วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดอ่างทอง

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

อ่างทองเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่านถึง ๒ สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้คนจึงนิยมเข้าอยู่อาศัยทำมาหากิน ในสมัยโบราณก่อนกรุงศรี-อยุธยานับแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา เข้าใจว่ามีคนอาศัยอยู่ในท้องที่ของอ่างทองแล้วและสร้างเป็นเมืองขึ้นด้วยแต่คงจะไม่ใช่เมืองใหญ่โตหรือเมืองสำคัญนักก็ได้ หลักฐานที่เหลือให้เห็นในปัจจุบันที่ส่อแสดงว่าท้องที่ของอ่างทองเคยเป็นเมืองโบราณในสมัยทวารวาดีก็คือคูเมืองที่มีลำคูล้อมรอบที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอแสวงหา ในปัจจุบันอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางเหนือประมาณ ๔ กิโลเมตร คูเมืองที่บ้านคูเมืองซึ่ง นายบาส เชอลีเย นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้สำรวจพบและสันนิษฐานว่าเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ล่วงมาในสมัยกรุงสุโขทัยก็เข้าใจว่ามีคนอาศัยอยู่มากเช่นกัน หลักฐานที่น่าจะยืนยันได้ก็คือวัดร้างที่มีอยู่มากมายในท้องที่ของอ่างทอง มีหลายวัดแสดงว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยและจากการสังเกตลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญ ๆ หลายองค์พบว่ามีลักษณะการสร้างแบบสุโขทัยด้วย เช่น พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก อำเภอป่าโมก เป็นต้น นอกจากการสร้างวัดและศิลปะการสร้างพระพุทธรูปแล้ว     ลำน้ำโบราณซึ่งปัจจุบันได้ตื้นเขินกลายเป็นลำคลอง ลำห้วย หลายแห่ง โดยมีวัดร้างตั้งอยู่ริมน้ำเก่านี้มากมาย ก็สันนิษฐานว่าจะต้องมีมาเก่าแก่ถึงสมัยสุโขทัยอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญนั้นไม่มีหลักฐานที่ปรากฏชัด

สมัยกรุงศรีอยุธยา

เนื่องจากอ่างทองเป็นเขตติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา จึงมีเรื่องราวที่กล่าวถึงท้องที่ในอ่างทองหลายตอนด้วยกัน แต่สมัยอยุธยาตอนต้นนั้นยังไม่ปรากฏชื่อเมืองนี้ เข้าใจว่าจะเป็นเพียงชายเขตแขวงพระนครเท่านั้น แม้กระทั่งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีชื่อเมืองในท้องที่ของอ่างทองเลย หนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า เมื่อคราวพม่ายกทัพมาประชิดพระนครในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้น ได้มีการเกณฑ์ทัพเพื่อรักษาพระนครจากเมืองใกล้เคียง โดยกล่าวชื่อเมืองใกล้เคียงพระนครหลายเมือง  เช่น เมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองชัยนาท เมืองลพบุรี เมืองนครนายก เป็นต้น ไม่เคยกล่าวถึงเมืองอ่างทองหรือชื่อเมืองวิเศษชัยชาญอันเป็นชื่อเก่าของเมืองอ่างทองเลย เพียงแต่กล่าวไว้ตอนที่พม่ายกทัพเข้ามาว่า “…พม่าก็ยกตามเข้ามาทาง       ลำ สามโก้ ป่าโมก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแถวบางโผงเผง เข้ามาชานพระนครทางทุ่งลุมพลีข้างด้านเหนือลำสามโก้ปัจจุบันเป็นชื่อตำบลอยู่ในอำเภอสามโก้ ป่าโมกก็เป็นชื่อตำบลอยู่ในอำเภอป่าโมกเช่นกัน ส่วนบางโผงเผงนั้นอยู่ในท้องที่อำเภอป่าโมก พระราชพงศาวดารมิได้กล่าวว่าตำบลทั้งสามขึ้นกับเมืองใด สันนิษฐานว่าแต่ก่อนอาจจะรวมอยู่ในแขวงพระนครหลวง ยังไม่ยกฐานะเป็นเมือง เพราะอยู่ใกล้พระนครหลวงมาก

ประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                     จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นแหล่ง    ชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยมาหลายยุคหลายสมัย และเคยเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของราชอาณาจักรกรุง-       ศรีอยุธยานานถึง ๔๑๗ ปี (ระหว่าง พ.. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐) ก่อนหน้านั้นดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรโบราณที่นักวิชาการส่วนมากเรียกว่าอโยธยาตามลำดับ ถึงแม้ว่าเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.. ๒๓๑๐ ดินแดนนี้ก็ยังมีประชาชนอาศัยอยู่เรื่อยมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน  ดังน้น ขอกล่าวประวัติความเป็นมาเป็น ๔ ระยะคือ  ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา  สมัยกรุงศรีอยุธยา  สมัยธนบุรี  และสมัยรัตนโกสินทร์

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

                 บริเวณนี้อยู่ในอาณาจักรทวารวดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ ต่อมาในพุทธ-ศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอม โดยมีเมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นเมืองหน้าด่าน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็เป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม ในช่วงนี้ได้เกิดอาณา-จักรใหม่ๆ อีกหลายรัฐ เช่น สุโขทัย ลานนา และล้านช้าง และก็เกิดรัฐที่พัฒนาจากอาณาจักรเดิม เช่น อโยธยา  สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี)  และนครศรีธรรมราช  เป็นต้น

                 หากจะกำหนดเรียกดินแดนบริเวณภาคกลางของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ซึ่งตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอมว่า แค้วนละโว้ แล้ว ก็อาจกล่าวตามข้อเสนอของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งว่า แคว้นละโว้ (อโยธยา) พัฒนาขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองของแคว้นละโว้ (ทวารวดี)  เดิมดินแดนบริเวณนี้ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่าในปี .. ๑๕๘๗ พระเจ้าสายน้ำผึ้งได้พระราชทานพระเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก พระมเหสีซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีน ที่บางกะจะ  และทรงสถาปนา     บริเวณนั้นเป็นพระอาราม ให้ชื่อว่า วัดพระเจ้านางเชิง
                 นักวิชาการกลุ่มนี้ได้เสนออีกว่า ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ เมืองอโยธยาคงเป็นเมืองขึ้นของแคว้นละโว้ จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงมีการย้ายเมืองสำคัญมาอยู่แถวปากน้ำแม่เบี้ย ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และก็คงมีบทบาทแทนที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) อย่างไรก็ตามเมืองละโว้ (ลพบุรี) ก็ยังคงครองความเป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมอยู่จนกระทั่งต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดังจะเห็นได้จากการที่มีเจ้านายไทย พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนมังราย และพ่อขุนงำเมือง ขณะยังทรงพระเยาว์อยู่ได้เสด็จมาศึกษาเล่าเรียน ที่เขาสมอคอน  ในเมืองละโว้ (ลพบุรี)

