เพื่อเปิดโอกาสให้สภาพธรรมชาติ สภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว และเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติจึงมีกำหนดปิดการท่องเที่ยวประจำปี บริเวณ เส้นทางชมบัวผุด กิโลเมตรที่ 111 ปิดระหว่างวันที่ 1 พ.ค. - 31 ต.ค. ของทุกปี และบริเวณน้ำตกสิบเอ็ดชั้น น้ำตกบางเลียบน้ำ ตั้งน้ำ น้ำตกโตนกลอย น้ำตกธารสวรรค์ ถ้ำน้ำทะลุ ถ้ำสี่รู และถ้ำค้างคาว ปิดระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. - 14 ธ.ค. ของทุกปี หากต้องการตรวจสอบการปิดการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติต่างๆ
ด้านท่องเที่ยวผจญภัย
ล่องแก่งน้ำตกบางหัวแรด - ลำคลองศก
ล่องแก่งภายในลำ คลองศกบริเวณน้ำตกบางหัวแรด เป็นการท่องเที่ยวในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงน้ำหลาก ระหว่างเดือนมิถุนายน - มกราคม โดยเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสกไปน้ำตกบางหัวแรดระยะทาง 3 กิโลเมตร แล้วลงเรือยาง ขนาด 8 คน ล่องแก่งจากน้ำตกบางหัวแรดลงมาภายในลำคลองศก ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
กิจกรรม :
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม
ถ้ำประกายเพชร
ภายในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกมากมายที่รอให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม โดยเฉพาะถ้ำประกายเพชร เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีความสวยงามแปลกตา มีหินปะการัง หินงอก หินย้อย ทีมีเอกลักษณ์โดดเด่น ความยาวภายในถ้ำประมาณ 100 เมตร เหมาะสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชมความงดงาม ซึ่งอุทยานแห่งชาติเขาสก ได้เข้าไปสำรวจความเหมาะสมและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่จะไปเที่ยวชม ปรากฏว่าเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมอีก สถานที่หนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเทียวภายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา และทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ประทับใจในการเข้ามา ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ถ้ำสี่รู | |
กิจกรรม : |
น้ำตกบางเลียบน้ำ | |
กิจกรรม : |
น้ำตกบางหัวแรด
เป็นน้ำตกที่มีขนาด ใหญ่และสวยงาม มีน้ำไหลแรงมาจากคลองศก เป็นน้ำตก 2 ชั้น ชั้นแรกไหลจากบางหัวแรดแล้วไหลลงคลองศก ชั้นที่สองอยู่ในคลองศก บริเวณโดยรอบน้ำตกกว้างขวางมาก เต็มไปด้วยหินเรียงรายตามธรรมชาติสวยงามแปลกตามาก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร
กิจกรรม :
บัวผุด พืชมหัศจรรย์แห่งเทือกเขาสก
ในบรรดาพืชพรรณทั้ง หมดที่มีอยู่ในโลก บัวผุดหรือ Rafflesia ถือว่าเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะบัวผุดชนิด Rafflesia arnoldii ที่สำรวจพบในอินโดนีเซียนั้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 100 เซนติเมตร ส่วนบัวผุดพันธุ์ไทย หรือ Fafflesia kerrii มีดอกขนาดเล็กกว่า แต่ก็ยังคงมโหฬารไม่ใช่เล่น คือ 50-90 เซนติเมตร ยามที่มันออกดอกสีปูนแดงสดใสอย่กลางป่าดิบเขียวชอุ่มนั้น ถือเป็นภาพที่น่าตื่นตามาก
