนำพระทันตธาตุลงสำเภาหนีแต่สำเภาอัปปางกลางทาง พระธนกุมารและนางเหมมาลาขึ้นบกได้ บุกป่าไปถึงหาดทรายแก้วและฝังพระทันตธาตุไว้ พระมหาเถรพรหมเทพทราบเข้าก็มานมัสการไต่ถามพระราชโอรสและพระราชธิดา ก็ได้รับทราบความตั้งใจและรับปากว่า ถ้ามีเหตุร้ายจะช่วยเหลือพร้อมกับทำนายว่า พระยาศรีธรรมาโศกราชจะมาตั้งเมืองที่หาดทรายแก้ว พระราชโอรสและพระราชธิดาจึงเดินทางต่อไปถึงเมืองตรัง โดยนำพระทันตธาตุไปด้วยและเมื่อถึงเมืองตรังได้ลงสำเภาไปยังลังกา"
          ตามจารึกที่วัดเสมาเมือง หลักที่ ๒๓ ได้กล่าวไว้ว่า.....เมื่อพระยาศรีธรรมาโศกราชสร้างเมืองนครศรีธรรมราชที่หาดทรายแก้ว ในปี .. ๑๐๙๘ นั้น เมืองนครยังมีเมืองขึ้นอีก ๑๒ เมือง เรียกว่าเมือง ๑๒ นักษัตร ซึ่งกำหนดตราประจำเมืองไว้ดังนี้ ๑๐
          ตราชวด เมืองสายบุรี
          ตราฉลู เมืองปัตตานี
          ตราขาล เมืองกลันตัน
          ตราเถาะ เมืองปาหัง
          ตรามะโรง เมืองไทรบุรี
          ตรามะเส็ง เมืองพัทลุง
          ตรามะเมีย เมืองตรัง
          ตรามะแม เมืองชุมพร
          ตราวอก เมืองบัณทายสมอ
          ๑๐. ตราระกา เมืองสระอุเลา
          ๑๑. ตราจอ เมืองตะกั่วป่า
          ๑๒. ตรากุน เมืองกระบุรี
          จากตำนานและจารึกดังกล่าวแสดงว่า เมืองตรังเป็นชุมชนเมืองมาตั้งแต่ก่อนตั้งอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช โดยเฉพาะในช่วงอาณาจักรศรีธรรมาโศกราชนั้น อาจจะเรียกว่าเป็นเมืองของรัฐอิสระในทางใต้

ชุมชนเมืองตรังสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

          ในสมัยพระเจ้าอู่ทองครองราชย์กรุงศรีอยุธยา เมืองตรังยังเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรนครศรีธรรมราชโศกราช พระเจ้าจันทรภานุแห่งราชวงศ์ปทุมวงค์ ของอาณาจักรศรีธรรมาโศกราช และพระเจ้าอู่ทอง แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รบพุ่งกันเพื่อแย่งชิงซึ่งความเป็นใหญ่ในเผ่าไทยเหนือ กลาง และใต้
จนกระทั่งได้มีการหย่าศึกกันที่บางสะพาน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
          ครั้นในสมัยของพระบรมไตรโลกนาถ เมืองนครศรีธรรมาโศกราช เป็นเมืองขึ้นของกรุงศรี-อยุธยา ในฐานะหัวเมืองเอกฝ่ายใต้ หลักฐานตามที่ปรากฏชัดคือการรวมไทยของอยุธยา ในทำเนียบศักดินาของพระธรรมนูญปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ เมืองตรังจึงต้องรวมเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาด้วย เมืองตรังเป็นเมืองท่าของเมืองนครศรีธรรมราชท่าฝั่งตะวันตกคู่กับเมืองท่าทองเป็นเมืองฝั่งตะวันออก
          ในช่วงนี้ ผู้สำเร็จราชการปอร์ตุเกสที่อินเดีย คือ อัลฟองโสเดออัลบูร์เคอร์ก ได้ยกกองทัพมาตีเมืองมะละกา ในสมัยที่สุลต่านมูรซับฟาร์ปกครอง ต่อมาเมื่อรู้ว่าเป็นเมืองขึ้นของไทย (.. ๒๐๕๔)
ก็เลยส่งอาซเวโด เดินทางจากมะลากามาขึ้นบกที่เมืองตรังและเดินทางต่อด้วยม้าและเกวียนเข้าไปนครศรีธรรมราชแล้วลงเรือไปกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำสาส์นไปขอโทษไทยพร้อมกับถวายปืนไฟ ๓๐๐ กระบอก๑๑
          ในช่วงสมัยตอนปลายกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานอ้างถึงเมืองตรังไว้ดังนี้๑๒  เมื่อครั้งกรุงเก่าในแผ่นดินเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสวยราชย์ให้ พระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช หลวงสิทธิ นายเวรมหาดเล็ก (หนู) เป็นปลัดเมืองภายหลังพระยานครฯ ถูกอุทธรณ์ต้องกลับไปอยู่กรุงเทพฯ (หมายถึงกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาหรือกรุงศรีอยุธยา) ถูกถอดจากเจ้าเมือง เวลากรุงเสียแก่พม่าหามีเจ้าเมืองไม่ มีแต่พระปลัดเป็นผู้รักษาราชการเมือง จึงตั้งตัวเป็นเจ้านครฯ เมืองชุมพร ปะทิว หลังสวน กระ ระนอง ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง พังงา พัทลุง สงขลา ตานี หนองจิก เทพา ไทร ปะลิศ สตูล ภูเก็ต รวมทั้งเมือง ตรัง กระบี่ และเมืองท่าทอง มาขึ้นกับเจ้านคร (หนู) ตั้งเป็นชุมนุมนครศรีธรรมราชไม่ขึ้นกับกรุงเทพฯ

เมืองตรังสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

          เมื่อกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงอำนาจของเมืองนครศรีธรรมราชก็ถูกลดลงกว่าเดิม ทางราชธานีได้มอบหมายให้เจ้านครศรีฯ (หนู) ปกครองแต่เพียงบริเวณหัวเมืองเท่านั้น เพราะได้โปรดเกล้ายกเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราชเมืองอื่นๆ คือ ไชยา พัทลุง ถลาง ชุมพร มาขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรีในปี .. ๒๓๑๙๑๓  และให้แยกเมืองสงขลาออกจากเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ในปี .. ๒๓๒๐ หัวเมืองนครศรีธรรมราชในครั้งนั้น จึงมีแต่เมืองตรัง และเมืองท่าทอง๑๔ ซึ่งเป็นเมืองท่าฝั่งทะเลทางตะวันตกและชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น
          นอกจากนี้หลักฐานจากใบบอกเมื่อทราบข่าวว่าอะแซหวุ่นกี้เตรียมยกกองทัพมาตีกรุง    ธนบุรี ใบบอกที่มาถึงหัวเมืองปักษ์ใต้ก็ยังกล่าวถึงเมืองตรังไว้ดังนี้..ในสัญญาบัตรตราตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ของพระเจ้ากรุงธนบุรีกล่าวว่า ประการหนึ่งเมืองสงขลาและเมืองตรังเป็นเมืองปลายด่าน แดนต่อด้วยเมืองไทร เมืองปัตตานีและเมืองแขกทั้งปวงยังมิสงบสงคราม๑๕  เป็นการเขียนย้ำให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคอยระมัดระวัง และตรวจตราดูแลเมืองในปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เพราะทางเมืองหลวงเกรงว่าเมื่อมีศึกกับพม่าแล้ว ทางหัวเมืองแขกอาจจะยกกองทัพมาตีเมืองสงขลาและเมืองตรังก็ได้
          เมืองตรังในช่วงนี้สืบต่อมาจากกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีพระยาตรังนาแขกเป็นเจ้าเมืองมีชุมชนย่อย ชุมชน คือ เมืองตรัง และเมืองภูรา

เมืองตรังช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้รวมเมืองตรังและเมืองภูราเข้าด้วยกัน ตั้งพระภักดีบริรักษ์ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชออกมารักษาเมืองตรังแทนพระตรังค์นาแขกซึ่งชราภาพมาก เมืองตรังช่วงก่อนพระภักดีบริรักษ์นี้ มีอาณาเขตดังนี้๑๖
          . ทิศใต้ ลงไปถึง เกาะลิบง
          . ทิศตะวันตก จดทะเลและต่อแดนกับปากกุแหระแขวงเมืองนครศรีธรรมราช
          . ทิศเหนือ จดเขตเมืองนครศรีธรรมราช
          . ทิศตะวันออก จดเมืองปะเหลียนและแขวงเมืองสตูล
          เมื่อโปรดให้พระภักดีบริรักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชออกไปรักษาเมืองตรังนั้น ปรากฏอยู่ในเพลงยาวออกวางตราเมืองตรังค์๑๗  เป็นพระยาตรังคภูมาภิบาล (จันทร์) หรือพระยาตรังค์ที่เก่งทางโคลงฉันท์กาพย์กลอน หรือพระยาตรังค์ศรีไหนนั้นเอง พระภักดีบริรักษ์ได้กราบทูลขอยกเมืองตรังและเมืองภูราเข้าเป็นเมืองตรังภูรา๑๘