ประวัติศาสตร์จังหวัดชัยนาท

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
เมืองชัยนาทเป็นเมืองโบราณ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ตรงแยกฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงที่ปากน้ำเมืองสรรค์ (ปากคลองแพรกศรีราชา-ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวอยู่ใต้ปากลำน้ำเก่า) สมัยเมื่อลำน้ำเจ้าพระยาไหลแยกเดินลงมาทางอำเภอสรรพยา และอินทร์บุรี (ในปัจจุบันเป็นลำน้ำใหม่แล้ว) บางตำนานได้กล่าวว่า "เมืองชัยนาท" น่าจะปรากฏนามในราวๆ ปี พ.. ๑๗๐๒ ว่า ขุนเสือฟ้า หรือ เจ้าคำฟ้า กษัตริย์เมืองเมา ได้ยกทัพมาทำสงครามกับเจ้าเมืองฟังคำแห่งอาณาจักรโยนก (ปัจจุบันเป็นอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา) และได้ชัยชนะหลังจากเมืองแตกแล้ว เจ้าเมืองฟังคำได้อพยพผู้คนลงมาอยู่ที่เมืองแปป (กำแพงเพชร เดิม) แล้วมาสร้างเมืองไตรตรึงค์ ที่ตำบลแพรกศรีราชา และหลังจากนั้นคงจะสร้าง "เมืองชัยนาทขึ้น เนื่องจากได้รบชัยชนะชนชาติท้องถิ่นเดิม"
บางท่านได้สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในสมัยรัชกาลพญาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.. ๑๘๖๐ - ๑๘๙๗ ซึ่งในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงปรากฏแต่ชื่อ "เมืองแพรก" ในหนังสือจามเทวีวงศ์ได้กล่าวถึงเมืองทวีสาขนคร ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะเป็น "เมืองแพรก" หรือ "เมืองสรรค์บุรี " อันเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ "เมืองชัยนาท" จนถึงกับจะเรียกว่าเป็นเมืองเดียวกันก็ได้ ส่วนหนังสือชินกาลมาลีนั้น มีข้อความกล่าวไว้ชัดเจนว่า  "ชยนาทปุรม     ทุพภิกภย ชาต" ซึ่งหมายถึง ทุพภิกขภัยได้บังเกิดมีในเมืองชัยนาทบุรี ซึ่งกล่าวว่าทางพระราชอาณาจักรอยุธยาได้ส่งอำมาตย์ หรือพระราชโอรสมีนามว่า "เดชะ" มาครอง "เมืองชัยนาท" ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) แห่งอาณาจักรกรุงสุโขทัย  ส่วนในตำนานพระพุทธสิหิงค์   ได้กล่าวถึงเมืองชัยนาทภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย รัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑  (ลิไท) นั้น ครั้งหนึ่งเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงออกอุบายนำข้าวมาขายที่เมืองชัยนาทแล้วยึดเมืองได้จึงโปรดให้อำมาตย์ชื่อ วัตติเดช (ขุนหลวงพะงั่ว) ปกครองเมืองชัยนาท ซึ่งตรงกันกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวว่า "เมืองชัยนาทบุรี" ปรากฏชื่อในราวๆ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิ-บดีที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับ พ.. ๑๘๙๗ เป็นที่พญาเลอไทสวรรคต กรุงสุโขทัยเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงเห็นโอกาสเหมาะ จึงโปรดให้ขุนหลวงพะงั่วซึ่งขณะนั้นครองเมืองสุพรรณบุรียกทัพขึ้นไปยึดครอง "เมืองชัยนาทบุรี" และอยู่รักษาเมืองไว้โดยขึ้นตรงต่อกรุงศรี-อยุธยา ต่อมากรุงสุโขทัยสงบลงแล้ว พญาลิไทขึ้นครองราชย์ ได้ส่งทูตมาเจรจาขอ "เมืองชัยนาทบุรี" คืนจากกรุงศรีอยุธยา โดยต่างฝ่ายจะเป็นอิสระ และมีความสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ในที่สุดกรุงศรี-อยุธยาก็ได้คืน "เมืองชัยนาทบุรี" ให้แก่กรุงสุโขทัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า ทางกรุงศรี-อยุธยาเกรงว่า ทางฝ่ายกรุงสุโขทัยจะชวนแคว้นกัมพุช (ลพบุรี) และอาณาจักรทางเหนือ ซึ่งเป็นมิตรกับกรุงสุโขทัยมาร่วมรบประกอบกับกรุงศรีอยุธยาเพิ่งจะสถาปนาได้ไม่นาน หากมีศึกกระหนาบข้างทั้งสองด้านจะสร้างปัญหาให้แก่กรุงศรีอยุธยาไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้กรุงศรีอยุธยายอมคืน "เมืองชัยนาทบุรี" ให้แก่กรุงสุโขทัยโดยดี เมื่อพระมหาธรรมราชา ที่ ๑ (ลิไท) ทรงได้   "เมืองชัยนาทบุรี " คืนแล้ว ทรงโปรดให้พระกนิษฐภคินี ทรงพระนามว่า พระสุธรรมกัญญา ซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระมหาเทวี ครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยแล้ว พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทรงอัญเชิญ พระสิหล (พระพุทธสิหิงค์) พร้อมทั้งเสด็จมาครองเมืองชัยนาทจนกระทั่งสวรรคต ในปี พ.. ๑๙๑๔

ประวัติศาสตร์จังหวัดฉะเชิงเทรา


“….ตั้งแต่เมืองฉะเชิงเทรา ตั้งปากน้ำเจ้าโล้แล้วยกมาตั้งแปดริ้ว แล้วยกไปตั้งโสธร….” เป็นประโยคที่ได้จากจารึกในแผ่นเงิน  เมื่อ พ.. ๒๔๑๘ และถูกค้นพบเมื่อ พ.. ๒๔๙๕ ปัจจุบัน    เงินแผ่นนี้เจ้าอาวาสวัดพยัคฆาอินทาราม (วัดเจดีย์) เก็บรักษาไว้ คำว่า แปดริ้วปรากฏเป็นหลักฐานในข้อเขียนบรรยายภาพประวัติวัดสัมปทวน ความว่า “….บางช่องปั้นเป็นภาพของจังหวัดฉะเชิงเทรา สมัย ๖๐ ปี สมัย ๑๐๐ ปี ที่ล่วงมาแล้วให้ผู้ที่ยังไม่ทราบจะได้ทราบว่า จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเดิม เรียกเมืองแปดริ้วนั้น  สมัยนั้นๆ มีสภาพเป็นอย่างไร….”  และ พ.. ๒๕๓๐ ความว่า “….เปลี่ยนจากเซาที่แปลว่า ความเงียบ ยังมีอีกคำหนึ่งที่เรียกว่า บางปลาสร้อยร้อยริ้ว บางปลาสร้อยก็คือ ชลบุรี ร้อยริ้วก็คือ แปดริ้ว หรือฉะเชิงเทรานี้เอง…. ”

เมืองแปดริ้วอยู่ที่ไหน ถ้าแปดริ้วกับร้อยริ้ว คือเมืองเดียวกันด้วยอิทธิพลของภาษาจีนเพี้ยนเป็นคำไทย และถ้าเป็นเช่นนั้น เมืองฉะเชิงเทราเป็นเมืองโบราณเพราะหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบขึ้นภายหลังล้วนอยู่ในบริเวณใกล้เมืองฉะเชิงเทราทั้งสิ้น ดังนั้นชุมชนโบราณของฉะเชิงเทราก็ควรเป็นเมืองร้อยริ้วที่คล้องจองกับบางปลาสร้อยนั่นเอง

ถึงอย่างไรชื่อเมืองแปดริ้ว ก็จัดอยู่ในประเภทตำนานหรือมีนิทานชาวบ้านที่เลียบชาย    ฝั่งทะเล ยังมีมากกว่านี้ ถ้าหากนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์จะไม่หลงลืมดินแดนนี้ไปเสีย  เพราะหลักฐานที่เกี่ยวกับมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังมีอีกมาก… "อย่างน้อยก็เป็นดินแดนปากทางเข้า และฐานเศรษฐกิจทางทะเลของที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเมืองไทยและที่ราบต่ำในเขมร…" 

ประวัติศาสตร์จังหวัดจันทบุรี


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
          ดินแดนอันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันนี้ ในสมัยโน้นเรียกว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นถิ่นเดิมของชาติลาวหรือละว้า ยกเว้นดินแดนทางภาคใต้ซึ่งเป็นอาณาเขตของชาติมอญ อาณาจักรสุวรรณภูมิแบ่งแยกอำนาจการปกครองออกเป็น อาณาเขต คือ
          . อาณาเขตทวาราวดี มีเนื้อที่อยู่ในตอนกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่ออกไปจากชายทะเลตะวันตกของอ่าวไทยจนถึงชายทะเลตะวันออก มีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี
อาณาเขตยาง หรือ โยนก อยู่ตอนเหนือ ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเงินยาง
อาณาเขตโคตรบูร ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้ง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีเมืองนครพนมเป็นราชธานี