บัวผุดหรือที่ชาวบ้านทางภาคใต้ของไทยเรียกว่า "บัวตูม" จริง ๆแล้วเป็นพืชกาฝากซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยอาศัยอยู่ในรากและลำต้นของเถาไม้ เลื้อยวงศ์อง่นป่า ชื่อ "ย่านไก่ต้ม" โดยบัวผุดจะอาศัยดูดกินแร่ธาตุและน้ำจากย่านไก่ต้ม โดยต้นแม่ก็ยังคงมีชีวิตอยู่ พวกเราจะเห็นบัวผุดได้ก็เฉพาะยามเมื่อมันต้องการผสมพันธุ์กัน คือ จะเริ่มมีตาดอกเป็นปุ่มกลมเล็กๆ โตขึ้นที่ผิวของย่านไก่ต้ม แล้วใช้เวลา 9 เดือน ขยายขนาดจนเท่ากับหัวกะหล่ำยักษ์ จากนั้นก็ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน ในรอบปีให้ดอกบาน ทว่าดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ จึงต้องเหมาะเหม็งมากในช่วงเวลาบานแมลงวันจึงจะช่วยผสมเกสรให้ได้ จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการสูญพันธุ์
ชาวป่ามาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงไทย มีความเชื่อว่าดอกตูมของบัวผุด ถ้านำมาต้มให้หญิงหลังคลอดบุตรดื่ม มดลูกจะเข้าอู่เร็วขึ้น ซึ่งได้มีการพิสุจน์ทางการแพทย์แล้วว่า ไม่มีสรรพคุณดังกล่าวแต่อย่างใด ในเมืองไทยจะพบบัวผุดได้ตั้งแต่คอคอดกระ จังหวัดระนอง เรื่อยลงไปตามแนวเทือกเขาภูเก็ต จนสุดชายแดนที่นราธิวาส โดยอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งชมบัวผุดแหล่งใหญ่ที่สุด มีบัวผุดทยอยบานให้ชมทั้งปี แต่เป็นที่นิยมไปชมกันมากในฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน- เมษายน เพราะดินป่าง่าย แต่เขาสกก็ได้ผ่านบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วจากอดีตในการสูญเสียบัวผุดที่ควน ลูกช้าง เพราะในอดีตยังขาดความเข้าใจในชีวิตอันเปราะบางของมัน จึงมีผู้แห่กันไปชมบัวผุด โดยมีการเหยียบย่ำเถาย่านไก่ต้ม เหยียบย่ำดอกอ่อน และเหยียบย่ำตาดอกขนาดเล็กที่เพิ่งผุดขึ้นมา (โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์) ทั้งนี้เพื่อเข้าไปชมและถ่ายรูปกับดอกบัวผุดให้ใกล้ชิดที่สุด ส่งผลให้บัวผุดสาบสูญไปจากควนลูกช้าง แม้ปัจจุบันบัว ผุดบริเวณกิโลเมตรที่ 111 และที่เขาสองน้อง ก็มีจำนวนดอกลดน้อยลง และขนาดดอกในรอบ 2 ปี (พ.ศ. 2545-2546) ที่ผ่านมาก็เล็กลงจนน่าตกใจทีเดียว
อุทยานแห่งชาติเขาสก และทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นความเร่งด่วนของสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาตรการป้องกันรักษาดอกบัวผุด โดยออกสำรวจ เมื่อพบดอกใกล้บานจะทำการล้อมรั้ว ติดป้ายห้ามเข้าใกล้ดอก และสร้างสะพานไม้ยกระดับให้ยืนชมดอกอยู่ห่าง ๆ บนสะพานไม้ ไม่ให้มีการลงไปเหยียบย่ำพื้นดินหรือเถาย่านไก่ต้มอีกต่อไป นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านเป็นไกด์ท้องถิ่นพานักท่องเที่ยวเข้าชมบัว ผุด เพื่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอันจะนำมาซึ่งความรัก ความเข้าใจ ความหวงแหน และการอนุรักษ์แหล่งชมดอกบัวผุดได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
กิจกรรม :
แหล่งท่องเที่ยว |
ที่ติดต่อและการเดินทาง |
ที่พัก-บริการ |
จอง ที่พัก-บริการ |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น