ต่อมาพระภักดีบริรักษ์ต้องโทษ๑๙  ไม่ปรากฏหลักฐานว่าต้องโทษสถานใด แต่เข้าใจว่าเป็นเรื่องภรรยาที่ มีชู้แล้วท่านจับได้เลยให้เฆี่ยนชายชู้ถึงตาย๒๐ ถูกเรียกตัวกลับเข้ารับราชการในกรุงเทพฯ เสร็จแล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้โต๊ะปังกะหวาผู้รักษาเกาะลิบงหรือพระยาลิบงออกเป็นผู้รักษาเมืองตรังต่อมาพระยาลิบงเกดทะเลาะกับเจ้านครฯ (พัฒน์) จนเป็นอริกัน เมื่อเรื่องราวทราบถึงราชธานี พระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ใช้วิธีเดียวกับที่เคยใช้กับเมืองสงขลาได้ผลมาแล้ว คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกเมืองตรังมาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เสียชั่วคราวในปี .. ๒๓๔๗๒๑
เมื่อพระยาลิบง (โต๊ะปังกะหวา) ถึงแก่กรรม จึงโปรดให้หลวงฤทธิสงคราม ซึ่งเป็นบุตรเขยพระยาลิบงเป็นผู้รักษาเมืองตรัง แต่ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าจะให้เมืองตรังขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ อีกไม่ได้ เพราะหลวงฤทธิสงคราม ยังขาดความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เมืองตรังไปขึ้นกับเมืองสงขลาให้เจ้าพระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นผู้บังคับบัญชาดูแลและช่วยเหลือหลวงฤทธิ-สงครามปกครองเมืองตรังภูราต่อไป
ในปี .. ๒๓๕๔ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการในภาคใต้ เนื่องจากเจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) ได้ลาออกจากตำแหน่ง ทางราชธานีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระยานคร (น้อย) ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชต่อไป ในปีนี้ปรากฏว่าหลวงฤทธิสงครามและเจ้าพระยาสงขลาได้ถึงแก่กรรม จึงเหลือพระยานครฯ (น้อย) เพียงผู้เดียวที่มีความรู้ความสามารถในภาคใต้ ทางราชธานีได้พิจารณาแล้วว่าเมืองตรังจะขึ้นกับเมืองสงขลาอีกดังเดิมไม่เหมาะสมเสียแล้ว เพราะหลังจากที่พม่ามาตีถลางแล้วในปี ..๒๓๕๒๒๑  ไม่มีหัวเมืองใดเหมาะสมในการดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกแทนเมืองถลางเท่ากับเมืองนครศรีธรรมราช๒๒  จึงโปรดเกล้าให้เมืองตรัง กลับมาขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชตามเดิม และให้พระยานครฯ (น้อย) จัดกรมการเมืองนครศรีธรรมราชลงไปทำนุบำรุงเมืองตรังให้เป็นที่ทำไร่นายุ้งฉางเก็บเรือรบเรือลาดตระเวณและสะสมกำลังผู้คนไว้ทางฝั่งทะเลตะวันตก เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามแขกสลัดทั้งสื่อข่าวเคลื่อนไหวของพม่าและป้องกันการรุกรานของพม่าต่อหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตกีกด้วย ดังปรากฏหลักฐานในตราสารของเจ้าพระยาเสนา (ปิ่น) สมุหกลาโหม มีออกไปถึงปลัดและกรมการเมืองนครศรีธรรมราชในปี .. ๒๓๕๔ ดังนี้
..เมืองตรังภูรานั้นเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราชมาแต่ก่อน ให้ยกเอาเมืองตรัง- ภูรากลับมาขึ้นแก่เมืองนครศรีธรรมราช ให้พระยานครจัดแจง หลวง ขุน หมื่น กรมการ ที่มีสติปัญญาสัตย์ซื่อมั่นคงไปตั้งเกลี่ยกล่อมแขกไทยมีชื่อให้เข้าไปตั้งบ้านเรือน ทำไร่นา ปลูกยุ้งฉางรวบรวมเสบียงอาหารทำรั้วโรงไว้เรือรบ เรือไล่ รักษาปากแม่น้ำตรังไว้ ขุนมีราชการประการใด จะได้ช่วยรบพุ่งกันทันท่วงที..๒๓ 