ชาวอินเดียผู้เจริญรุ่งเรืองด้วยความรู้ทางศาสนา ปรัชญา และสรรพศิลปวิทยาการได้อพยพเข้ามาในดินแดนเหล่านี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ชาวอินเดียได้พากันเข้าไปตั้งอาณานิคมอยู่ในดินแดนเขมรและมอญอีกด้วย เขมรหรือขอมได้รับความรู้ถ่ายทอดมาจากอินเดีย จึงปรากฏว่าขอมเจริญก้าวหน้ายิ่งกว่าชนชาติใดในสุวรรณภูมิราว .. ๑๕๐๐ ขอมได้ขยายอำนาจครอบครองอาณาเขตลาวไว้ได้ทั้งหมด ขอมรุ่งโรจน์อยู่ประมาณสองศตวรรษ ไม่ช้าก็เสื่อมอำนาจลง ในเวลานั้นชนชาติพม่าซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในธิเบต ได้รุกลงมาสู่ดินแดนลุ่มแม่น้ำอิรวดี และสถาปนาอาณาจักรขึ้น มีกษัตริย์พม่าพระองค์หนึ่งพระนามว่า อโนระธามังช่อ มีอานุภาพปราบลาวและมอญไว้ในอำนาจ เมื่อกษัตริย์พม่าองค์นี้สิ้นอำนาจลง ขอมก็รุ่งโรจน์ขึ้นอีกวาระหนึ่ง แต่เป็นความรุ่งโรจน์เมื่อใกล้จะเสื่อม พอดีชนชาติซึ่งรุกล้ำลงมาสู่ดินแดนนี้นับกาลนานมาได้สถาปนาอาณาจักรมีอานุภาพขึ้น
ในสมัยขอมรุ่งโรจน์ตอนบั้นปลายนั้น ในดินแดนสุวรรณภูมินี้มีชื่อเมืองโบราณอยู่ ชื่อ มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ โคตรบูร เพชรบูรณ์ และจันทบูร ซึ่งทั้งสามนี้ตามรูปศัพท์บอกว่าไม่ใช่ภาษาไทย สมัยนั้นเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าชาวอินเดียไม่ใช่ปฐมาจารย์แห่งสรรพวิทยาการของขอมมาก่อน ที่ขอมเจริญรุ่งเรืองก็เพราะได้อาศัยชาวอินเดียเข้ามาเป็นครูสั่งสอนให้

ประวัติศาสตร์จังหวัดชลบุรี

ประวัติความเป็นมา
          ดินแดนที่เรียกว่าจังหวัดชลบุรีซึ่งประกอบด้วย ๙ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม อำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง อำเภอศรีราชา อำเภอบาง -ละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอบ่อทอง และกิ่งอำเภอเกาะสีชัง มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ ๔,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันนี้ถ้าจะกล่าวถึงสภาพภูมิประเทศนับถอยหลังไปเพียงหลายๆ สิบปีเท่านั้น ก็คงจะแตกต่างกว่าปัจจุบันมาก สภาพที่เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดอย่างน้อย ๒ ประการ คือ ความเปลี่ยนแปลงตามแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งนับวันแต่จะตื้นเขินเป็นแผ่นดินเพิ่มขึ้นนั้นประการหนึ่ง และสภาพป่าเขาลำเนาไพรซึ่งเคยหนาทึบรกชัฏด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ก็กลายสภาพเป็นที่โล่งเตียน ทำนาทำไร่ มีเจ้าของจับจองจนแทบหมดสิ้นนั้นอีกประการหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงใน ๒ ลักษณะสำคัญดังกล่าวนี้ ทำให้เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายว่า สภาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปมากจนยากที่จะคำนึงถึงสภาพชุมชนดั้งเดิมของชาวชลบุรีในสมัยโบราณ

          จากหลักฐานทางโบราณวัตถุสถาน ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ภายในกรอบเนื้อที่ ๔,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร ของเมืองชลบุรีในอดีต    เคยเป็นที่ตั้งชุมชนหรือเมืองโบราณที่เคยมีความเจริญ
รุ่งเรืองอยู่ ๒ เมือง และนับว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ปรากฏหลักฐาน คือ

ประวัติศาสตร์จังหวัดลพบุรี

ลพบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ดินแดนซึ่งเป็นจังหวัดลพบุรีในปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานคือโครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับทำด้วยดินเผา หิน สัมฤทธิ์ เหล็ก ทองแดง กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และแก้วของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง อำเภอ    ชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม หลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าวส่วนใหญ่พบอยู่ตามเนินดิน น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ไม่ไกลจากภูเขา และมีทางน้ำไหลผ่านเฉพาะส่วนน้อยเท่านั้นที่พบอยู่ตามถ้ำในภูเขา
สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีผู้ให้คำจำกัดความว่าเป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์อักษร   ขึ้นใช้ ต่อเมื่อมนุษย์รู้จักประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แล้วจึงเรียกว่าเป็นสมัยประวัติศาสตร์ อายุสมัยก่อน   ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ได้รับการศึกษาว่ามีอายุเก่าแก่ก่อน ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงราว พ.. ๑๐๐๐ ซึ่งเป็นสมัยที่อายุตัวอักษรแบบเก่าสุดได้ค้นพบในดินแดนนี้
การศึกษาเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเท่าที่เป็นมา ได้แบ่งออกเป็นยุคตามลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ กล่าวคือ
ยุคหินเก่า                        เป็นยุคเก่าสุด มนุษย์ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ
ยุคหินกลาง                      มนุษย์รู้จักใช้ขวานหินกะเทาะที่ประณีตขึ้น
ยุคหินใหม่                        มีเครื่องมือทำด้วยหินที่ได้รับการขัดฝนเป็นอย่างดี
ยุคโลหะ                          มีเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสัมฤทธิ์ เหล็ก และทองแดง
ปัจจุบัน การศึกษาเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อลักษณะการดำรงชีพของมนุษย์ในสมัยนั้น จึงได้มีการแบ่งยุคออกเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม (Non-Agricultural Society) และสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Society) ผลการขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยอาจจะสรุปในขั้นต้นนี้ได้ว่า ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่ดั้งเดิมยุคหินเก่าและยุคหินกลางเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม ส่วนมนุษย์ยุคหินใหม่และยุคโลหะจัดเป็นพวกสังคมเกษตรกรรมรู้จักเพาะปลูก ทำภาชนะดินเผา ถลุงแร่และทอผ้า

ประวัติศาสตร์จังหวัดกาญจนบุรี

         
เมื่อกล่าวถึงจังหวัดกาญจนบุรี ใครๆ ย่อมรู้จักว่าเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทย ลุ่มน้ำไทรโยค (แควน้อย) และลุ่มน้ำศรีสวัสดิ์ (แควใหญ่) เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำใสสะอาด สัตว์ป่าที่จะใช้เป็นอาหาร ในน้ำเต็มไปด้วย หอย ปู ปลา มีที่ราบบริเวณเชิงเขา ถ้ำ ตามริมแม่น้ำมีพื้นที่ทำการเพาะปลูกเหลือเฟือ ได้มีการขุดค้นพบเครื่องมือมนุษย์สมัยหินเก่าเครื่องมือหิน โครงกระดูกมนุษย์สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่าจนถึงยุคโลหะตอนปลายที่บ้านดอนตาเพชร    การพบตะเกียงโรมัน    (อเล็กซานเดรีย)     ที่ตำบลพงตึการพบปราสาทเมืองสิงห์   เป็นต้น   สิ่งต่างๆ    เหล่านี้  เป็นหลักฐานที่แสดงว่าจังหวัดกาญจนบุรีเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมของมนุษย์ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ครั้งกรุงศรี-อยุธยาเป็นราชธานี กาญจนบุรีมีฐานะเป็นเมืองด่านที่มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของไทยอย่างมาก เหตุการณ์ที่ปรากฏ เช่น การเดินทัพผ่านด่านเจดีย์สามองค์ การรบที่ทุ่งลาดหญ้า ท่าดินแดง และสามสบ จวบจนการย้ายเมืองกาญจนบุรีมาตั้งที่ปากแพรกหรือลิ้นช้าง เหตุการณ์ครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ญี่ปุ่นได้ใช้เส้นทางยุทธศาสตร์สายนี้เกณฑ์เชลยศึกทำทางรถไฟไปพม่าซึ่งเรียกกันว่าทางรถไฟสายมรณะ ทำให้เชลยศึกต้องล้มตายเป็นจำนวนมากและฝังอยู่ที่สุสานทหารสหประชาชาติมาจนถึงสงครามอินโดจีน กาญจนบุรีเป็นดินแดนที่เป็นที่ฝึกซ้อมรบเพื่อเตรียมการรบในเวียดนาม ลาวและกัมพูชา ตลอดจนเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยที่น่าสนใจ   และปัญหาการสร้างเขื่อนตอนบนของแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ที่กำลังเป็นที่สนใจอยู่ไม่น้อย

ประวัติศาสตร์จังหวัดนครปฐม


            ถ้าจะกล่าวถึงเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในประเทศไทย และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่      สมัยอดีต  นครปฐมนับว่าเป็นเมืองที่สมกับคำกล่าวนี้  ทั้งนี้เนื่องจากการสำรวจดูโบราณสถานที่ยังเหลือเป็นพยานอยู่  เช่นพระปฐมเจดีย์องค์เดิม ธรรมจักรกับกวาง อาสนบูชา สถูป จารึกพระธรรมภาษามคธ คาถาเยธมฺมา  ซึ่งทำตามคตินิยมแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชก่อนมีพระพุทธรูปสิ่งเหล่านี้มีพบแต่ที่นครปฐมแห่งเดียวเท่านั้น

          ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมืองนครปฐมเป็นเมืองดั้งเดิม อาจกล่าวเป็นสมัยๆ  ดังนี้

สมัยสุวรรณภูมิ 
สุวรรณภูมิถ้าแปลตามศัพท์ หมายถึงแผ่นดินทอง หรือดินแดนทอง ซึ่งหมายถึงดินแดนที่อุดมสมบูรณ์  แผ่นดินตรงบริเวณที่เมืองนครปฐมตั้งอยู่นี้  เดิมเป็นที่ราบต่ำและเคยเป็นทะเลมาแล้ว  ต่อมาพื้นน้ำค่อยๆ ลดลง เพราะพื้นดินเกิดตื้นเขินขึ้น เพราะแม่น้ำได้พัดพาเอาดินตะกอนและสิ่งต่างๆ มาทับถมอยู่เป็นเวลาช้านาน  อาณาบริเวณนี้จึงเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน นครปฐมในอดีตจึงเป็นเมืองที่อยู่ริมทะเลและเจริญรุ่งเรืองมาก ในสมัยพุทธกาล นครปฐมเปรียบเสมือนแผ่นดินทอง ชาวต่างประเทศได้แก่ชาวอินเดียได้ทำการติดต่อค้าขายเป็นประจำโดยทางเรืออยู่เรื่อยๆ ชาวพื้นเมืองแถบนี้คงจะเป็นชนชาติที่ยังไม่มีศาสนาเป็นของตนเอง  และมีวัฒนธรรมต่ำกว่าชาวอินเดีย  ชาวอินเดียจึงได้นำศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนภาษาหนังสือมาสอนให้แก่ชาวพื้นเมืองต่างๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ หนังสือที่ใช้ก็เป็นอักษรคฤนถ์และ    เทวนาครี  นอกจากนี้ยังสอนวิชาปั้นพระพุทธรูป เทวรูปต่างๆ พิธีกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี   ชาวพื้นเมืองก็ได้รับและถ่ายทอดกันมาจนทุกวันนี้

ประวัติศาสตร์จังหวัดนครนายก

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
          จังหวัดนครนายก   จะสร้างขึ้นในสมัยใดนั้นยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่จากการที่กรมศิลปากรได้มาทำการขุดค้นตัวเมืองเก่าที่ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก เมื่อปี พ.. ๒๕๑๗ และจากการรื้อค้นหลักฐานที่มีพอจะสรุปประวัติความเป็นมาได้ว่า จังหวัดนครนายกเป็นเมืองเก่าแก่กว่า ๙๐๐ ปีมาแล้ว มีปรากฏขึ้นในสมัยทวารวดี แต่จะมีชื่อเมืองอย่างไรนั้นไม่ปรากฏ จากสภาพเมืองเก่าที่ตำบลดงละคร (เมืองลับแล) เป็นตัวเมืองที่ตั้งอยู่บนที่สูง มีลักษณะเป็นเกาะกลางทุ่ง สภาพตัวเมืองเป็นรูปทรงกลม ซึ่งเป็นลักษณะตัวเมืองสมัยทวารวดี ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมมีอำนาจได้แผ่อาณาจักรออกไปตลอดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีนครธมเป็นราชธานีขอมได้ตั้งเมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นเมืองลูกหลวง มีหน้าที่ปกครองอาณาจักรขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองนครนายกจึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอมชั่วระยะเวลาหนึ่ง ประมาณปี พ.. ๑๖๐๐ อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงแต่นครนายกก็ยังคงรวมอยู่ในดินแดนของอาณาจักรขอมแถบชายแดน จนเมื่อไทยเริ่มมีอำนาจ และตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
สมัยกรุงศรีอยุธยา
          มีหลักฐานว่า  นครนายกเป็นเมืองหน้าด่าน หรือ เมืองปราการ ตั้งแต่ สมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นต้นมา
          หน้าที่ของเมืองหน้าด่าน คือ เป็นเมืองที่รายล้อมราชธานี เป็นที่สะสมเสบียงอาหารและกำลังผู้คนไว้สำหรับป้องกันเมืองหลวง เมืองเหล่านี้อยู่ห่างจากเมืองหลวงโดยเฉลี่ยประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไปมาจากเมืองหน้าด่านถึงราชธานีประมาณ ๒ วัน
          ในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ได้ทำการปรับปรุงการปกครอง คือ ยกเลิกเมืองหน้าด่านขยายอำนาจราชธานีออกไปจัดตั้งหัวเมืองชั้นใน ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี และนครนายก กำหนดให้หัวเมืองชั้นในเหล่านี้เป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้ว่าราชการเมืองเรียกว่า "ผู้รั้ง" พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งออกไปปกครอง     เพราะฉะนั้นหัวเมืองชั้นในจึงอยู่ในการดูแลของราชธานีอย่างใกล้ชิด

ประวัติศาสตร์จังหวัดปทุมธานี

สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยศรีกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
อาศัยหลักฐานทางโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ภายในจังหวัดปทุมธานี เป็นที่น่าเชื่อว่าจังหวัดปทุมธานีในอดีตเป็นเมืองที่เกิดขึ้นในยุคต้นของอาณาจักรศรีอยุธยาประกอบกับ "ตำนานท้าวอู่ทอง" ทำให้เรื่องท้าวอู่ทองอพยพผู้คนหนีโรคห่า (อหิวาตกโรค) ผ่านมายังเมืองปทุมธานีมีความจริงอยู่มาก
"ตำนานท้าวอู่ทอง" ที่จังหวัดปทุมธานี มีปรากฏอยู่ เรื่อง คือ ตำนานเรื่องท้าวอู่ทอง เสด็จหนีโรคห่าผ่านมายังวัดมหิงสารามตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคกเรื่องหนึ่งและตำนานเรื่องท้าวอู่ทอง อันเป็นประวัติวัดเทียนถวาย อำเภอเมืองอีกเรื่องหนึ่ง
ตำนานท้าวอู่ทอง ที่วัดมหิงสาราม ผู้เฒ่าผู้แก่ในตำบลบางกระบือ เล่าต่อกันมาว่าครั้งหนึ่งในอดีต ท้าวอู่ทองได้อพยพไพร่พล หนีโรคห่า ขณะผ่านเขตสามโคกเป็นเวลาใกล้ค่ำแล้วประกอบกับเกวียนชำรุด จึงหยุดพักไพร่พล ที่บริเวณวัดมหิงสาราม กับทั้งได้ออกปากขอยืมเครื่องมือจากชาวบ้านละแวกนั้น เพื่อนำมาซ่อมแซมเกวียนแต่ได้รับการปฏิเสธ ท้าวอู่ทองทรงพิโรธนัก และในคืนนั้นเองทรงแอบฝังทรัพย์สมบัติส่วนที่ไม่สามารถนำไปได้เพราะเกวียนชำรุด ไว้ในบริเวณวัด และสาปแช่งมิให้ผู้ใดนำทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ไปได้เลย สภาพปัจจุบันวัดมหิงสารามเป็นวัดร้าง ชำรุดทรุดโทรม เหลือเพียงผนังพระอุโบสถเพียง ด้านเท่านั้นอยู่ห่างจากลำน้ำเจ้าพระยาประมาณสองกิโลเมตร สาเหตุที่ร้างมีผู้สันนิษฐานต่างกันไป บ้างก็ว่าเป็นเพราะลำน้ำเปลี่ยนทางเดิน บ้างก็คิดว่าเพราะกรุงแตกเมื่อปี .. ๒๓๑๐
ตำนานท้าวอู่ทองจากคำบอกเล่าทางวัดเทียนถวาย ความว่า พระเจ้าอู่ทองได้อพยพผู้คนหนีโรคห่า พร้อมด้วยไพร่พล สัมภาระบรรทุกเกวียนมาประมาณแปดสิบเล่ม ได้หยุดพักไพร่พลอยู่ที่หนองแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันเรียกชื่อว่า หนองปลาสิบ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดเทียนถวาย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง) ตอนกลางคืนได้จุดไฟสว่างไสวตลอดทั้งคืนนานเป็นแรมเดือน เมื่อโรคห่าสงบแล้ว ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดในบริเวณที่เคยประทับขึ้น วัด สมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่า "วัดเกวียนไสว" ต่อมาแผลงเป็น "วัดเทียนถวาย"