          พระยานคร (น้อย) ได้ออกปรับปรุงเมืองตรังด้วยตนเองตามที่ราชธานีมีสารกำชับไว้จนกระทั่งเมืองตรังเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะมีกำปั่นต่างประเทศมารับสินค้าปีละหลายๆ ลำ๒๔  และเป็นฐานทัพเรือที่สำคัญ สำหรับป้องกันพม่าทางหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตกกับควบคุมหัวเมืองไทรบุรีปรากฏว่าเมืองตรังมีกองเรือรบและเรืออื่นๆ ถึง ๓๐๐ ลำ นอกจากนี้ยังจัดหน่วยราชการ เช่นเดียวกันกับเมืองนครศรีธรรมราช๒๕  คือมีตำแหน่ง ผู้รักษาเมือง ปลัด ยกกระบัตรมหาดไทย นครบาล กรมนา กรมวัง กรมคลัง และสรรพากร สำหรับเมืองตรังมีกรมพิเศษนอกเหนือจากเมืองนครศรีธรรมราช คือ      กรมปืน มีหน้าที่สะสมและรักษาปืนซึ่งเป็นอาวุธสำคัญในสมัยนั้น ในช่วงปี .. ๒๓๕๔ นี้เอง พระยานคร (น้อย) ได้กราบทูลไปยังราชธานีเพื่อให้โปรดเกล้า แต่งบุตรคนหนึ่งออกไปรักษาเมืองตรัง คือ พระอุไทยธานี (ม่วง)๒๖ เจ้าเมืองคนนี้ได้ย้ายเมืองตรังจากตรังภูรา มาที่ควนธานี และได้วางหลักเมืองที่ควนธานีด้วย เมืองตรังในช่วงนี้เจริญมากเพราะมีสินค้าที่ชาวต่างประเทศต้องการ คือ ช้าง ทางราชธานีได้ให้การสนับสนุนโดยการต่อเรือบรรทุกช้างไปจำหน่าย การค้าช้างเมืองตรังสมัยนั้นมีประจำทุกปีตามฤดูของลมมรสุม ดังในปี .. ๒๓๕๕ เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้ขายช้างให้อินเดีย ลำเรือ และปี .. ๒๓๕๗ มีเรือกำปั่นมาซื้อช้าง ลำ และเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ได้แต่งกำปั่นหลวงอีก ลำ รวม ลำ บรรทุกช้างได้มากกว่า ๖๐ เชือก ขายได้เป็นเงิน ๒๔๒ ชั่ง ตำลึง บาท หรือ ๑๙,๔๔๐ บาท๒๗  ซึ่งขนาดของเรือมีขนาดใหญ่ถึงกับต้องใช้กรรเชียง ชั้น๒๘  และในภาคใต้ขณะนั้นเมืองตรังเป็นฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุด เพราะใช้ในการคุมหัวเมืองไทรบุรี และคอยป้องกันพม่าอีกด้วย ในช่วงที่พระยานคร (น้อย) เป็นเจ้าเมืองนครนั้นเมืองตรังได้เปลี่ยนเจ้าเมืองบ่อยครั้ง พระอุไทยธานีปกครองอยู่ถึงปี ๒๓๕๕ ก็มีเรื่องต้องโทษ และถูกถอดออกจากเจ้าเมืองตรัง หลวงช่วยบุญเพ็ชร ปกครองเมืองต่อมา ครั้นพระยาตรังค์นาแขก (สิงห์) ปกครอง มีเหตุการณ์สำคัญอยู่ เรื่อง คือ การเจรจาความเมืองกับอังกฤษที่เมืองตรัง เนื่องจากเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) หลบหนีไปพึ่งอังกฤษที่ปีนังเจ้าพระยานคร (น้อย) ขอตัวจากผู้ว่าอังกฤษที่ปีนังไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดขัดใจระหว่างไทยกับอังกฤษได้เจรจากันตกลงกันหลายครั้ง
          ต่อมาในปี .. ๒๓๖๗ ผู้ว่าราชการอังกฤษที่ปีนังได้ส่งร้อยเอกเจมส์โลว์ เดินทางมาขึ้นบกที่ตรัง แล้วมีหนังสือแจ้งไปยังนครศรีธรรมราช เจ้าพระยานคร (น้อย) ส่งพระเสน่หามนตรีไปพบที่เมืองตรัง ครั้นทราบว่าเป็นเรื่องเจรจาขอให้ไทยช่วยอังกฤษรบพม่าก็ได้มีใบบอกเข้าไปยังราชธานี๒๙  โดยไม่ตอบอังกฤษ จนกระทั่งอังกฤษส่งร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเจรจาที่กรุงเทพฯ ขณะนั้นเจ้าพระยานคร (น้อย) ชุมนุมทัพที่ตรัง เตรียมยกไปตีเประและสลังงอ อังกฤษเกรงว่าถ้าตีได้จะกระทบกระเทือนถึงการค้าของอังกฤษ จึงส่งเรือปืนมาปิดปากแม่น้ำตรัง๓๐