ประวัติศาสตร์จังหวัดนนทบุรี

ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
จังหวัดนนทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตำบลที่ตั้งเมืองนนทบุรีขึ้นมาครั้งแรกนั้นมีชื่อว่า บ้านตลาดขวัญ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองนนทบุรี เมื่อ พ.. ๒๐๙๒ ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่า ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงนั้น() เป็นพระเจดีย์วิหารสำเร็จแล้ว  ให้นามชื่อ  วัดสบสวรรค์  แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า  ไพร่บ้านเมืองตรีจัตวา  ปากใต้ฝ่ายเหนือเข้าพระนครครั้งนี้น้อย หนีออกอยู่ป่าดงห้วยเขา ต้อนไม่ได้เป็นอันมากให้เอาบ้านท่าจีนตั้งเป็นเมือง    สาครบุรี() ให้เอาบ้านตลาดขวัญตั้งเป็นเมืองนนทบุรี ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี…”()

บ้านตลาดขวัญเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่ง  ของกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาต่างก็ได้บันทึกเอาไว้  ดังปรากฏในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น() มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง    โดยทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง ๔ ลี้  กระทั่งจรดตลาดขวัญ (Talacouan) ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร  ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา.…”()

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์จังหวัดเพชรบุรี

สมัยฟูนัน

นักโบราณคดีไทยได้แบ่งสมัยแห่งประวัติศาสตร์ในประเทศไทยไว้เป็น ๓ ยุคคือ

          - ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งเป็นยุคหินและยุคโลหะซึ่งยุคหินนั้นแบ่งเป็นยุคหินเก่า, หินกลางและยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะนั้นแบ่งเป็นยุคโลหะตอนต้น และยุคโลหะตอนปลาย
- ยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ เป็นสมัยสุวรรณภูมิ มีอาณาจักรฟูนาน
- ยุคประวัติศาสตร์ แบ่งได้ ๒ ตอน คือ ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ประกอบด้วยอาณาจักรอิศานปุระ (เจนละ) ทวารวดี ศรีวิชัย โยนก ศรีจนาศะ ลพบุรี (ละโว้ปุระ) และยุคประวัติศาสตร์ไทยซึ่งแบ่งได้ ๒ สมัย คือ สมัยรัฐไทยอิสระประกอบด้วยลานนาไทย สุโขทัย ละโว้ อยุธยา และนครศรีธรรมราช อีกสมัยคือสมัยอาณาจักรไทย แบ่งได้ ๓ สมัย คือ กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ คือ ยุคสุวรรณภูมิซึ่งมีอาณาจักรฟูนาน เริ่มแต่พุทธศตวรรษที่ ๖  - ๑๒ นั้น หนังสือ สมุดเพชรบุรีกล่าวว่ามีความเชื่อตาม ดร.จัง บัวเซอร์ ลิเอร์ (Jean Boisselier) ว่าอาณาจักรนี้มีอาณาเขตตั้งแต่แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตลอดไปถึงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางและเวียดนามใต้ทั้งนี้ เพราะได้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่างแสดงว่าเป็นแหล่งและสมัยเดียวกัน และยังเชื่อว่าอาณาจักรนี้จะต้องคลุมถึงราชบุรี เพชรบุรี ตลอดไปจนถึงชุมพรโดยได้สันนิษฐานว่าเมื่อปี พ..๒๕๑๘ ชาวบ้านได้ขุดพบโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น ลูกปัด ศิวลึงค์ ฐานตั้งศิวลึงค์ ที่เขาสามแก้ว อำเภอเมืองชุมพร โดยเฉพาะลูกปัดเป็นชนิดเดียวกัน นอกจากนี้ได้พบลูกปัดสมัยทวารวดีอีกเป็นจำนวนมาก จึงได้สันนิษฐานว่าเมืองเพชรบุรีคงอยู่ในอาณาจักร      ดังกล่าว

ประวัติศาสตร์จังหวัดปราจีนบุรี

ประวัติความเป็นมา
จังหวัดปราจีนบุรีเป็นหัวเมืองชายแดน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย บริเวณ
ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรียาวเหยียดจากทิศตะวันออกจนถึงทิศตะวันตก ลักษณะเป็นที่ราบ
ลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีไหลผ่านสองฟากฝั่ง จังหวัดปราจีนบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทางด้านอำเภออรัญประเทศและอำเภอตาพระยา ดังนั้นจังหวัดปราจีนบุรีจึงเปรียบเสมือนเมืองกันชนระหว่างประเทศไทย และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่เก่าแก่จังหวัดหนึ่ง มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

จังหวัดปราจีนบุรีนี้เดิมเรียกกันหลายชื่อ คือ ปราจีนบุรี ปราจิณบุรี ปาจิณบุรี ตามหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า ปราจีนแปลว่า ตะวันออกซึ่งหมายความว่าเมืองทางทิศตะวันออกของประเทศไทย จากหลักฐานดั้งเดิมตามพระราชพงศาวดารไทยปรากฏเรียกชื่อนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย แต่มักเรียกกันว่า เมืองปราจิณแต่จากหนังสือประชุมพระราช-นิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี เรียก เมืองประจิมบางที่ก็เรียกว่า เมืองปัจจิมซึ่งคำว่า ปัจจิมแปลว่า เมืองทางทิศตะวันตก ซึ่งคงหมายความถึงอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยนั่นเอง

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ยังคงเรียกกันว่า เมืองปราจิณเมื่อประเทศไทยมีการปกครองส่วนภูมิภาคแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองปราจีนเป็นที่ตั้งของมณฑลปราจีณครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า เมืองเป็น จังหวัดทั่วประเทศ ดังนั้นทำเนียบรายชื่อของจังหวัดทั่วประเทศ จึงมีคำว่า จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในทำเนียบของกระทรวงมหาดไทย

ประวัติศาสตร์จังหวัดระยอง

เมื่อมองดูแผนที่ประเทศซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายขวานโบราณ ทางภาคตะวันออกเฉียง
ใต้อันเป็นส่วนหนึ่งของตัวขวานจะเป็นที่ตั้งของจังหวัดระยอง เมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างสองเมืองใหญ่คือ ชลบุรีและจันทบุรี ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพมหานครไม่เกินสามชั่วโมงก็จะมาถึงเมืองระยอง เมืองที่มีมาแต่ครั้งโบราณมาแล้ว

ประวัติการก่อตั้ง
ระยองเริ่มมีชื่อปรากฏในพงศาวดารเมื่อปี พ.. ๒๑๑๓ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนประวัติดั้งเดิมก่อนหน้านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่พอจะเชื่อถือได้ว่าระยองน่าจะเป็นเมืองที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยของ ขอม คือ เมื่อประมาณ ปี พ.. ๑๕๐๐ ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมมี  
อนุภาพครอบคลุมอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีเมืองนครธมเป็นราชธานี ขอมได้สร้างเมืองนครพนมเป็นเมืองหน้าด่านแรก เมืองพิมายเป็นเมืองอุปราชและได้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นเมืองสำคัญด้วย ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองนครธม เมืองหน้าด่านเมืองแรกที่ขอมสร้างก็คือ เมืองจันทบูรหรือจันทบุรีในปัจจุบันนี้
เมื่อขอมสร้างจันทบุรีเป็นเมืองหน้าด่าน เพื่อนำเอาอารยะธรรมของขอมเข้ามาสู่แคว้น   ทวาราวดี ก็น่าจะอนุมานได้ว่าขอมเป็นผู้สร้างเมืองระยองนี้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด  นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่ได้ค้นพบ คือ ซากหินสลักรูปต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ที่บ้านดอน บ้านหนองเต่า ตำบลเชิงเนิน คูค่ายและซากศิลาแลงบ้านคลองยายล้ำ ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่ายซึ่งเป็นศิลปการก่อสร้างแบบขอม ทำให้สันนิษฐานว่าระยองน่าจะเป็นเมืองที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยของขอมอย่างแน่นอน

ประวัติศาสตร์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาที่ไม่ชัดเจนนักบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบแสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเพียงทางผ่านทางการเดินทัพทั้งทัพไทยและทัพพม่า และเนื่องจากพม่าเดินทางเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้งด้วยกันทำให้อาคารบ้านเรือนหรือสถานที่ทางศาสนาเป็นเพียงการสร้างขึ้นใช้ชั่วคราว เมื่อถูกโจมตีก็สูญหายไปเสียคราวหนึ่ง จึงไม่มีโบราณสถานถาวรใดๆ เหลืออยู่เช่นจังหวัดอื่นๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศ อย่างไรก็ตามหลักฐานเอกสารบางฉบับชี้ให้เห็นว่า ดินแดนแถบนี้เคยมีผู้คนตั้งบ้านเรือนมาช้านานแล้ว ซึ่งพอจะลำดับได้ดังนี้

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ประวัติที่เล่าขานถึงความเป็นมาได้แสดงให้เห็นว่าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันเคยมีผู้ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยช้านานนับได้หลายศตวรรษ หนังสือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ วัน วลิต  พ.. ๒๑๘๒  (Van Vliet) พ่อค้าชาวฮอลันดา ซึ่งได้มาทำงานอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาประมาณ ๙ ปี พ.. ๒๑๗๖ - ๒๑๘๕ ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งวนาศรี สามนเสน แปลไว้เมื่อ พ.. ๒๕๒๓  ความบางตอนกล่าวว่า
“ …..เป็นเรื่องราวที่เห็นพ้องต้องกันมากที่สุด คือเมื่อประมาณสองพันปีมาแล้วพระโอรสของจักรพรรดิจีนพระองค์หนึ่งถูกเนรเทศออกจากเมืองจีน เนื่องจากลอบปลงพระชนม์พระราชบิดา และจะยึดครองราชอาณาจักร พระราชโอรสและข้าราชการบริพารหลังจากรอนแรมไปตามที่ต่างๆ ในที่สุดก็มาขึ้นบกที่อ่าวสยามแหลมกุย (Guij) อยู่ห่างจากอำเภอกุยบุรีในปัจจุบัน ๖๐๐ เมตร ความเห็นของผู้แปลบันทึก และตั้งถิ่นฐานที่นั่น….”

ประวัติศาสตร์จังหวัดสระแก้ว

จังหวัดสระแก้วแม้ว่าจะเป็นจังหวัดตั้งใหม่เมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ แต่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดสระแก้ว มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกความเป็นมาของท้องถิ่น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ โดยเฉพาะแถบอรัญประเทศ ตาพระยา กิ่งอำเภอโคกสูง อาณาเขตดังกล่าวได้พบจารึกสัมพันธ์  กับกษัตริย์องค์สำคัญในสมัยของเจนละคือพระเจ้าจิตรเสน (มเหนทรวรมัน) และพระเจ้าอีสานวรมัน   (ผู้เป็นบุตรมเหนทรวรมัน) บรรดาจารึกที่เป็นโบราณวัตถุ ได้แก่
๑. จารึกช่องสระแจง          ที่อำเภอตาพระยา        มีอายุระหว่าง พ.. ๑๑๕๙-๑๑๗๘
๒. จารึกเขาน้อย              ที่อำเภออรัญประเทศ    มีอายุใน พ.. ๑๑๘๐
๓. จารึกเขารัง                 ที่อำเภออรัญประเทศ    มีอายุใน พ.. ๑๑๘๒
         และ ๔. จารึกที่บ้านกุดแต้ที่อำเภออรัญประเทศ ก็มีอายุไล่เลี่ยกับจารึกที่ได้กล่าวมาแล้ว
อนึ่ง โบราณวัตถุสถาน เช่น ปราสาทเขาน้อยสีชมพู ซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ
สมโบร์ไพรคุด และไพรกะเมง จึงทำให้เป็นที่เข้าใจได้ว่าในช่วงทรศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ "ชาวกัมพู" ได้ขยายตัวจากอีสานประเทศทางใต้ และรับวัฒนธรรมความเจริญจากชุมชนทางใต้เปิดตัวออกสู่อารย-ธรรมอินเดีย แบบฮินดู ใช้ภาษาสันสกฤต และนับถือพระวิษณุ (ภาษาแขกฮินดู เป็นภาษาที่สืบเนื่องจากภาษาสันสกฤต เริ่มมีภาษานี้ประมาณ พ.. -๑๐๐ ใช้มาประมาณ ๒๐๐ ปี ก็แปลงเป็นภาษา "บาลี")
ในสมัยของเจนละบก เจนละน้ำ ซึ่งมีความเจริญเติบโตระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ ก็ได้เกิดอาณาจักรหนึ่งขึ้นมาควบคู่กับเจนละน้ำ คือ อาณาจักรทวารวดี วัฒนธรรมทางทวารวดีได้ขยายออกไปยังภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของศิลป ในด้านแถบตะวันออกวัฒนธรรมทวารวดีได้ขยายผ่านเมืองดงละคร จังหวัดนครนายก เมืองพระรถ (พนัสนิคม) จังหวัดชลบุรี เมืองศรีมโหสถ (โคกปีบและศรีมหาโพธิ์) จังหวัดปราจีนบุรี และมุ่งเข้าสู่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สังคมของทวารวดีมีความหลากหลายทั้งในด้านประชากรเพราะมีประชากรเป็นชนชาติผสม ประกอบด้วย มอญ ไต สยาม เป็นหลัก นอกเหนือจากจีน อินเดีย มีอาชีพพื้นฐานทางเกษตรกรรม ใช้วัวไถนา และมีพุทธศาสนา ที่เป็นพลังในการทะลุทะลวงความหลากหลายที่มีอยู่ในขณะนั้น

ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรสาคร

สมุทรสาครเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
สมุทรสาครเดิมชื่อบ้านท่าจีนเป็นชุมนุมชนใหญ่ อยู่บริเวณอ่าวไทย มีทำเลที่เหมาะสมในการพาณิชย์มาก มีเรือสำเภาค้าขายจากประเทศจีนมาจอดเทียบท่าที่นี่ ขนถ่ายซื้อขายสินค้ากันจนเป็นที่รู้จักกันทั่ว ใครอยากจะค้าขายกับเรือสำเภาจีนก็ต้องมาที่นี่ มีชื่อเรียกกันติดปากมาแต่เดิมว่า "ท่าจีน" แต่ยังมิได้มีฐานะเป็นเมืองคงเป็นหมู่บ้านชุมชนแห่งหนึ่งเท่านั้น เมื่อครั้งสังฆราช ปาลเลกัวส์ เดินทางไปเยี่ยมพวกคริสตังชาวจีน ที่กระจัดกระจายอยู่ทางทิศตะวันออกได้กล่าวถึงท่าจีนว่า ".....เป็นเมืองสวยงามมีพลเมืองประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ส่วนมากเป็นชาวประมง    และพ่อค้า       ที่ตั้งจังหวัดอยู่ห่างทะเล ๒ ลี้       เป็นทำเลเหมาะในการประมงและการพาณิชย์จึงมีสำเภาจีนมาติดต่อค้าขายอยู่เสมอ"
ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครองราชย์ พ.. ๒๐๙๑ - .. ๒๑๑๑) แห่งกรุงศรีอยุธยาหลังสงครามเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พ.. ๒๐๙๒ ได้ยกฐานะบ้านท่าจีนเป็นเมือง "สาครบุรี"    ตามแผนการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ที่อยู่กระจัดกระจายตามหัวเมืองต่าง ๆได้อย่างรวดเร็ว ยามเมื่อเกิดศึกสงคราม ดังปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ ฉบับพิมพ์ พ.. ๒๕๐๗ หน้า ๖๐ ว่า "สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชตรัสว่า ไพร่บ้านพลเมือง ตรี จัตวา ปากไต้เข้าพระนครครั้งนี้น้อย หนีออกอยู่ป่าดงห้วยเขาต้อนไม่ได้เป็นอันมาก ให้เอาบ้านท่าจีนตั้งเป็น สาครบุรี" และข้อความในพงศาวดาร ไทยรบพม่าว่า ".......เพื่อจะให้สะดวกแก่การเรียกหาผู้คนเวลาเกิดศึกสงคราม จึงให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่อีก ๓ เมือง    คือ ยกบ้านตลาดขวัญเป็นเมืองนนทบุรี  เมือง ๑ ยกบ้านท่าจีนเป็นเมืองสาครบุรีเมือง ๑ แบ่งเอาเขตเมืองราชบุรีกับเมืองสุพรรณบุรีมารวมกัน ตั้งเป็นเมืองนครไชยศรีขึ้นอีกเมือง ๑"
หลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์สากลเล่ม ๓ ว่า "หลังจากสงครามกับเขมร (.. ๒๐๙๙)........สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยังให้ตรวจบัญชีสำมะโนครัวราษฎร ได้จำนวนชายฉกรรจ์ในมณฑลราชธานีถึงแสนเศษ แล้วจัดระเบียบการระดมพลให้สะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน ในการนี้ให้ตั้งเมืองชั้นในเพิ่มขึ้นหลายเมือง คือ ตั้งบ้านท่าจีนขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี เมือง ๑......"
สรุปความตรงกันว่า บ้านท่าจีนได้ยกขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพื่อสะดวกแก่การเรียกหาผู้คนเวลาเกิดศึกสงคราม และสะดวกแก่การปกครอง
ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้ยกเมืองสาครบุรีขึ้นกับกรมท่า ดังปรากฏในประชุมพงศาวดารว่า ".......แบ่งหัวเมือง ขึ้นกลาโหม มหาดไทย กรมท่า ในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์........ยังคงเมืองขึ้นกรมท่าอีก ๘ เมือง คือ เมืองนนทบุรี ๑ เมืองสมุทรปราการ ๑ เมืองสาครบุรี ๑......."