          ปี .. ๒๓๘๑ ในรัชกาลที่ กรุงเทพฯ ได้จัดงานถวายพระเพลิงศพ พระสมเด็จพระศรี- สุลาไลย พระราชชนนีพระพันปีหลวง พระยาสงขลา เจ้าพระยานคร (น้อย) เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตนกูมะหะหมัด สหัด, ตนกูมะหะหมัด อาเกบและหวันมาหลี เป็นสลัดแขกอยู่ที่เกาะยาว (อยู่ใกล้เกาะภูเก็ต) ถือโอกาสยกทัพเรือเข้าตีเมืองตรังได้ ให้หวันมาลีรักษาเมืองตรัง แล้วก็ไปตีเมืองไทรบุรีได้ พระยาอภัย-ธิเบศร์ (แสง) และพระเสนานุชิต (นุช) ผู้รักษาเมืองไทรบุรีได้ถอยเข้ามาตั้งที่พัทลุง ตนกูมะหะหมัด สหัด จึงยกทัพเข้าตีเมืองสงขลาและพัทลุง๓๑ ความทราบถึงกรุงเทพฯ พระยาสงขลาและเจ้าพระยานคร (น้อย) ยกกองทัพมาปราบเหตุการณ์จึงสงบลง ดังนั้นเพื่อลดปัญหาเรื่องไทรบุรีก็ให้ย้ายพระยาไทร คือ พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) มาอยู่ที่พังงา แล้วกวาดแขกเมืองไทรมาพังงาด้วย๓๒ ให้เมืองไทรมีกำลังแต่น้อย ส่วนกำปั่น เรือรบ เรือไล่ ปืนใหญ่ ปืนน้อย ให้พระยาศรีพิพัฒน์เจ้าเมืองสงขลาแบ่งมาไว้ที่เมืองตรังและเมืองสงขลาเสีย เมื่อเจ้าพระยานคร (น้อย) ถึงแก่อนิจกรรมแล้วทางกรุงเทพฯ ก็ยังต้องการให้เมืองตรังเป็นเมืองสำคัญต่อไป จึงได้ตั้งเจ้าหมื่นเสมอใจราช (ชื่น บุนนาค) ออกมาเป็นข้าหลวงที่ภูเก็ต ต่อมา       เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้เลื่อนยศเป็น พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) เป็นข้าหลวงใหญ่ทางฝั่งตะวันตก ตั้งกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่ที่ตรัง และโอนเมืองตรังขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ปีนั้นเอง
เมืองตรังช่วงสมัยสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์  (ช่วง บุนนาค)
        ในปี ๒๔๒๓ สมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้คิดออกทำนุบำรุงเมืองตรังในช่วงที่พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) บุตรชายออกเป็นข้าหลวงใหญ่เพราะเห็นว่าตนเองก็ชราแล้วจึงต้องการสร้างอนุสรณ์ก่อนตายเช่นเดียวกัน เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ออกสร้างเมืองจันทบุรีเสร็จในปี ปี ดังนั้นสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)จึงสร้างที่ทำการเจ้าเมืองและที่ชำระคดี โดยนำแบบจากตึกคอนเวอร์เมนต์เฮาส์ของสิงคโปร์มีความยาว เส้น กว้าง ๑๕ ศอก๓๓  ดังนั้น ภาษีที่พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่ได้เก็บจากหัวเมืองชายทะเลตะวันตก และเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อส่งให้กรุงเทพฯ ถูกสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์นำไปสร้างที่ทำการเจ้าเมืองหมดเป็นเวลาถึง ปี เมื่อกรมพระคลังสมบัติได้เรียกเงินกับเสนาบดีกลาโหม เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ซึ่งทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าหลวงใหญ่ คือ พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ทั้งสองคนซึ่งเป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ก็ไม่ทราบว่าจะทวงอย่างไร
          ดังนั้น ในปี .. ๒๔๒๕ พระยามนตรีสุริยวงศ์จึงขอลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงใหญ่              เมืองตรัง เพราะทนสภาพที่ถูกบีบบังคับไม่ไหว สมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ จึงได้เปลี่ยนแนวความคิดในการสร้างเมือง มาเป็นการทำนุบำรุงเมืองตรังแทนเมื่อได้รับข้อเสนอแนะจากเจ้าพระยาภานุวงศ์ (ท้วม บุนนาค) และในปีนี้เองปรากฏว่าสมเด็จเจ้าพระยามหาสุริยวงศ์ได้ถึงแก่อสัญกรรม แต่ก่อนถึง อสัญกรรม ได้มอบหมายเมืองตรังให้พระรัตนเศรษฐี (คอซิมกอง) เจ้าเมืองระนองเป็นผู้ดูแลเมืองตรัง และพระยาระนองหรือพระยารัตนเศรษฐี ก็ได้ทำนุบำรุงเมืองตรังแต่ก็ไม่ดีขึ้น เนื่องจากเมืองขาดทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น แร่ดีบุกมีน้อย สถานที่ทั่วไปเหมาะกับการเกษตรซึ่งต้องใช้เวลาและทุนมาก ดังนั้นในปี .. ๒๔๒๘ ก็ได้ลาออกจากผู้ว่าราชการเมืองตรัง๓๔  เมืองตรังก็เลยอยู่ภายใต้การดูแลของข้าหลวงใหญ่ ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ภูเก็ต คือ พระอนุรักษ์โยธา (กลิ่น) และพระสุรินทรามาตย์อยู่สองสมัย พระยาตรังภูมาภิบาล (เอี่ยม นคร) มารับตำแหน่งในปี .. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๔
เมืองตรังสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊  ระนอง)
          ในปี ๒๔๓๓ รัชกาลที่ เสด็จประพาสภาคใต้ ราษฎรจำนวน ,๐๐๐ ครอบครัว ถวายฎีกา ให้พระยาตรังคภูมาภิบาล (เอี่ยม นคร) พ้นตำแหน่งเจ้าเมือง เนื่องจากกดขี่ข่มเหงราษฎรและเลี้ยงโจรผู้ร้าย๓๕  รัชกาลที่ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้ง พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี๊) จากเมืองกระบุรีมาเป็นเจ้าเมืองตรังตั้งแต่ปี ๒๔๓๔ ในช่วงนี้เมืองตรังเจริญมาก เพราะเจ้าเมืองส่งเสริมการเกษตรให้ราษฎรปลูกพืชผักและทำสวนพริก สวนยาง รวมทั้งจัดการจัดตั้งกองตำรวจภูธรขึ้นในเมืองตรัง และซื้อเรือกลไฟไว้ลาดตระเวณ ให้ความปลอดภัยทางน้ำ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการค้ากับต่างประเทศด้วย และยังตัดเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองพัทลุงมาเมืองตรังถึงท่าน้ำกันตัง ลดปัญหาโจรผู้ร้ายและสลัดรวมทั้งปัญหาชาวจีนที่มักจะชำระคดีกันเอง ทางด้านการค้ากับต่างประเทศได้ส่งสินค้าขายปีนัง
จนกระทั่งเมืองตรังฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ดีสู่สภาพเดิม
          ในปี .. ๒๔๓๖๓๖  และได้กราบบังคมทูลขอย้ายเมืองตรังไปไว้ที่กันตัง โดยให้เหตุผลว่าเมืองตรังที่ควนธานีไม่เหมาะสมที่จะทำการค้า ยากแก่การทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรือง ซึ่งเมืองตรังที่กันตังนั้นได้สร้างศาลากลางเป็นตึกใหญ่ ชั้น ข้างศาลากลางมีตึกชั้นเดียว หลัง เป็นศาลหลังหนึ่งเป็น
ที่ว่าการอำเภอหลังหนึ่ง ปี พ.. ๒๔๓๙ รัฐบาลได้แบ่งท้องที่การปกครองเรียกว่าข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ ร.. ๑๑๕  ได้รวมเมืองตรังและเมืองปะเหลียนเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น ๕ อำเภอคือ อำเภอบางรัก อำเภอเมือง (กันตัง) อำเภอเขาขาว (ห้วยยอด) อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา มีตำบล ๑๐๙ ตำบล๓๗  สำหรับท่าเรือเทียบเรือนั้นเทียบได้เพียง ๖ ท่าคือ กันตัง สิเกา กลาเส ท่าพญา      หยงสตาร์  เกาะสุกร๓๘  และยังให้ออกทะเบียนเลขเรือด้วย เพื่อป้องกันการปล้นเรือทั้งได้สร้าง         โรงพยาบาลให้มิชชั่นนารีที่ทับเที่ยง