ประวัติศาสตร์จังหวัดสระบุรี

          “สระบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง-ราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เมืองสระบุรีตั้งขึ้นประมาณ พ.. ๒๐๙๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักร-พรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วปีเศษ (ครองราชย์ระหว่าง พ.. ๒๐๙๑๒๑๑๑)

มูลเหตุตั้งเมืองสระบุรี

          ลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะนั้น แบ่งการปกครองออกเป็นอย่างนี้

          . หัวเมืองชั้นในและชานเมือง เรียกว่า มณฑลราชธานี ได้แก่ เมืองที่ตั้งอยู่ใกล้พระนคร  ที่ปรากฏนามสำคัญคราวนั้น มี เมืองชลบุรี เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรีและเมืองชัยนาท เป็นต้น
          . หัวเมืองชานเมือง ได้แก่ เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองนครนายก เป็นต้น
          . หัวเมืองฝ่ายเหนือ มีเมืองนครสวรรค์ เมืองสุโขทัย และเมืองพิษณุโลก เป็นต้น
          . หัวเมืองด้านตะวันออก มีเมืองนครราชสีมา เมืองเพชรบูรณ์ และเมืองจันทบุรี ตลอดจนเมืองปราจีนบุรี เป็นต้น
          . หัวเมืองด้านตะวันตก มีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี เป็นต้น
          . หัวเมืองปักษ์ใต้ มีเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
          การสำรวจสำมะโนครัวชายฉกรรจ์ หรือที่เรียกว่า สักเลขสมัยโน้น ได้แก่ การออกสำรวจชายหนุ่มรุ่นฉกรรจ์เข้ารับราชการทหารนั่นเอง สมัยนั้นผู้คนอยู่ส่วนเมืองใด ก็ให้สังกัดหัวเมืองนั้นๆ ยังไม่ได้เรียกเข้ามาร่วมกันกับมณฑลราชธานีแต่อย่างใด
          เนื่องจากมีความลักลั่นไม่เป็นระเบียบในการเกณฑ์ไพร่พลเช่นนี้ พอเกิดศึกสงครามมาประชิดติดพระนคร จึงไม่สามารถเรียกระดมพลได้เต็มที่ เนื่องจากเมืองไทยว่างเว้นศึกสงครามมาระยะหนึ่ง พอมีพม่าข้าศึกมา (พระเจ้าตะเบงชะเวตี้แห่งหงสาวดี) ยกทัพมาไทยเราก็พ่ายถึงกับต้องสูญเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัยอัครมเหสี ถูกพระเจ้าแปรแม่ทัพพม่าฟันสิ้นพระชนม์บนคอช้าง คราวที่ไสช้างออกไปกั้นช้างพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิมิให้เป็นอันตรายในสนามรบ (ทุ่งลุมพี ชานพระนครศรี-อยุธยา ด้านทิศเหนือ)
          ด้วยเหตุนี้เอง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จึงโปรดฯ ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีก ๓ เมือง เพื่อให้สะดวกรวดเร็วและได้ผลทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองคราวเกิดศึกสงคราม คือ
          . ยกบ้านตลาดขวัญ ขึ้นเป็น เมืองนนทบุรี
          . ยกบ้านท่าจีน ขึ้นเป็น เมืองสาครบุรี (จังหวัดสมุทรสาคร)
          . แบ่งเอาเขตเมืองราชบุรี กับเขาเมืองสุพรรณบุรี มารวมกันตั้งขึ้นเป็น เมืองนครชัยศรี (อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม)

ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรปราการ

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา เมืองสมุทรปราการ ยังไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์จะมีแต่เมืองพระประแดง ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่ขอมสร้างขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของขอมซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นที่คาดคะเนว่าเมืองพระประแดงก็ยังคงเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้มาจนตลอดสมัยสุโขทัย

สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่ออำนาจของกรุงสุโขทัยอ่อนลง พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)   ได้
ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี และได้เลือกเอาระบบการปกครองของขอมและสุโขทัยมาปรับปรุงเสียใหม่ และประกาศใช้เป็นระบบการปกครองของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ซึ่งวิธีการจัดระบบการปกครองหัวเมืองแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ
- หัวเมืองชั้นใน มีเมืองป้อมปราการ เป็นด่านชั้นในกับหัวเมืองชั้นในที่อยู่รอบๆ เมืองป้อมปราการเหล่านั้น
- เมืองพระยามหานคร คือ หัวเมืองไกลๆ ที่มอบอำนาจให้เจ้าเมืองปกครองชาวเมืองอย่างเจ้าชีวิต แต่ต้องส่งส่วยให้แก่เมืองหลวง
- เมืองประเทศราช อันได้แก่ เมืองขึ้นต่างๆ
ในสมัยนี้เมืองป้อมปราการด่านชั้นในมี ๔ หัวเมือง คือ
ทิศเหนือ             เมืองลพบุรี
ทิศใต้                เมืองพระประแดง
ทิศตะวันออก       นครนายก
ทิศตะวันตก         สุพรรณบุรี
ต่อมาแผ่นดินที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้งอกลงมา ในท้องทะเลทางทิศใต้ ราวๆ ใต้คลองบางปลากดทางฝั่งขวา และแถบตำบลบางด้วน บางนางเกรง ทางฝั่งซ้าย ในปัจจุบันนี้ ฉะนั้นเมืองพระ-ประแดงจึงมิใช่เมืองที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเช่นเดิม ด้วยแผ่นดินงอกใหม่เกิดขึ้นออกมามากในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นให้เป็นหัวเมืองหน้าด่านทางใต้ ณ บริเวณฝั่งใต้ของคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองพระประแดงก็หมดความสำคัญลง และถูกยุบในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ประวัติศาสตร์จังหวัดสิงห์บุรี