          ปี .. ๒๔๔๕ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ย้ายไปเป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต เจ้าเมืองตรังคนต่อมานั้นคือ พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (ถนอม บุญยเกตุ) .. ๒๔๔๕ - ๒๔๔๘ พระสถลสถาน - พิทักษ์ (คออยู่เกียด ระนอง) .. ๒๔๔๘ - ๒๔๕๕ พระยาอุตรกิจพิจารณ์ (สุด) .. ๒๔๔๕ - ๒๔๕๖ และพระสุนทรเทพกิจจารักษ์ .. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๗ เมื่อถึงสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดินทร์) เมืองตรังก็ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางรัก บ้านทับเที่ยง ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรังในปัจจุบัน
เมืองตรังช่วงหลังพระยารัษฎานุประดิษฐ์  (สิน เทพหัสดินทร์)
          ในช่วงสมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดินทร์) มาปกครองเมืองตรัง (๒๔๕๗ - ๒๔๖๑) พระวิชิตวงศ์วุฒิไกร (...สุทัศน์ สุทธิสุทัศน์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้กราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๖ ไปว่าเมืองตรัง ตั้งที่กันตังไม่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากว่าข่าวสงครามโลก    ครั้งที่ ๑ นั้นเรือดำน้ำเยอรมันชื่อเอ็มเดนได้ลอยลำยิงถล่มเกาะปีนัง พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกรเกรงว่าหากเกิดสงคราม อาจจะถูกยิงเช่นปีนัง จึงได้กราบถวายบังคมทูลขอพระราชทานบรมราชานุญาต ย้ายที่ว่าการจังหวัดไปตั้งที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอบางรัก เมื่อรัชกาลที่ ๖ เสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ในปี พ.. ๒๔๕๙ มาถึงจังหวัดตรัง ได้มาทำพิธีเปิดโรงเรียนประจำจังหวัดชายและพระราชทานนามว่า วิเชียรมาตุและยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ตั้งที่ทำการเมืองตรังจากตำบลกันตัง มาเป็นตำบลทับเที่ยงอำเภอบางรัก และพระราชทานชื่อที่พักประทับแรมว่า ตำหนักผ่อนกาย ใหม่ในปัจจุบันเป็นบริเวณ





อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) และที่กันตังนั้น ก็เปลี่ยนชื่อจากอำเภอเมืองเป็นอำเภอกันตัง ต่อมาสมัยของพระยาตรังภูมาภิบาล (เจิม ปัญยารชุม) ปี ๒๔๖๒ ได้สร้างศาลากลางจังหวัดตรังเป็นอาคารไม้ ซึ่งปัจจุบันได้รื้อแล้วสร้างอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น และมีชั้น ๓ อยู่เพียง ช่วงเดียว

 

ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดตรัง.กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์ , ๒๕๒๘.





เยี่ยมยง สังขอยุธย์, สุรกิจบรรหาร "ชื่อบ้านและชื่อเมือง และถ้วยคำสำเนียงไทยปักษ์ใต้" ระลึกชาติปี ๒๕๐๖
หน้า ๑๔๙-๑๕๑
รายงานประจำจังหวัดตรัง ปี ๒๕๒๒ (โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ หลังวังบูรพา พระนคร ๒๕๐๒, หน้า ๑๓)
ชิน อยู่ดี "สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย หน้า ๙๑-๙๗"
เยี่ยมยง สังขอยุธย์, สุรกิจบรรหาร "โบราณคดีริ้วแหลมไททางธรณีวิทยา" นิตยสารศิลปากร หน้า ๙๐-๙๑
ธนิต อยู่โพธิ์ "สุวัณภูมิ" กรมศิลปากร หน้า ๓๒
อ้างแล้ว อ้าง หน้า ๙๐-๙๑
ประเสริฐ วิทยารัฐ "เอกสารบรรยายสัมมนาประวัติศาสตร์และโบราณคดีสทิงพระ"
มานิต วัลลิโภดม "สุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน" วารสารเมืองโบราณ ปีที่ .. - มี.. ๒๕๑๘
  ประวัติเมืองตรัง "รายงานการศึกษา อำเภอเมืองตรัง" ปี ๒๕๐๙-๒๕๑๑
๑๐ ประวัติเมืองตรัง "วารสารประจำปีจังหวัดตรัง" ปี ๒๕๐๗
๑๑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับสมเด็จเจ้าฟ้านริศรานุวัติวงศ์ "สาสน์สมเด็จ" ภาค หน้า ๖๓๔ ธนิต อยู่โพธิ์สุวัณณภูมิ หน้า ๓๓
๑๒ องค์การค้าคุรุสภา "พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัง นคร) ในประชุม พงศาวดาร เล่ม ๓๑ หน้า
๑๓ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ เล่มที่ หน้า ๑๔๒
๑๔ องค์การค้าคุรุสภา ประชุมพงศาวดารภาค 3” เล่มที่ 3 หน้า ๓๘๓๙ หมายถึง กรุงธนบุรี ( กรุงเทพทราวดีศรีมหาสมุทร)
๑๕ สงบ ส่งเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองนครศรีธรรมราช ปริญญานิพนธ์ เสนอต่อมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปี ๒๕๑๘ หน้า ๑๓๓
๑๖ ห้องสมุดวชิรญาณ จดหมายเหตุรัชกาลที่ .. ๑๒๑๐ (๒๓๙๑) เลขที่ ๑๗๐
๑๗ เยี่ยมยง  .สุรกิจบรรหาร ของดีปักษ์ใต้ หน้าที่ ๓๔
๑๘ สงบ  ส่งเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองนครศรีธรรมราช หน้า  ๑๔๑
๑๙  ดูอ้าง ๑๘ หน้า ๓๕
๒๐ ดูอ้าง ๑๙ หน้าเดียวกัน
๒๑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ "ไทยรบพม่า" หน้า ๖๖๐
๒๒ ห้องสมุดวชิรญาณ จดหมายเหตุรัชกาลที่ .. ๑๑๗๓ (๒๓๕๔) เลขที่ ๒๑๑๐


๒๓ ห้องสมุดวชิรญาณ จดหมายเหตุรัชกาลที่ .. ๑๑๗๓ (๒๓๕๔เลขที่ ๕๑ .
๒๔ ห้องสมุดวชิรญาณ จดหมายเหตุรัชกาลที่ .. ๑๑๗๔ (๒๓๕๕เลขที่ ๑๐
๒๕ สงบ ส่งเมือง "ความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองนครศรีธรรมราช" หน้า ๑๔๓-๑๔๔
๒๖ นัฐวุฒิ สุทธิสงคราม "โอรสลับพระเจ้าตาก" หน้าที่ ๔๐
๒๗ ดูอ้าง ๒๕ หน้า ๙๔
๒๘ ดูอ้าง ๒๕ หน้า ๑๐๗
๒๙  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ "ไทยรบพม่า" หน้า ๖๗๗ - ๖๗๘
๓๐  สงบ ส่งเมือง " ความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองนครศรีธรรมราช " หน้า ๒๑๖
๓๑  หลวงอุดมสมบัติ " จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ " หน้าที่ ๓๔
๓๒ ทวีศักดิ์ ล้อมลิ้ม " ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับหัวเมืองประเทศราชมลายู " หน้า ๕๕
๓๓  ... เอกสารรัชกาลที่ สารบาญสมุดพิเศษ .. ๑๒๔๑ - ๑๒๔๒ เล่ม ๒๐ จดหมายของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ถึงเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๒๓ หน้า ๔๔๗ - ๔๔๘ การสร้างเมืองเปลี่ยนรูปแบบจากการสร้างกำแพงเมืองเป็นที่ทำการอย่างฝรั่ง
๓๔  ... เอกสารรัชกาลที่ ..๒ก/ พระยามนตรีสุริยวงศ์กราบเรียนสมุหกลาโหม สิงหาคม ๒๔๒๕
๓๕  ... เอกสารรัชกาลที่ .๕๒/๑๑ คำร้องทุกข์ราษฎรเมืองตรัง กราบถวายบังคมทูล . ๒๔ พฤษภาคม
.. ๑๑๙
    
๓๖ ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ รายงานการวิจัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี หน้า ๒๕
๓๗ หอสมุดดำรงราชานุภาพ ทำเนียบท้องที่ .. ๑๒๑ หน้า - ๑๒ และ .. ๑๒๙ หน้า ๑๓๘
๓๘ ... เอกสาร . .๕๓/๒๔ เรื่องพระยารัษฎาฯ มีความเห็นการจัดบ้านเมือง และให้พระยารัษฎาฯ ทำรายงาน
 สินค้าเมืองตรัง เมืองปะเหลียน  ๒๘ มกราคม .. ๑๑๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น