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

ประวัติของไทยนั้นเก่าแก่มาก จดหมายเหตุจีนเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนพุทธกาลกล่าวถึงภูมิลำเนาเดิมของไทยว่าอยู่ในลุ่มน้ำตอนกลางของแม่น้ำเหลือง ซึ่งอยู่ในท้องที่มณฑลฮูเป และ      โฮนานในบัดนี้ ในสมัยเดียวกันนั้น จีนก็ได้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามที่ราบสูง ในลุ่มน้ำเหลืองตอนบน คือ มณฑลกังซูในบัดนี้ ซึ่งเห็นจะเป็นเพราะถูกพวกต้นตระกูลตาดรุกราน จึงได้ร่นลงมาและปะทะกับไทยเข้า ไทยมีจำนวนน้อยจำต้องร่นลงมาทางใต้หลายทิศหลายทาง
พวกไทยส่วนมากร่นลงมาตามแม่น้ำแยงซีเข้าไปในยูนนาน ต่อสู้ชนะพวกพื้นเมืองเดิมและได้ตั้งอาณาจักรน่านเจ้า โดยมีตาลีฟูเป็นเมืองหลวง ต่อมาเมืองหลวงก็ได้ย้ายไปตั้งอยู่ ปูเออฟู อาณาจักรน่านเจ้าครอบครองท้องที่มณฑลยูนนานปัจจุบัน พม่าเหนือและภาคเหนือของสิบสองปันนาประวัติของไทยในสมัยที่กล่าวนี้ รุ่งเรืองที่สุดและอำนาจอยู่อย่างนี้ ๔ ศตวรรษ
อย่างไรก็ดี เมื่อจีนรุกรานหนักเข้า ไทยก็จำต้องอพยพร่นลงมาอีก และกว่าจะต่อสู้เอา  ชัยชนะขอมเจ้าของถิ่นเดิมได้ ก็เป็นเวลาตั้งหลายศตวรรษ แล้วจึงได้ตั้งอาณาจักรใหม่ ณ เชียงแสน บนฝั่งแม่น้ำโขง อาณาจักรใหม่นี้มีประวัติรุ่งเรืองเหมือนอาณาจักรเดิมต่อมานั้นได้ย้ายจากเชียงแสนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ และตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ที่ลุ่มแม่น้ำสาลวิน มีภุกามเป็นเมืองหลวง แต่อาณาจักรนี้ไม่ยั่งยืนเพราะอยู่ใกล้ขอมมาก จึงถูกขอมขับกลับไปเลยไปสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่   แม่น้ำปิง
การอพยพลงมาทางใต้ยังคงดำเนินไปอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเรียกกันว่าดินแดนแหลมทองหรือสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันนี้ ได้มีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่พวกละว้า ซึ่งได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ ๓ แคว้นด้วยกัน คือ
. แคว้นโยนก อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย คือ ดินแดนที่เป็นมณฑลพายัพ และลานนาไทยปัจจุบัน มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองเชลียง (สวรรคโลก) ขึ้นไปจนตลอดหัวเมืองลานนา และลานช้าง ได้ตั้งราชธานี อยู่ที่เมืองเงินยาง (เชียงแสน)
. แคว้นทวารวาดี อยู่ตรงตอนกลางของประเทศไทย คือ ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม อยุธยา พิษณุโลก นครสวรรค์ ปราจีนบุรี รวมทั้งแหลมมลายู ตั้งราชธานีอยู่ที่นครปฐม
. แคว้นโคตรบูร อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยปัจจุบัน มีราชธานีอยู่ที่สกลนคร
สำหรับแคว้นทวารวดีนั้น ต่อมาได้ถูกพวกมอญขยายอาณาเขตเข้ามาทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าครอบครองกลายเป็นอาณาจักรหนึ่งของชนชาติมอญ สันนิษฐานว่า พวกมอญคงจะได้ตั้งอาณาจักรนี้ขึ้น เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ และสิ้นสุดลงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ เนื่องจากอำนาจของขอมได้แผ่เข้ามายังภาคกลางของประเทศไทย อาณาจักรทวารวดี ก็เปลี่ยนมาเป็นอาณาจักรของขอม ซึ่งเรียกเป็นเฉพาะว่าอาณาจักรลพบุรี

ประวัติศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรี

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา()
          อาจแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ
๑. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
๒. สมัยประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ตัวหนังสือ การแบ่งอายุของ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยึดเอาวัตถุที่ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลัก
          ในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีโดยบังเอิญ และโดยจงใจของผู้ลักลอบขุดค้นแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่าในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งที่อยู่ของคนก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ตอนกลางประมาณ ๓,๘๐๐ ปี ถึง ๒,๗๐๐ ปีลงมาจนถึงยุคโลหะ ตั้งแต่สมัยสำริดและยุคเหล็ก สังคมของมนุษย์พวกนี้เป็นสังคมเกษตรกรรม รู้จักการเพาะปลูก รู้จักทำภาชนะดินเผา ถลุงแร่และทอผ้า บริเวณที่พบโบราณวัตถุมักจะเป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ริมน้ำ และอยู่ไม่ห่างไกลจากภูเขามากนัก น่าเสียดายที่ยังไม่เคยมีการขุดค้นทางด้านก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุพรรณบุรี หากได้มีการขุดค้นทางด้านนี้แล้วก็จะได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ดีผู้ที่สนใจเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรีจะศึกษาได้จากโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่จัดแสดงอยู่ที่ห้องก่อนประวัติศาสตร์ทวารวดี ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
อู่ทอง เป็นต้นว่าขวานหินขัด สมัยหินใหม่ พบที่บริเวณเมืองอู่ทองซึ่งมีอายุประมาณ ๓,๘๐๐ ปี ถึง ๒,๗๐๐ ปี ()

ประวัติศาสตร์จังหวัดสมุทรสงคราม

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ผลจากการสำรวจของบุคคลหลายคนเชื่อว่า ผืนแผ่นดินในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเคยเป็นทะเลมาก่อน ต่อมาเพื่อกระแสน้ำลำธารได้พัดพาเอาดินและทรายบนผืนแผ่นดินใหญ่ลงมาทับถมในอ่าว        นับเป็นเวลาหลายพันปีเข้า อ่าวก็ตื้นเขินเป็นแผ่นดินงอกรุกทะเลออกไปเรื่อยๆ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ฝั่งทะเลอยู่ล้ำเข้ามาในผืนแผ่นดินใหญ่มาก คาดว่าพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง    ทั้งหมดในขณะนี้ยังไม่มี โดยเหตุนี้จึงถือได้ว่า ในสมัย ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น เมืองสมุทรสงครามยังไม่เกิด

สมัยกรุงศรีอยุธยา
เท่านี้นักโบราณคดีคณะต่างๆ ได้สำรวจมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจโดยทางราชการหรือส่วนตัว ยังไม่ปรากฏว่าได้พบโบราณสถานที่มีอายุก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาสักแห่งเดียว ฉะนั้น จึงพอจะกล่าวได้ว่าจังหวัดสมุทรสงครามได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่เก่าไปกว่านั้น แต่ก็ยืนยันไม่ได้ว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลายแต่จากจดหมายเหตุที่มองซิเออร์เซ-เบเรต์ ซึ่งอยู่ในคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสที่มี มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ เป็นหัวหน้าคณะเดินทางเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.. ๒๒๓๐ -๒๒๓๑ แต่ในตอนขากลับมองซิเออร์เซเบเรต์ ได้แยกคณะเดินทางกลับก่อน โดยเดินทางไปลงเรือกำปั่นฝรั่งเศสที่เมืองตะนาวศรี ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเลที่สำคัญของไทย ระหว่างการเดินทาง เมื่อผ่านเมืองแม่กลอง มองซิเออร์เซเบเรต์ ได้บันทึกรายงานไว้ว่า

ประวัติศาสตร์จังหวัดตราด

 สมัยก่อนอยุธยา
เรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดตราด ที่ปรากฏจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ ซึ่งรวบรวมได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วไปมีอยู่น้อย ไม่พอที่จะเรียบเรียงให้เป็นประวัติที่สมบูรณ์ได้ ยิ่งกว่านั้นหลักฐานบางส่วนก็คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นประวัติศาสตร์ก่อนสมัยอยุธยาจึงไม่มี หากอนุชนรุ่นหลังได้ค้นคว้าและมีหลักฐานใดทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติม ก็ชอบที่จะเรียบเรียงเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในภายหลังได้
สมัยอยุธยา
ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากแผนที่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งไม่แน่ชัดว่า จังหวัดตราดเป็นเมืองมาแต่เมื่อใด เพียงมีชื่อว่า "บ้านบางพระ"
ตามหลักฐานที่พระบริหารเทพธานีเขียนไว้  อ้างว่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (.. ๒๑๗๘) ได้มีการแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักรเป็นเมืองเอก โท ตรี และจัตวา ซึ่งเป็นเมืองชั้นในและชั้นกลาง โดยได้จัดแยกออกเป็น ๓ ส่วนคือ หัวเมืองขึ้นเจ้าพระยาจักรีใช้ตราราชสีห์   หัวเมืองขึ้นเจ้าพระยามหาเสนาบดีใช้ตราคชสีห์ และหัวเมืองขึ้นเจ้าพระยาศรีธรรมราชเดโชชาติ ใช้ตราบัวแก้ว ซึ่งในทำเนียบหัวเมืองในสมัยนั้น มีชื่อ "ตราด" ปรากฏอยู่ว่าเป็นหัวเมืองขึ้นต่อเจ้าพระยาศรีธรรมราชเดโชชาติด้วยเมืองหนึ่ง จากหลักฐานนี้อาจแสดงให้เห็นเป็นเบื้องต้นได้ว่า เมืองตราดซึ่งเป็นหัวเมืองชายทะเลนั้น สังกัดอยู่ในฝ่ายการต่างประเทสซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคลังด้วย